พอก้าวสู่ฤดูหนาวเครื่องทำน้ำอุ่นก็จะกลายเป็นของใช้ที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากช่วยคลายความหนาวจากอากาศเย็นแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและสบายตัวมากยิ่งขึ้น การมี
เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่ ๆ ดี ๆ ติดบ้านเอาไว้สักเครื่อง จะช่วยให้เราไม่ต้องเผชิญกับน้ำเย็นสุดแสนทรมานในฤดูหนาว ช่วยให้กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยเปิดรูขุมขน ส่งผลทำให้สิ่งสกปรกที่อุดตันหลุดออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาและผลิต
เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่ ๆ ออกมาอย่างตลอดเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้
งานของผู้บริโภคให้ได้อย่างดีที่สุด ทำให้มีเครื่องทำน้ำอุ่นให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันคงหนีไม่พ้นระบบไฟฟ้าเพราะติดตั้งได้ง่าย ใช้งานสะดวก อย่างไรก็ดีเครื่องทำน้ำอุ่นก็มีคุณสมบัติเด่นด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นการจะเลือกมาใช้งาน เราก็ควรพิจารณาในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบทำความร้อน กำลังวัตต์ รวมถึงเรื่องความปลอดภัยด้วย ว่าแล้วเราก็มาดูรายละเอียดเหล่านี้กันเลยค่ะ
[b
]เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่ [/b] ๆ มีคุณสมบัติอะไรใหม่ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้บ้าง
ระบบทำความร้อน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1. แบบน้ำผ่านร้อน น้ำจะไหลผ่านท่อหรือขดลวดทองแดงทำให้ได้น้ำร้อนเร็วทันใจและไหลแรงตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด (ดูเพรียวบาง)แต่อาจมีปัญหาเรื่องความคงที่ของอุณหภูมิน้ำหากแรงดันน้ำอ่อนหรือไม่สม่ำเสมอและมีโอกาสเกิดการอุดตันภายในท่อได้ง่าย จากหินปูนที่มากับน้ำ
2. แบบหม้อต้ม น้ำจะไหลผ่านหม้อทองแดงหรือวัสดุสังเคราะห์ แล้วทำให้น้ำร้อนด้วยขดลวดความร้อน ก่อนจะปล่อยน้ำออกไปใช้งาน จึงต้องใช้เวลาสักครู่ก่อนที่น้ำจะอุ่น
ระบบทำความร้อนแบบหม้อต้มนี้ สามารถแบ่งย่อยได้อีก2 ชนิด ได้แก่
• หม้อทำความร้อนจากทองแดง ทนความร้อนได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่มีโอกาสเกิดตะกรัน ถ้าใช้กับน้ำที่ไม่ผ่านระบบกรองที่ดี
• หม้อทำความร้อนจากวัสดุสังเคราะห์ หรือพลาสติกคุณภาพสูงอย่าง “กริลลอน” (Grilon)ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำหม้อน้ำในรถยนต์รุ่นใหม่ๆสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเป็นวัสดุเลียนแบบ ใช้พลาสติกคุณภาพต่ำ อาจรั่วซึมได้ง่าย ไม่สมราคากับการออกแบบหม้อต้มที่เป็นชิ้นเดียวแบบไร้รอยต่อ
3. ระบบป้องกันไฟดูดไฟรั่ว
ELCB (Electronic Earth Leakage Circuit Breaker) หรือ ELB เป็นเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีหน้าตาคล้ายๆกับเซฟตี้เบรกเกอร์ของปั๊มน้ำ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ถ้ามีกระแสไฟฟ้ารั่วเบรกเกอร์ELCB จะตัดไฟฟ้าออกจากระบบภายในเสี้ยววินาที (0.01-0.1 วินาที) หากมีกระแสไฟรั่วเพียง 15 มิลลิแอมป์ จึงป้องกันไฟฟ้าดูดได้ทันท่วงที การทำงานเป็นระบบกลไก (Mechanic)ดังนั้นเราควรต้องหมั่นกดปุ่ม TEST บนแผงหน้าปัดอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อความมั่นใจว่าระบบตัดไฟยังทำงานดีอยู่
ELSD (Electronic Leakage S
afety Device) หรือ ESDจริงๆแล้วก็คือ ELCB ที่พัฒนาให้เป็นแผงวงจรตัดไฟอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องทำน้ำอุ่นไปในตัว จึงทำให้ผู้ผลิตดีไซน์ตัวเครื่องทำน้ำอุ่นให้มีขนาดเล็กลงได้ สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว หากมีไฟฟ้ารั่วไหลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4. มิเตอร์ไฟฟ้า &ขนาดสายไฟ
มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 5 (15)A ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่กินไฟไม่เกิน 3,500วัตต์
มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) A สามารถเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4,500 วัตต์หรือ 6,000 วัตต์ก็ได้
5.เลือกกำลังวัตต์ให้เหมาะกับการใช้งาน
วัตต์ (Watt) ในที่นี้คือ ขนาดกำลังไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องที่มีกำลังวัตต์มาก ความสามารถในการทำความร้อนก็ยิ่งมากขึ้นนั่นเอง โดยเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของสถานที่ที่นำไปใช้ อย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด3,500 -4,500 วัตต์ก็เพียงพอแล้ว เพราะสภาพอากาศไม่ได้หนาวเย็นมากแถมยังประหยัดค่าไฟและประหยัดเงินในกระเป๋าอีกต่างหาก แต่สำหรับพื้นที่อย่างภาคเหนือตอนบนของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก ๆ ก็ควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังวัตต์สูงหน่อยประมาณ 6,000 วัตต์
หวังว่าข้อมูลต่าง ๆ ด้านบนนี้ที่เราเอามาฝาก จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับผู้ที่สนใจและกำลังมองหา
เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่ ๆ ดี ๆ ติดเอาไว้ที่บ้าน โดยอย่าลืมคำนึงถึงฟังก์ชั่นการทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่นที่ต้องการ เช่น สามารถปรับอุณภูมิได้หลายระดับ ปรับความแรงของน้ำ หรือทำงานด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งราคาของเครื่องทำน้ำอุ่นจะแตกต่างกันไปตามฟังก์ชันที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง จึงควรเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่เหมาะสมกับการใช้งานจริง ๆ หลีกเลี่ยงการซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีอันตรายจากการใช้งานได้ ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจากแบรนด์ที่มีมาตรฐานและได้รับความนิยมซึ่งจะช่วยให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานได้เป็นอย่างดี
#เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นใหม่