หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: รู้ไหมว่าป้ายทะเบียนรถยนต์หายต้องทําอย่างไร ?  (อ่าน 45 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 28 ส.ค. 20, 19:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ป้ายทะเบียนรถยนต์หาย ! เป็นสิ่งที่หลายคนไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง จริงๆแล้วมีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อน ป้ายทะเบียนรถยนต์หายก็อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเราได้โดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าของรถอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เมื่อแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์หายทำให้เราปวดหัวและรู้สึกกังวลได้ เพราะว่าถ้าเราใช้ รถยนต์ที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. รถยนต์ และอาจจะโดนตำรวจจับได้ และถูกปรับอีกต่างหาก

เพื่อเรื่องแบบนี้จะไม่เป็นปัญหาของคุณในบทความนี้ดิฉันได้นำข้อมูลที่เพื่อนๆควรจะรู้เอาไว้เกี่ยวกับแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์มาฝากค่ะ ถึงแม้ป้ายทะเบียนรถของคุณยังไม่หายในตอนนี้ แต่การอ่านข้อมูลนี้เอาไว้ก็ไม่เสียหาย และอาจจะเป็นประโยชน์ได้เมื่อเกิดขึ้นจริงๆ และอาจให้ข้อมูลนี้กับคนอื่นๆได้ด้วย ลองอ่านดูนะคะ

ป้ายทะเบียนรถยนต์สำคัญขนาดไหน ?

กรมขนส่งทางบกเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถ และป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคล โดยมีการกำหนดให้ป้ายทะเบียนรถยนต์ทำจากอลูมิเนียม มีขนาด 13.56 นิ้ว พื้นป้ายต้องสะท้อนแสง อักษรและตัวเลขจะต้องถูกปั๊มนูนออกมาจากผิวหน้าของป้ายทะเบียน ทำให้ด้านหลังของป้ายนั้นบุ๋มเว้าลงไปตามหมายเลขทะเบียน และประเภทของป้ายทะเบียนยังสามารถใช้จำแนกประเภทการใช้รถได้ด้วย ป้ายทะเบียนมีความสำคัญมากๆเลยนะคะ เพราะป้ายทะเบียนเป็นสิ่งที่ใช้ในการบ่งบอกว่ารถยนต์คันนี้ได้รับการจดทะเบียนแล้ว

ถ้าใครที่ขับรถโดยที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนก็ถือได้ว่ามีความผิดและยังเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.รถยนต์ด้วย และคุณอาจจะถูกตำรวจปรับอีกด้วย และการขับรถที่ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนอาจจะทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกจับในข้อหาไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน และป้ายทะเบียนรถยนต์ยังเป็นเหมือนใบเบิกทางให้กับรถยนต์คันนั้นสามารถใช้สิทธิ์จากประกันภัยรถยนต์ได้อีกด้วย เพราะว่ารถที่ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนไม่สามารถทำประกันภัยรถยนต์ได้นะคะ เมื่อรู้แล้วว่าป้ายทะเบียนมีความสำคัญขนาดไหนเมื่อรู้ตัวว่าป้ายทะเบียนรถยนต์หายก็รีบไปขอป้ายใหม่เลยค่ะ

เพื่อนๆรู้มั้ยคะว่ารถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมีความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ 2522 มาตรา 7 ถ้านำรถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนมาวิ่งบนท้องถนน มีโทษตามมาตรา 152 ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ระบุว่า รถที่จดทะเบียนแล้วต้องมีการแสดงแผ่นป้าย และเครื่องหมายให้ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 60 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ประเภทของป้ายทะเบียน

ตามกฎหมายแล้วรถยนต์ทุกคันต้องมีการจดทะเบียนก่อนจึงจะได้ป้ายทะเบียนที่ถูกต้อง ป้ายทะเบียนมีไว้เพื่อระบุประเภทของรถแต่ละชนิด แต่ละประเภทตามการใช้งาน ประเภทของป้ายทะเบียนมีดังต่อไปนี้ค่ะ

