อีกหนึ่งอุทยานประวัติศาสตร์ไทยที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน นั้นคือ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แหล่งอารยธรรมกว่า 1000 ปี
"อุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร"
อุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีต้นไม้อยู่โดยรอบเป็นจำนวนมาก เกิดความร่มรื่นต่อผู้คนที่เข้ามาเยี่ยมชม
เหตุผลที่ชื่อนี้เพราะเป็นเมืองที่มีการสร้างกำแพงด้วยศิลาแลงล้อมรอบ มีความมั่นคง แข็งแรง ข้าศึกศัตรูจึงเข้ามาตีได้ยาก แข็งแกร่งประดุจเพชร
อุทยานประวัติศาสตร์นี้ผสมผสานระหว่างศิลปะสุโขทัย ล้านนา และอยุธยา จึงได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมเข้ามาผสมผสานกันจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
อีกหนึ่งโบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่วันนี้เราขอเลือกพูดถึงคือ
"วัดพระสี่อิริยาบถ"
เป็นวัดขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร
อยู่ถัดจากวัดพระนอนไปทางทิศเหนือ ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าวัดไปทางทิศตะวันออก หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำ และศาลาเช่นเดียวกับวัดพระนอน ด้านหลังวิหารเป็นมณฑปขนาดใหญ่ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว
ทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะมณฑปเป็นแบบจตุรมุขกึ่งกลาง เป็นแท่งสี่เหลี่ยมเพื่อรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ทิศ แต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมก่อผนังให้เว้าเข้าไปและประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น ผนังด้านตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปลีลา ด้านทิศเหนือพระพุทธรูปในอิริยาบถนอน ด้านทิศใต้เป็นพระพุทธรูปนั่ง และด้านทิศตะวันตกเป็นพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน ซึ่งเหลือสภาพมากกว่าด้านอื่นๆ การที่ช่างก่อผนังให้เว้าเข้าไปมากเพื่อจะทำให้ดูคล้ายกับว่าพระพุทธรูปอยู่ลึกเข้าไปในห้องคูหา
สถานที่ตั้ง: ถนนกำแพงเพชร-สุโขทัย ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม: ชาวไทยท่านละ 20 บาท บัตรรวม 30 บาท
ชาวต่างชาติท่านละ 100 บาท บัตรรวม 150 บาท
โทรศัพท์: (055) 854736-7
Facebook: อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
E-Mail: kpphispark @ hotmail . com
--------------------------------------------------------
Credit: กรมศิลปากร / The Fine Arts Department
Create by: มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มีชีวิต /Living Museum Foundation
--------------------------------------------------------
ติดตาม Living Museum Foundation ได้ที่
Facebook: https://www.facebook.com/livingmuseumth
Line: @livingmuseumth
IG: https://www.instagram.com/livingmuseumth
Twitter: https://twitter.com/livingmuseumth
E-mail: mr.museum@livingmuseumthailand.com