
มาถึงคำถามต่อไปว่า แล้วในโลกมองกันอย่างไรว่า สนามบิน และธุรกิจการบินจะกลับมาคึกคักอีกเมื่อไหร่
IATA หรือ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประเมินว่า อุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศมีแนวโน้มสูงที่จะยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าอย่างน้อยต้องใช้เวลาถึง 3 ปี ในการพลิกฟื้นอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยตรง แปลเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า ปี 2023 หรือ 2566 - 3 ปีหลังจากนี้ ธุรกิจการบิน และสนามบิน ถึงจะกลับมาใกล้เคียงกับจุดเดิมที่เคยเป็นอยู่ก่อนสถานการณ์โรคระบาด
อะไรเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ผู้คนยังไม่สามารถลับมาใช้ชีวิตการบินปกติได้
ความกังวลเกี่ยวกับโรค ที่ยังไม่หมดไป ถ้าบินไปมาแล้วต้องโดน กักตัว 14 วัน อันนี้จะทำให้ทุกคนไม่เดินทาง ซึ่งเลยเป็นที่มาของ Travel Bubble ที่จะเปิดช่องการเดินทางระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่ตกลงกันได้ โดยไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน
และแน่นอน ข้อจำกัดทางการเงินและรายได้ ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อ GDP หรือรายได้มวลรวมสหประชาชาติของทั้งโลก และแน่นอนกระเป๋าสตางค์ของทุกคน โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ คาดการณ์กันว่า จะลดลงถึง 6% โดยในส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะหนักสุดคือ - 40 ถึง - 60% ซึ่งประเด็นย่อยเป็นแบบนี้ครับ
เมื่อรายได้ลด การท่องเที่ยวจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย การท่องเที่ยวจะประหยัดขึ้น และใช้จ่ายได้น้อยลง
ราคาตั๋ว และราคาใช้จ่ายระหว่างเดินทาง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพราะพื้นที่เท่าเดิม แต่ขายได้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นนี้สวนทางกับรายได้ ยิ่งทำให้โอกาสในการไปเที่ยว หรือเดินทางยิ่งลดน้อยลง
แค่สองเหตุผลหลักนี้ก็น่าจะเพียงพอต่อคำอธิบายต่อสถานกาาณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว
ผมได้แต่หวังว่าเราจะเจอวัคซีนในเร็ววันนี้ หรือมีแนวทางในการดำเนินธุรกรรมทางการบิน ทางการท่องเที่ยว ที่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้ในเร็ววัน ไม่ต้องดีไปกว่าเดิม แต่ให้ดีเท่าเดิมก็น่าจะเพียงพอในระยะสั้น และกลาง ในขณะเดียวกันธุรกิจทางการบิน ไม่ว่าจะสนามบิน หรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ต้องวางแผนในระยะยาว เพื่อเตรียมรับสู่การปรับตัวเข้าสู่สภาวะ New Normal หรือสภาวะปกติใหม่อีกครั้ง ซึ่งมองกันตอนนี้แล้ว ผมเองยังไม่กล้าประเมินว่ามันจะออกมาในรูปแบบใดเลย
วันนี้ ผมกำลังจะตั้งคำถามว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส ของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย กำลังจะดำเนินการอย่างไร เพื่อดำเนินธุรกิจของตัวเองต่อไป ในลักษณะแบบไม่สนใจผู้ประกอบการใด ๆ ในสนามบินเลย แล้วมุ่งเน้นกำไรสูงสุด หรือค่าบริหารของการท่าเป็นหลัก หรือจะดำเนินการแบบไม่ได้มองบรรทัดสุดท้ายของ Balance sheet แต่มีการเยียวยาวผู้ประกอบการในสนามบินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิขของคนไทย ในสนามบิน อันรวมถึง ลูกจ้างต่าง ๆ ให้สามารถก้าวพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน จนกว่าสนามบินของไทยเราจะกลับมาคึกคักดังเดิม
หมายเหตุ 1 เบา ๆ ณ ตอนนี้ กลางเดือน มิถุนายน ประเทศไทย ยังไม่เปิดน่านฟ้า หมายความว่าทั้งนักท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่ง Business Traveller ก็ยังคงเดินทางไม่ได้ นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการรายย่อย และเจ้าบ้าน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ยังคงต้องขาดรายได้หลักส่วนนี้ไป เว้นเสียแต่เที่ยวบินขนส่งสินค้าเท่านั้น
หมายเหตุ 2 : แต่ผมทำการสำรวจจากการพูดคุยคร่าว ๆแล้ว มีเพื่อน พี่น้อง หลายท่านมาก โดยเฉพาะคนยุค Millenium ที่พร้อมจะเดินทางระยะสั้น (เส้นทางการบินประมาณ 3 - 6 ชม) หาก Travel Bubble สำเร็จ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจะพูดคุยต่อไป
#AIRPORT
#THAILAND
#NEWNORMAL
#COVID-19
เครดิตบทความ: https://www.
facebook.com/101197531492015/posts/147089386902829/
https://www.facebook.com/101197531492015/posts/147090256902742/
https://talk.mthai.com/politics/509074.html