พักหลัง ๆ นี้เราคงจะเคยได้ยินคนพูดถึง okr กันมากขึ้น บางคนก็พอจะรู้ว่า okr คืออะไร แต่หลายคนก็อาจจะยังไม่รู้ หากไม่ได้อยู่ในองค์กรที่ใช้
OKR หรือเป็นส่วนงานบริหารอย่าง CEO หรือคนที่ทำงานในกลุ่มของ HR ก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่า okr คือ อะไร เมื่อพูดถึง OKR ก็มักจะพูดถึงเรื่องเป้าหมาย แรงขับและความสำเร็จ และวันนี้เราจึงได้ไปตามรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาสรุปย่อให้กับทุกคนได้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ ว่า okr คืออะไร
okr คืออะไร
ถ้าจะให้อธิบายอย่างกว้าง ๆ okr คือ เครื่องมือของการตั้งเป้าหมายในการทำงาน ซึ่งในการใช้ OKR นั้นจะต้องมีการมานั่งพูดคุยกันในทีมว่าจะมีการตั้งเป้าหมายอย่างไร โดยเป้าหมายของทีมนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรหรือว่าบริษัทและจะต้องมีการกำหนดวิธีการวัดผลที่ชัดเจนว่าจะมีการประเมินผลการทำงานเป็นอย่างไร พร้อมกับต้องมีการกำหนดเวลาของการประเมินผลที่ชัดเจน ฟังดูเหมือนว่าจะเป็นการวัดผลที่ลอย ๆ แต่ในการทำ OKR จริง ๆ นั้นค่อนข้างที่จะมีแรงกดดันในเรื่องของผลลัพธ์ของเป้าหมายมากพอสมควร
การทำ OKR นั้นจะต่างกับการประเมินผลในรูปแบบ KPI แบบชัดเจนก็คือ OKR จะเริ่มจากการตั้งเป้าหมายใหญ่ที่จะต้องชัดเจนก่อน ซึ่งเป้าหมายใหญ่นั้นก็มักจะมาจาก CEO เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขออนุญาตยกตัวอย่างองค์กรแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่ได้ใช้ OKR ในการวัดผลอยู่ในเวลานี้ก็คือ RS Group หรือว่า บริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) ที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่เลือกใช้ OKR ในการทำงานและวัดผลสำเร็จ สมมุติว่าประธานของผู้บริหาร RS ซึ่งก็คือคุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ได้มีการกำหนดเป้าหมายของ RS Group ว่าในปีนี้จะทำตัวเลขของบริษัทให้ถึง 620 ล้านบาทและต้องทำผลกำไรให้ได้ 200 ล้านบาท นี่จะกลายเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กรที่งานทุกส่วนของ RS Group จะต้องมานั่งคุยกันในทีมตัวเองว่าในขอบเขตงานเรานั้นจะตั้งเป้าหมายทีมให้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ขององค์กรที่ตั้งไว้ได้อย่างไรและซอยย่อยมาที่คนทำงานว่าจะตั้งเป้าหมายตัวบุคคลให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กรอย่างไร อีกทั้งยังจะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดผลแบบชัดเจนภายในกรอบเวลาที่ทุกคนตั้งไว้

okr คือแรงขับให้เป้าหมายสำเร็จจริงไหม
ในการทำ OKR นั้นจะต้องมีการติดตามผล มีการประเมินผลงานที่ชัดเจนและที่สำคัญคือทุกคนจะต้องรายงานผลของการทำงานและการประเมินให้กับทุกคนในองค์กรรับทราบ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการประเมินผลการทำงานที่ค่อนข้างจะโปร่งใสเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เองที่จะช่วยทำให้คนทำงานรู้สึกเกิดแรงผลักดันว่าเราจะต้องทำตามเป้าหมายนั้นให้ได้ เพื่อให้แผนกมีผลการประเมินที่บรรลุไปตามเป้าหมาย หากทุกส่วนตั้งใจที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายส่วนย่อยที่สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ ความสำเร็จหรือเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ก็จะไปถึงได้โดยง่าย แม้ว่าในการตั้งเป้าหมายครั้งแรกนั้นอาจจะดูสูงเกินจริงก็ตามแต่มันมีความเป็นไปได้ซ่อนอยู่ หากทุกคนในองค์กรร่วมแรงร่วมใจปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ ถึงแม้จะทำไม่ได้ ณ ตอนประเมินผลแต่ก็ช่วยให้เราเดินไปใกล้เป้าหมายมากขึ้นได้ นี่จึงทำให้หลาย ๆ องค์กรเลือกที่จะใช้ OKR มาเป็นแรงขับให้เป้าหมายสำเร็จได้
การทำ OKR นั้นใช่ว่าจะสำเร็จได้ในทุกองค์กรเพราะจะต้องอาศัยความเข้าใจและการเอาจริงเอาจังจากหลายส่วนในองค์กรที่รับผิดชอบ หากองค์กรใดสนใจที่จะทำ OKR แนะนำว่าลองศึกษาบริษัทที่ทำ OKR ได้สำเร็จ อย่างเช่น RS Group หรือ บริษัทอาร์เอส จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นแนวทางในการตั้งต้นได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาร์เอส ได้ที่นี่
https://www.rs.co.th/th/