หุ่นยนต์มีวิวัฒนาการและความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์ ทั้งในด้านกระบวนการผลิตสินค้า อำนวยความสะดวกสบาย ไปจนถึงดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิต ซึ่งการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากยังจำกันได้ หลายปีก่อนโลกโซเชียลตื่นเต้นกับความแปลกใหม่จากคลิปโรงงานอุตสาหกรรมซีพี ที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตสินค้าตลอดกระบวนการ
แต่ปัจจุบันในยุคดิจิทัล 4.0 หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลายเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญ องค์กรธุรกิจต่าง ๆ หันมาใช้งานหุ่นยนต์กันมากขึ้น จากหุ่นยนต์ที่ใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ก็ขยับขยายมาเป็นหุ่นยนต์สำหรับภาคครัวเรือน ผู้คนเริ่มคุ้นเคยกับ AI และหุ่นยนต์ อย่างโดรน หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หรือแม้แต่ “มะลิ” ระบบเสียงตอบรับอัตโนมัติ โดยมีการใช้งานกันเป็นประจำ จนเกือบจะเป็นเรื่องปกติในสังคมไปแล้ว ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของตลาดหุ่นยนต์ ที่มีพัฒนาการและการเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดการใช้งานหุ่นยนต์ในรูปแบบของ ‘Robot as a Service’
“ยุคก่อนนั้น e-commerce ทำให้อาลีบาบาประสบความสำเร็จ แต่ยุคนี้เป็นยุคของหุ่นยนต์ ซึ่งมีราคาไม่แพง เข้าถึงได้ ผู้คนเปิดรับหุ่นยนต์มากชึ้น ทำให้บทบาทและตลาดหุ่นยนต์ใหญ่มาก จึงเป็นโอกาสของเด็กไทย นักธุรกิจไทย หากประเทศไทยช่วยกันสร้างระบบนิเวศให้ดีขึ้น ปรับองคประกอบต่าง ๆ ให้ดีและเหมาะสม เราก็พร้อมเป็นผู้นำได้ไม่ยากเลย” ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธาน คณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืนองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้สัมภาษณ์ Techsauce Thailand หัวข้อ นวัตกรรม Service Robot รับ New Normal
https://www.facebook.com/watch/live/?v=265348944901842&ref=watch_permalink
ปัจจุบันกลุ่มทรูและเครือซีพีเน้นเรื่องการใช้งานหุ่นยนต์มากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้เครื่องทุนแรงที่สอดคล้องกับค่านิยมองค์กรในข้อ “ทำน้อยได้มาก”
ดร.ธีระพล เล่าว่า กลุ่มซีพีใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมมานานแล้ว ส่วนกลุ่มทรูนั้น ก่อนหน้านี้เน้นเรื่องการนำเข้าหุ่นยนต์มาพัฒนาด้วยซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันเน้นการมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง โดยมีการพัฒนาโซลูชั่นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งได้รับรางวัลจากหลายประเทศ ล่าสุดรับรางวัลที่หนึ่งเหรียญทองจากรัสเซีย สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย และจะพยายามพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง โดยหลักการมีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการให้ทุนวิจัยด้านนวัตกรรม และเปิดให้คนมาต่อยอดแพลตฟอร์ม ซึ่งในอีก 6-7 ปีข้างหน้าจะมีหุ่นยนต์ออกมาใช้มากขึ้น (http://www.wearecp.com/true-inno-220563/)
ล่าสุด กลุ่มทรู โดย ทรู ดิจิทัล โซลูชันส์ ยังได้ เปิดตัว “ทรู ดิจิทัล โรโบคอร์” (True Digital RoboCore) โซลูชันหุ่นยนต์อัจฉริยะครบวงจรรายแรกในไทย ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์ด้วยระบบสมองกล Cloud AI เชื่อมต่อกันบนโครงข่ายอัจฉริยะ True 5G พร้อมให้ทุกธุรกิจได้ใช้งานในแบบ Robot as a Service (RaaS) ทั้งยังออกแบบให้หุ่นยนต์มีการทำงานการตอบสนองที่ยืดหยุ่นเป็นพิเศษ สามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นรูปแบบการใช้งานแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ตามความเป็นจริง และตรงตามความต้องการแบบเฉพาะด้าน
(https://cities.trueid.net/article/true-digital-robo-core-หุ่นยนต์อัจฉริยะ-รายแรกในไทย-สู่โลกใหม่ที่ยั่งยืน-trueidintrend_169904 )
วิกฤติโควิด-19 ทำให้ AI และหุ่นยนต์ เข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์ ที่ให้ความช่วยเหลือมนุษย์ในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จากนี้ไปหุ่นยนต์น่าจะถูกพัฒนาให้เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ตลาดหุ่นยนต์ทั้งในประเทศและในตลาดโลก จึงมีแนวโน้มจะเติบโตยิ่งกว่าช่วงที่ผ่านมาหลายเท่าตัว องค์ความรู้และบุคลากรด้านหุ่นยนต์ในประเทศไทยมีพื้นฐานที่ดีมาก หากมีการยกระดับระบบนิเวศให้มีความพร้อมมากขึ้น จะทำให้ไทยมีโอกาสก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางของกลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในภูมิภาคและโลกได้ไม่ยากเลย