ป้ายขาวอักษรดำ คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง
ป้ายขาวอักษรน้ำเงิน คือป้ายทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถตู้
ป้ายขาวอักษรเขียว คือ ป้ายรถบรรทุกส่วนบุคคล เช่นรถกระบะ
ป้ายเหลืองอักษรดำ คือ ป้ายรถรับจ้างโดยสารได้ไม่เกิน 7 คน หรือรถจักรยานยนต์รับจ้าง
ป้ายเหลืองอักษรแดง คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้างที่วิ่งระหว่างจังหวัด
ป้ายเหลืองอักษรน้ำเงิน คือ ป้ายทะเบียนรถยนต์รับจ้าง 4 ล้อ
ป้ายเหลืองอักษรเขียว คือ ป้ายทะเบียนรถสามล้อรับจ้าง
ป้ายทะเบียนรถสีเขียวอักษรสีขาว คือ ป้ายทะเบียนรถสำหรับรถบริการธุรกิจ รถบริการทัศนะศึกษา และรถบริการให้เช่า
ป้ายทะเบียนรถสีส้มอักษรสีดำ คือป้ายทะเบียนรถสำหรับรถพ่วง รถบด รถแทกเตอร์ และรถที่ใช้ในการเกษตรกรรม
ป้ายทะเบียนสีขาว (ไม่สะท้อนแสง ) อักษรสีดำ ขึ้นต้นด้วยอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ แล้วตามด้วยขีด ต่อด้วยเลขทะเบียนรถ เป็นป้ายทะเบียนรถยนต์สำหรับของคณะผู้แทนทางการทูต
ป้ายทะเบียนสีฟ้า (ไม่สะท้อนแสง)อักษรสีขาว เป็นป้ายทะเบียนรถสำหรับบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ซึ่งจะมีการใช้อักษร พ ของคณะผู้แทนทางกงศุล และใช้อักษร ก ถ้าเป็นรถขององค์การระหว่างประเทศ
ป้ายทะเบียนที่มีพื้นหลังเป็นกราฟิก เช่น รูปเรือสุพรรณหงส์ หมายถึง ป้ายทะเบียนรถที่มีการประมูลมา
ป้ายทะเบียนรถสีแดง คือป้ายทะเบียนที่ออกให้กับรถที่ยังไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย สามารถใช้งานบนท้องถนนแค่ชั่วคราวเท่านั้นนะคะ

ตรวจรถสักนิดก่อนคิดจะสตาร์ท

เนื่องด้วยสภาพเหตุการณ์ในสมัยนี้ที่มีการแข่งขันสูง ทำงานแข่งกับเวลา การจราจรติดขัด ทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันเป็นไปด้วยความเร่งรีบ โดยเฉพาะคนที่มีรถยนต์ส่วนตัวบางครั้งเพราะความรีบร้อนจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถคันอื่นบ่อยๆ หรือบางครั้งก็เกิดอุบัติเหตุเพราะความประมาท หรือมองไม่เห็นทาง หรือไม่คุ้นเคยกับเส้นทางที่ไปทำให้ชนกับต้นไม้บ้าง เสาไฟฟ้าบ้าง บางคนชนสัตว์โดยเฉพาะสุนัขบ่อยมากๆ อุบัติเหตุการเฉี่ยวชนเหล่านี้แหล่ะมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ของเราหลุดหายไปโดยไม่รู้ตัว

บางครั้งเราก็ไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่ได้เช็ครถเป็นประจำทำให้ขับรถไปโดยที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนซึ่งเป็นการทำผิดกฎ พ.ร.บ. ส่วนบางคนติดแผ่นป้ายก็จริงแต่เป็นป้ายทะเบียนปลอม ซึ่งเป็นป้ายทะเบียนที่ทำขึ้นมาเองไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์อะไร หรือติดป้ายทะเบียนที่ไม่ได้ออกมาจากกรมขนส่งทางบก ซื้อมาใส่เองเพราะความน่ารัก หรือความชอบส่วนตัว

เพราะฉะนั้นในฐานะเจ้าของรถ เราต้องทำความความเข้าใจกฎหมายว่าด้วยการใช้รถใช้ถนน รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลงป้ายทะเบียน ป้ายวงกลม และการแก้ไขเล่มทะเบียนเอาไว้ด้วยเพื่อจะไม่ต้องเกิดปัญหาและทำให้ต้องเสีย ทั้งเวลา และเงินในการจ่ายค่าปรับ หรือบางกรณีอาจจะต้องติดคุกด้วย ดังนั้นก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง หรือก่อนจะสตาร์ทรถใช้เวลานิดหน่อยเพื่อเช็คสภาพรถของเราว่ามีความผิดปกติอะไรมั้ย? ป้ายทะเบียนยังอยู่หรือเปล่า ? สีมันซีดไปมั้ย? เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยขณะขับขี่ได้มากเลยทีเดียวค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
https://moneyduck.com/th/articles/15-ก่อนเคลมประกันรถยนต์เราต้องรู้อะไรบ้าง/

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2 ก.ย. 20, 22:16 น โดย tarakochan » noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม