เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เผยข้อมูลน่าสนใจของชาวเอเชียแปซิฟิก กับความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเรื่องโภชนาการ
ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบนสื่อออนไลน์ทำให้มากกว่า 60% ของผู้บริโภค ขาดความรู้ในเรื่องโภชนาการที่ถูกต้อง
เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น (Herbalife Nutrition) บริษัทโภชนาการระดับโลก เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมจากผลสำรวจความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2563 (Asia Pacific Nutrition Myths Survey 2020) โดยพบว่าผู้บริโภคมากถึง 60% สับสนเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโภชนาการ โดยข้อมูลนี้ได้มาจากการสำรวจผู้บริโภค 5,500 คนในออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม 2563
จากแบบสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจมีความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องน้อยที่สุดใน 3 เรื่องต่อไปนี้
- แร่ธาตุ: มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 28% ที่ตอบคำถามส่วนนี้ถูก
- คาเฟอีน: มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 33% ที่ตอบคำถามส่วนนี้ถูก
- โปรตีน: มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 34% ที่ตอบคำถามส่วนนี้ถูก
แบบทดสอบนี้ยังทำให้เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ค้นพบว่า ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อผิด ๆ เรื่องโภชนาการหลายเรื่อง เมื่อถามว่าเรื่องเหล่านี้จริงหรือไม่ ผู้บริโภคกว่า 6 ใน 10 ตอบไม่ถูก หรือไม่แน่ใจ
สตีเฟน คอนจี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าวว่า "ความเชื่อผิด ๆ เรื่องโภชนาการที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ทำให้ผู้คนสับสนว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริงกันแน่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการบริโภคคาร์โบไฮเดรตทำให้น้ำหนักขึ้น และอีกไม่น้อยเชื่อว่าร่างกายต้องการโปรตีนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งห่างไกลจากความจริงมาก"
"เพื่อช่วยลดช่องว่างความรู้เรื่องโภชนาการ เราได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและโภชนาการชั้นนำ เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องโภชนาการที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก เราเชื่อว่าความพยายามร่วมกันของภาครัฐ สถาบันสุขภาพ และอุตสาหกรรมโภชนาการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภคในระยะยาว และหวังว่าหลายฝ่ายจะร่วมมือกับเราเพื่อช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพดีขึ้น"
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกที่ค้นพบจากการสำรวจ
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 1: คาร์โบไฮเดรตทำให้น้ำหนักขึ้น
ความจริง:คาร์โบไฮเดรตเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้น้ำหนักขึ้น แต่การรับแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายต้องการทำให้น้ำหนักขึ้น หลักปรัชญาของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น แนะนำว่า ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตคิดเป็นสัดส่วน 40% ของแคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวัน ทั้งนี้ แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพอย่างผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช ให้สารอาหารสำคัญอื่น ๆ อย่างแคลเซียม เหล็ก และวิตามินบีด้วย
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 2: ร่างกายต้องการโปรตีนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
ความจริง:เมื่อเข้าสู่วัย 40 เราอาจค่อย ๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) แต่เราสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการบริโภคโปรตีนให้มากขึ้นและออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (resistance exercise) เมื่ออายุมากขึ้น
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 3: คาเฟอีนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
ความจริง:แม้ว่าคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แต่การดื่มกาแฟตามปกติ 2-3 ถ้วยต่อวันไม่ก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำ ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาของสถาบันข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกาแฟ (Institute for Scientific Information on Coffee) ระบุว่า กาแฟให้น้ำกับร่างกายเช่นเดียวกับน้ำดื่ม
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 4: เราสามารถเสริมสร้างมวลกระดูกสูงสุดได้ทุกวัยหากบริโภคแคลเซียมเพียงพอ
ความจริง:การสร้างมวลกระดูกสูงสุด (มีขนาดและความแข็งแรงสูงสุด) ขึ้นอยู่กับการบริโภคแคลเซียมก่อนอายุ 30 ปี อย่างไรก็ดี การบริโภคแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดชีวิตจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน การเสริมแคลเซียมสามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งร่างกายต้องการแคลเซียมมากขึ้น
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 5: การกินอาหารแบบคีโตเจนิก ไดเอต เป็นวิธีลดน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ
ความจริง:การกินอาหารแบบคีโตเจนิก ไดเอต เป็นการบริโภคคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก โปรตีนปานกลาง และไขมันสูงมาก เพื่อบังคับร่างกายให้ดึงไขมันมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักลดลง อย่างไรก็ตาม คาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยให้ทั้งพลังงาน วิตามิน และแร่ธาตุ
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 6: การกินอาหารไขมันต่ำมากเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ดีที่สุด
ความจริง:ผลการศึกษามากมายแสดงให้เห็นว่า น้ำหนักลงน้อยมากหลังกินอาหารไขมันต่ำมากนานหนึ่งปี วิธีนี้จึงไม่ใช่การลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน ความจริงแล้ว ร่างกายของเราต้องการไขมันในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อทำให้ร่างกายแข็งแรง เพราะไขมันช่วยสร้างเยื่อหุ้มเซลล์และฮอร์โมนต่าง ๆ และช่วยในการดูดซึมวิตามินกลุ่มที่ละลายในไขมัน
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 7: ดัชนีน้ำตาลเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับใช้เลือกคาโบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพที่สุด
ความจริง:ดัชนีน้ำตาลเป็นตัวชี้วัดว่าคาร์โบไฮเดรตในอาหารส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากน้อยแค่ไหน แต่การเลือกอาหารไม่ควรพิจารณาดัชนีน้ำตาลเพียงอย่างเดียว โดยต้องพิจารณาปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคและอาหารอื่น ๆ ที่บริโภคร่วมกันด้วย
ความเชื่อผิด ๆ ข้อ 8: ผงโปรตีนไม่ใช่แหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพเมื่อเทียบกับโปรตีนจากอาหารธรรมชาติ
รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200611/2827350-1
คำบรรยายภาพ - ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกที่ค้นพบจากการสำรวจ