หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: อินฟลูเอนเซอร์บนโลกโซเชียลร่วมรณรงค์เรื่องโรคโรซาเซีย  (อ่าน 4 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 17 เม.ย. 19, 13:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงโรคโรซาเซียและภาระที่แฝงมากับโรคนี้ Galderma จึงจับมือกับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบนโลกโซเชียลในเดือนแห่งการรณรงค์เรื่องโรคโรซาเซีย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคโรซาเซียกล้าพูดและแบ่งปันประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับโรคผิวหนังรุนแรงชนิดนี้ รวมถึงผลกระทบนอกเหนือจากที่มองเห็นภายนอก


Galderma ต่อยอดความสำเร็จของแคมเปญ Rosacea: Beyond the visible ด้วยการผนึกกำลังกับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในการจัดกิจกรรมรณรงค์บนโลกโซเชียลในเดือนแห่งการรณรงค์เรื่องโรคโรซาเซีย (เมษายน) ภายใต้แคมเปญ #RosaceaNoFilter


แคมเปญ #RosaceaNoFilter นำโดยอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบนโลกโซเชียล โดยมีเป้าหมายเพื่อพูดคุยกันถึงภาระที่แท้จริงอันเกิดจากโรคโรซาเซีย พร้อมกับสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคโรซาเซียมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับโรคด้วยการโพสต์ภาพเซลฟี่บนโซเชียลมีเดีย และกล้าที่จะเปิดเผยผลกระทบนอกเหนือจากที่มองเห็นภายนอก


Lex Gillies (@TalontedLex) อินฟลูเอนเซอร์และแอมบาสเดอร์ของแคมเปญนี้ กล่าวว่า "สำหรับใครหลายคน รวมถึงตัวฉันเอง โรคโรซาเซียไม่ใช่แค่โรคผิวหนัง แต่เป็นความลำบากในชีวิตประจำวันที่ไม่จบสิ้น โรคนี้เห็นได้ชัดเจนจนทำให้เรารู้สึกประหม่าและกังวลกับสายตาของผู้อื่น ซึ่งทำให้รู้สึกแปลกแยกอย่างมาก เราจึงจำเป็นต้องรวมตัวกัน และเดือนแห่งการรณรงค์เรื่องโรคโรซาเซียก็เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการเชื่อมโยงผู้ป่วยและช่วยกันสร้างความตระหนักรู้ ทำลายอคติ และให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงที่แฝงอยู่เบื้องหลังโรคนี้"


โรคโรซาเซียเป็นโรคผิวหนังที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยราว 415 ล้านคนทั่วโลก [1] และผลกระทบด้านจิตสังคมที่แท้จริงของโรคนี้ได้รับการเปิดเผยในรายงาน Rosacea: Beyond the visible ซึ่งเผยแพร่ไปเมื่อปี 2561 โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคโรซาเซียราว 82% ที่ตอบแบบสำรวจ รู้สึกว่าควบคุมโรคได้ไม่เต็มที่ และ 55% ของผู้ป่วยที่ยังทำงานระบุว่าโรคนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ขณะเดียวกัน ราว 86% ยอมรับว่าต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้ผื่นเห่อขึ้นมา ซึ่งทั้งหมดนี้สร้างแรงกดดันในชีวิตประจำวันอย่างมาก [2]


Lex Gillies กล่าวว่า "เราควรภูมิใจที่ได้แบ่งปันประสบการณ์การอยู่ร่วมกับโรคโรซาเซียโดยไม่ปิดบัง การโพสต์ภาพเซลฟี่พร้อมติดแฮชแท็ก #RosaceaNoFilter จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ กล้าเปิดใจถึงความท้าทายที่แท้จริงที่ต้องเผชิญ รวมถึงมาร่วมแบ่งปันเคล็ดลับในการสนับสนุนซึ่งกันและกัน"


ด้วยความมุ่งมั่นในการทำความเข้าใจโรคโรซาเซียและผลกระทบนอกเหนือจากที่มองเห็นภายนอก Galderma ได้เดินหน้าศึกษาภาระของโรคด้วยการวิจัยบนโลกออนไลน์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยโรคโรซาเซียมากกว่า 130 คนรวมถึงคู่ชีวิต ใน 4 ประเทศ ข้อมูลเชิงลึกที่ได้เผยให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคโรซาเซียจำนวนมากไม่ได้พบแพทย์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับประสบการณ์ไม่ดีจากยารักษาหรือแม้แต่จากแพทย์ผิวหนัง หลายคนจึงเลือกวิธีรักษาในระยะสั้นด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์สกินแคร์มาใช้เองเมื่อผื่นเห่อขึ้นมา แทนที่จะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์


บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านโรคโรซาเซียต่างแนะนำให้ผู้ป่วยเปิดอกคุยกับแพทย์เรื่องภาระส่วนตัวที่แท้จริง โดย ดร. Melinda Gooderham ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ SKIN Centre for Dermatology และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยควีนส์ รัฐออนทาริโอ ประเทศแคนาดา กล่าวว่า "ครั้งต่อไปที่คุณเข้ารับคำปรึกษา อย่ากลัวที่จะพูดถึงภาระที่คุณต้องแบกรับ บอกให้เรารู้ถึงผลกระทบทางอารมณ์ที่มีต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ไม่ใช่แค่ผลกระทบที่มองเห็นภายนอก เราพร้อมรับฟังปัญหาของคุณ สนับสนุนคุณ และวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อคุณ เพราะเราตระหนักดีว่าโรคโรซาเซียส่งผลกระทบนอกเหนือจากที่มองเห็นภายนอก"


ดร.นพ. Kamel Chaouche หัวหน้าฝ่าย Global Medical Affairs Rx SIG ของบริษัท Galderma ในเครือ Nestle Skin Health กล่าวว่า "Galderma ตั้งใจรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเพื่อกำหนดแนวทางในการสนับสนุนความต้องการของผู้ป่วยโรคโรซาเซีย และช่วยยกระดับผลการรักษาโรคนี้ที่มักถูกมองข้ามความสำคัญ เดือนแห่งการรณรงค์เรื่องโรคโรซาเซียเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการต่อยอดจากแคมเปญ Rosacea: Beyond the visible พร้อมสนับสนุนให้ผู้ป่วยกล้าพูดและแบ่งปันประสบการณ์ของตนเอง"


อ้างอิง

1. Gether L, Overgaard LK, Egeberg A, Thyssen JP. Incidence and Prevalence of Rosacea: A Systematic Review and Meta-Analysis. Br J Dermatol 2018 Feb 25. https://doi.org/10.1111/bjd.16481.
2. Rosacea: Beyond the visible online report. Available at: http://hosted.bmj.com/rosaceabeyondthevisible. Last accessed: April 2019.


เกี่ยวกับโรคโรซาเซีย

โรคโรซาเซียเป็นโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้ทั่วไปและมีลักษณะทางคลินิกหลากหลาย โดยมากจะมีอาการหน้าแดง เป็นผื่นแดง และอักเสบ ส่วนใหญ่จะเกิดที่ตรงกลางของใบหน้า เช่น แก้มและจมูก โรคนี้สามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง แต่ส่วนใหญ่เกิดหลังอายุ 30 ปี นอกจากนั้นคนเป็นโรคนี้ยังมีอาการปวดแสบร้อน หรือผิวหนังแพ้ง่าย รวมถึงมีอาการที่ดวงตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง หรือคันที่ตา


ถึงแม้สาเหตุของโรคนี้ยังเป็นที่ถกเถียง แต่มีปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคมากมาย ได้แก่ อาหารเผ็ด แอลกอฮอล์ ความเครียด การสัมผัสกับแสงอาทิตย์/รังสียูวี การอาบน้ำร้อนและดื่มเครื่องดื่มร้อน นอกจากนี้ คนที่เป็นโรคโรซาเซียอาจมีเห็บที่ไม่มีอันตราย (Demodex) บนผิวหนังมากกว่าคนทั่วไป


โรคโรซาเซียอาจรุนแรงขึ้นหากไม่รักษา คนที่สงสัยว่าเป็นโรคนี้ควรพบแพทย์ผิวหนังหรือเจ้าหน้าที่สุขอนามัยเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและปรึกษาวิธีการรักษาที่ถูกต้อง โรซาเซียเป็นโรคที่มีอาการเด่นชัด คนเป็นโรคนี้บางคนจึงรู้สึกประหม่า วิตกกังวล อึดอัดใจ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อการใช้ชีวิตในสังคม


โลโก้ - http://mma.prnewswire.com/media/554005/Galderma_Logo.jpg


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  สุขภาพ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม