หน้า :
กระทู้: กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เริ่มกระทู้โดย: drnant ที่ 12 ส.ค. 20, 21:24 น ดำเนินการก่อนการเรียนรู้ (Pre-Learning)
ผู้สอนพูดคุยเนื้อหาก่อนถึงคาบเรียนถัดไปในชั้นเรียน ซึ่งให้ผู้เรียนทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองก่อนเข้าเรียนในคาบเรียนต่อไป จากใบงานแนะนำเนื้อหาที่เรียน โดยสามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น เอกสาร ตำรา เวปไซต์เพื่อการศึกษา โดยมีอิสระในการเรียนรู้นอกห้องเรียน ไม่จำกัดเวลาในการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกที่จะทำการศึกษาแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่มตามความสมัครใจของผู้เรียน และเลือกหัวข้อที่จะต้องการทำการศึกษาได้ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัย ปัญหาใดๆ สามารถซักถาม พูดคุย สนทนาทั้งในและนอกเวลาราชการ เช่น สอบถามที่ห้องพักอาจารย์ หรือสื่อสารผ่านทางระบบออนไลน์ เป็นต้น 1. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก หรือรับหัวข้อ หรือใบงาน ในเนื้อหาสาระการเรียนรู้ เพื่อทำการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเอง 2. สนทนา ปรึกษาปัญหา ประเด็นสงสัยนอกชั้นเรียน แนะนำแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละเนื้อหา สื่อการเรียนรู้ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย 3. สนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในแต่ละเนื้อหา 4. สนทนา พูดคุยและสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน 5. สนทนาวิธีการนำเสนอผลงาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอผลงาน อุปกรณ์หรือเครื่องมือตามความเหมาะสม ดำเนินการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Class-Learning) ขั้นการเรียนรู้ในชั้นเรียน ผู้สอนควรเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบความตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามข้อตกลงกัน อาจยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การสืบค้นข้อมูล ความเข้าใจจากการเรียนรู้ด้วยตนเองในเรื่องนั้นๆ จากนั้นเป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำเสนอผลการศึกษาก่อนเข้าชั้นเรียนตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย โดยอาจใช้วิธีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน หรือหากเป็นใบความรู้ ผู้สอนทำการเฉลยคำตอบ พร้อมทำการสนทนาร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน ผู้สอนทำการวิเคราะห์ผู้เรียนตามสถานการณ์เพื่อกำหนดระดับความลึกซึ้งของเนื้อหาที่จะให้เพิ่มเติมจากการสืบค้นของผู้เรียน ทำการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ โดยใช้แบบทดสอบความรู้ หรือใบงาน หรือสอบถาม สัมภาษณ์ หรือวิธีอื่น ๆตามสภาพที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน มีความหลากหลายตามความเหมาะสม เวลาที่ใช้ในการทดสอบความรู้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบผลการทดสอบความรู้ ให้ข้อมูลหรือผลการทดสอบแก่ผู้เรียนได้รับทราบ เพื่อปรับปรุงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป และมีการแนะเนื้อหาเพื่อใช้ในการเรียนรู้ในครั้งต่อไป ขั้นเตรียม 1. ตรวจสอบเวลาเข้าชั้นเรียนของผู้เรียนตามข้อกำหนดร่วมกันจากการพูดคุย 2. ผู้เรียนนำรายงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายก่อนเรียนมาส่งในคาบเรียน สามารถยืดหยุ่นตามสถานการณ์ 3. มีการพูดคุย สนทนาประเด็นปัญหาที่เกิดระหว่างทำการศึกษาค้นคว้าด้วนตนเอง ก่อนการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสนทนาอย่างทั่วถึงทุกคน ขั้นดำเนินการ 1. นำเสนอผลการศึกษาตามใบงาน หรือหัวข้อที่ได้รับด้วยวิธีการที่หลากหลายตามความคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า มีเวลาในการนำเสนอตามที่ได้ตกลงร่วมกัน หากเป็นเนื้อหาที่มีความน่าสนใจ มีประเด็นการสนทนา ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำเสนออย่างอิสระตามความเหมาะสม พร้อมทั้งมีการยืดหยุ่นของเนื้อหา สาระ เช่นหากเป็นเนื้อหาที่ยากผู้เรียนสืบค้นข้อมูลแล้วไม่เข้าใจ ผู้สอนควรปรับวิธีการนำเสนอผลงานเป็นการตรวจสอบใบงานแทน เป็นต้น ตัวอย่างกิจกรรมนอกจากการนำเสนอผลการศึกษา ได้แก่ 2. ผู้สอนยกตัวอย่างเสริม เพิ่มเติมจากที่ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้า โดยผู้สอนจัดเนื้อหาตามความเหมาะสมของผู้เรียนตามที่ได้ทำการสอบถาม ในขั้นตอนก่อนการเรียนรู้ เนื้อหาที่จะเพิ่มเติม หรือระดับความลึกซึ้งของเนื้อหา ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอนและสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียนขณะนั้น ขั้นสรุป 1. สอบถามประเด็นข้อสงสัย พูดคุย สนทนา เพื่อสะท้อนความคิด หาข้อสรุปเกี่ยวกับการความรู้แบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน มีความหลากหลายในการสรุปองค์ความรู้ เช่น เขียนสิ่งที่ได้คนละหรือตัวแทนกลุ่มละ 1 อย่าง ให้ผู้เรียนตั้งคำถามและเพื่อนร่วมชั้นเป็นผู้ตอบคำถามนั้น เป็นต้น ขั้นประเมิน 1. ประเมินความรู้ความเข้าใจ รวมถึงทักษะการคำนวณเชิงตัวเลข โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น แบบทดสอบความรู้ หรือใบงาน หรือสอบถาม สัมภาษณ์ หรือวิธีอื่นๆตามสภาพที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ให้มีความหลากหลายตามความเหมาะสม ระยะเวลาในการประเมินตามข้อตกลงร่วมกันก่อนการประเมิน รวมถึงการประเมินเป็นรายบุคคล หรือการประเมินเป็นกลุ่มสามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม 2. ประเมินความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนรายบุคคลจากการสังเกตพฤติกรรม โดยการประเมินขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ผู้เรียนสามารถประเมินพฤติกรรมตนเองได้ในบางครั้ง ผู้เรียนสามารถประเมินเพื่อนร่วมชั้นได้ อีกทั้งผู้สอนเป็นผู้ประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบ ดำเนินการหลังการเรียนรู้ (Post-Learning) ผู้เรียนทำการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนอาจถามตั้งคำถาม หรือเปิดประเด็นให้ผู้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีการทบทวนความรู้ และสร้างแรงจูงใจด้วยการเพิ่มคะแนนหากผู้เรียนเข้ามาตอบคำถามในประเด็นเหล่านั้นผ่านช่องทางที่หลากหลาย ก่อนถึงคาบเรียนต่อไป รวมถึงไม่จำกัดเวลาสถานที่ในการพูดคุย เช่นการใช้ระบบออนไลน์ หรือพบปะผู้สอนในห้องพักอาจารย์ หลังเรียนในชั้นเรียน 1. ผู้เรียนทบทวนความรู้ด้วยตนเอง ตอบคำถามผู้สอนผ่านระบบออนไลน์ หรือพบผู้สอนที่ห้องพักอาจารย์ 2. ผู้เรียนที่ไม่ผ่านการทดสอบความรู้ ให้ทำงานตามที่ตกลงในชั้นเรียนที่ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ 3. ทำข้อตกลงร่วมกันในการเลือกใช้วิธีทบทวนความรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอวิธีการ ให้อิสระในการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนความรู้ด้วยตนเอง |