เอชพี อิงค์ ประเทศไทย จัดเสวนา “HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” นำโดย ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย ร่วมเสวนากับ ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของไทย และครอบครัวนักแสดง ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ พร้อมภรรยา สุนิสา เจทท์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เปิดมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กยุคเทคโนโลยี ตลอดจนแนวทาง และบทบาทของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกหลานสู่อนาคตที่มั่นคง ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนบทบาทของพ่อ
แม่ผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก และนำเทคโนโลยีมาผสมผสานในการเรียนรู้ เอชพี ได้แสดงผลวิจัยโครงการ New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการสำรวจทัศนคติและบุคลิกลักษณะของ พ่อ
แม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
พบว่าความเชื่อและความคาดหวังที่แตกต่างกันไปนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการกำหนดการเรียนรู้ของลูก การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ ตลอดจนการเสียสละต่างๆ เพื่ออนาคตของลูก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงความมุ่งหวังของผู้ปกครองในการเตรียมลูกหลานสู่อนาคต ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจากผลของเทคโนโลยี ผู้ปกครองกังวลว่าลูกๆ จะไม่สามารถ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้ ซึ่งการสำรวจพบข้อมูลเชิงลึกดังนี้:
•
อนาคตที่มั่นคงของเด็กคือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครอง --> ผลสำรวจโดยรวมชี้ให้เห็นว่า อนาคตที่มั่นคงของเด็ก คือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครองทุกคน 66% กังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น 42% กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำ
งาน 54% กังวลเรื่องทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทชีวิตในอนาคต
--> สำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ของประเทศไทย 65% กังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด และรองลงมา 54% เป็นห่วงเรื่องการสร้างทักษะที่ถูกต้องให้กับเด็กในอนาคต
•
ผู้ปกครองเอเชียยุคใหม่ ต้องการให้ลูกหลานพัฒนาทักษะทางสังคมควบคู่กับการมีความสุข --> โดย 83% ผู้ปกครองต้องการให้ลูกหลานมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้ปกครองไทย 68% ต้องการให้ลูก สามารถทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ และ 66% ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ
--> ครอบครัวไทย 61% ยังเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะและรูปแบบการเรียนการสอนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ของลูกเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และ 57% ของผู้ปกครองไทยยุคใหม่ต้องการพัฒนาลูกให้ด้านสติปัญญาซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด
•
เด็กๆ ต้องถูกเตรียมให้พร้อม สำหรับการเรียนรู้ยุคดิจิทัล --> การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างสิ่งพิมพ์และดิจิทัลนั้นมีผลเชิงบวกมากกว่าการเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์และบนดิจิทัลเพียงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์กับบนดิจิทัลให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน และผู้ปกครองเชื่อว่าสิ่งพิมพ์ให้ผลที่ดีกว่าสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจ การใช้เวลาในการอ่าน การเรียนคำศัพท์และการจดจำ ในขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการสร้างวิจารณญาณ
--> ผู้ปกครองไทย 57% ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับการเรียนรู้ด้านศิลปะ รองลงมาคือการเรียนรู้ด้านภาษา 56% และทักษะดนตรี 41%
•
ผู้ปกครองช่วยลูกในการเรียนรู้เพราะเป็นโอกาสสร้างความผูกพัน --> จากผลสำรวจพบว่า ผู้ปกครองชอบใช้เวลาเรียนรู้กับลูกเพราะเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความผูกพันและพัฒนาทักษะด้านปฏิสัมพันธ์
--> การสำรวจยังพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ปกครองสูงสุดถึง 89% ที่ระบุว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็ก คือต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ ผู้ปกครองเห็นว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกับเด็กเป็นการพัฒนาทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
•
ผู้ปกครองยอมเสียสละเพื่อการศึกษาของเด็กๆ โดยการส่งเสริมให้ลูกเรียนพิเศษ --> ผู้ปกครองชาวเอเชีย 60% ยอมใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษ นอกเหนือจากการเรียนในเวลาปกติ
--> ผู้ปกครองไทย 64% ใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษและสถาบันกวดวิชา 35% ยอมย้ายบ้านเพื่อให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่ดี และ 45% ยอมกู้เงินเพื่อการศึกษาของลูก
•
ผู้ปกครองมีความคาดหวังกับสิ่งที่ปฏิบัติจริงไม่ตรงกัน --> ในขณะที่ผู้ปกครองมองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การท่องเที่ยวและการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แต่พวกเขายังคงให้ลูกๆ เรียนรู้ในกิจกรรมแบบเดิม
--> ผู้ปกครองเชื่อว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับโลกแห่งความจริง ที่เสริมการพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์และวิจารณญาณ ในขณะที่การเรียนรู้แบบท่องจำนั้นเหมาะสำหรับความรู้ที่อาศัยความจริง อันเป็นฐานในการต่อยอดการพัฒนาทักษะอื่นที่สูงขึ้น
--> ผู้ปกครองไทย 88% ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ มากกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำที่ 73% เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งสองประเภทจะมีอิทธิพลต่อความสามารถของเด็กในการเลือกทักษะที่จำเป็นเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน
ผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่
The Concerned, The Realist, The Typical, The Overachiever และ
The Detached ซึ่งสะท้อนลักษณะวิธีการที่ผู้ปกครองให้ความหมายต่อการเรียนรู้ การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา บทบาทการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูก