ดูจะกลายเป็นดราม่าเรื่องยาวไปซะแล้ว สำหรับกรณีความขัดแย้งภายในของสตาร์ทอัพดาวรุ่งอนาคตไกลอย่าง U Drink I Drive หลังจากผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ “สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” ออกโรงเรียกร้องความเป็นธรรมพร้อมกับยื่นฟ้องต่อศาล จนทำให้ผู้คนเกิดความสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้น (คลิกอ่าน >> เปิดแผล...U Drink I Drive สตาร์ทอัพ ที่กำลัง “ดาวน์” เพราะปัญหาภายใน; https://ibusiness.co/detail/9620000085222)ล่าสุด ทีมผู้บริหารบริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ได้ออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้ ผู้ก่อตั้งในกรณีดังกล่าว ** ยื่นฟ้องอาญา “เบิกความเท็จต่อศาล”
จากการให้ข้อมูลของ “สิรโสมย์” ที่ระบุว่า ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ใน 2 ข้อหลัก ๆ คือ บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด มีการเรียกประชุมโดยมิชอบ และมีมติให้ขายทรัพย์สิน จนศาลเชื่อว่ามีการประชุมและมีมติอย่างนั้นจริงเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562 พร้อมทั้งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวและมีหมายห้ามชั่วคราวอย่างไรก็ตาม ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน 2562 บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ได้มอบหมายให้ทนายนำหลักฐานความเป็นจริงทั้งหมด ไปดำเนินการยื่นคำร้อง เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และภายในวันนั้น ศาลก็ได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในทันที“เนื่องจากคำเบิกความที่สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ได้ยื่นต่อศาล ซึ่งทำให้ได้รับความคุ้มครองชั่วคราวนั้น เป็น ‘เท็จ’ เพราะความจริงก็คือ วันที่ 13 มิถุนายน 2562 ไม่ได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด” ทีมผู้บริหาร U Drink I Drive ให้ข้อมูลทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 บริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญา “สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์” ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหา “เบิกความเท็จต่อศาล” ในการไต่สวนขอความคุ้มครองชั่วคราว** เคลียร์ปม...ขายบริษัททิ้งแค่ 3 ล้าน?
หนึ่งในประเด็นใหญ่ที่กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรง คือการที่ “สิรโสมย์” ให้สัมภาษณ์กับสื่อหลายสำนักว่าบริษัทกำลังประสบความสำเร็จอย่างสูง มีมูลค่าหลายร้อยล้าน แต่กลับถูกผู้ถือหุ้นอีก 2 คนนำบริษัทไปขายในราคาเพียง 3 ล้านบาท แถมบริษัทที่นำไปขายให้นั้น ก็มีความสัมพันธ์กับหนึ่งในสองผู้ถือหุ้นดังกล่าว จนทำให้สังคมเกิดความสับสนว่า มีการใช้สายสัมพันธ์ส่วนตัว เข้าฮุบยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ หรือไม่?ในข้อนี้ ทีมบริหารของยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 ทางบริษัทมีการเริ่มติดต่อพูดคุยกับนักลงทุนต่างๆ ด้วยเหตุผลว่า สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ซึ่งขณะนั้นยังดำรงตำแหน่ง CEO ควบตำแหน่ง CFO (ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายการเงิน) ได้แจ้งว่า บริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่อง เงินไม่พอค่าใช้จ่าย อีกทั้งบริษัทมีบัญชีที่ต้องปรับเพื่อผลทางภาษี และอีกหลายเหตุผล“ดังนั้น หุ้นส่วนทั้ง 3 คน ซึ่งประกอบไปด้วย สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์, อภินรา ศรีกาญจนา และ จิรายุ พิริยะเมธา จึงพยายามดีลกับนักลงทุนมากกว่าสิบราย แต่ก็ไม่สำเร็จ โดยเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นเนื่องมาจาก “งบบัญชีของบริษัทไม่ถูกต้อง” จึงไม่มีนักลงทุนรายใดสนใจหรือเสี่ยงที่จะเข้ามาลงทุนด้วย”และในขณะที่บริษัทกำลังเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบากอยู่นั้น... ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 สิรโสมย์ บริสุทธิ์สุวรรณ์ ก็ได้ยื่นจดหมายขอลาออกจากตำแหน่ง CEO และการบริหารทุกอย่าง คงไว้แต่เพียงการเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่า ธุรกิจนี้ไม่ประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ในเวลาต่อมา 20 ธันวาคม 2561 สิรโสมย์ ซึ่งเป็นอดีต CEO แล้ว ได้ส่งอีเมล์สรุปการประชุมว่า ต้องเพิ่มทุนอย่างน้อย 3 ล้านบาท และต้องรีบดำเนินการทันที โดยต้องจ่ายเงินเพิ่มทุน 50% ภายใน 5 วันถัดไปหลังจากได้รับอีเมล (คือวันที่ 25 ธันวาคม 2561) และส่วนที่เหลืออีก 50% จะต้องจ่ายภายใน 15 วันข้างหน้า นั่นก็คือวันที่ 5 มกราคม 2562ด้วยเกรงว่าการดำเนินการเพิ่มจะไม่ทันการณ์... ในวันที่ 24 ธันวาคม 2561 “อภินรา ศรีกาญจนา” จึงโอนเงิน 3 แสนบาทเข้าบัญชีบริษัท เพื่อแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง“ความจริงอีกอย่างที่ต้องชี้แจง ณ ที่นี้ก็คือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนมีนาคม 2562 สิรโสมย์มีความพยายามที่จะขายหุ้นของตัวเองให้กับอภินราในราคาสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพยายามโน้มน้าวว่า จริง ๆ แล้ว บริษัทมีมูลค่าหลายร้อยล้าน ถึงแม้ว่าบริษัทจะขาดสภาพคล่องและขาดทุนสะสมอยู่ก็ตาม อีกทั้งบอกว่าตนเองนั้นได้ลดราคาให้อภินราอย่างมากแล้ว”“ในขณะนั้น ต้องบอกว่า สถานะทางการเงินของบริษัทย่ำแย่ลงจนถึงขั้นวิกฤติ ผู้บริหารทั้ง 2 คน คือ อภินรา และ จิรายุ จึงได้ดำเนินการกู้เงินจำนวน 7 แสนบาท เพื่อนำมากู้วิกฤติทางการเงินดังกล่าว”หลังจากนั้น เพื่อดำเนินการแก้ปัญหา “จุลพยัพ ศรีกาญจนา” ประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบิดาของอภินรา ได้แนะนำให้ลองหารือกับบริษัทเอเชียพลัส แอสซิสแทนท์ จำกัด ซึ่งเป็นคู่ค้าของบริษัท เอเชียประกันภัยฯ ดู เพราะเชื่อว่า ดูจากสภาพการณ์ของบริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด แล้ว คงจะมีแค่เพียงบริษัทที่เชื่อถือเชื่อมั่นในตัวของบิดาของอภินราเท่านั้น ที่จะกล้าเข้ามาลงทุน เพราะดูจากวิธีการลงบัญชีของบริษัท ยูดริ้งค์ ไอไดรฟ์ จำกัด แล้ว ยากยิ่งที่จะมีนักธุรกิจรายใดกล้าเข้ามาลงทุน**