หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: CEIBS จัดการประชุมกระชับความร่วมมือจีน-ยุโรปกลางและตะวันออก ณ กรุงปราก  (อ่าน 25 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 26 ก.ย. 18, 15:51 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ปราสาทปรากอันเก่าแก่คือสถานที่จัดการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาและสัมฤทธิ์ผล เกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศในยุโรปกลางและตะวันออกในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจไปด้วยกัน การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมราว 200 ท่าน โดยมีการกล่าวสุนทรพจน์จากคุณ Jianmin Zhang เอกอัครราชทูตจีนประจำสาธารณรัฐเช็กคนใหม่, คุณ Jiri Rusnok ผู้ว่าการธนาคารกลางสาธารณรัฐเช็ก, คุณ Jan Kohout ประธานสถาบัน New Silk Road Institute Prague และที่ปรึกษาของประธานาธิบดีสาธารณรัฐเช็ก, ศาสตราจารย์ Li Mingjun ประธาน CEIBS และคุณ Xu Bin ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินจาก CEIBS สำหรับการประชุมครั้งนี้ร่วมกันจัดโดย China Europe International Business School (CEIBS) และ New Silk Road Institute Prague

ในการกล่าวสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในฐานะเอกอัครราชทูตจีนประจำสาธารณรัฐเช็ก คุณ Jianmin Zhang ได้กล่าวถึงความจำเป็นของทั้งสองประเทศในการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิเอกภาคีนิยมและลัทธิกีดกันทางการค้ากำลังแผ่อิทธิพลในบางภูมิภาคของโลก โดยเขากล่าวว่า "สงครามการค้าได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของกลุ่มมหาอำนาจของโลก ส่งผลให้ความไม่แน่นอนปรากฏให้เห็นมากขึ้น ส่วนจีนยึดมั่นในระบบการค้าแบบพหุภาคีและการค้าเสรีเรื่อยมา และเราจะเปิดกว้างสู่โลกภายนอกให้มากขึ้นไปอีก" เขาย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสาธารณรัฐเช็ก "คืบหน้าเป็นอย่างดี" ขณะที่มีข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การลงทุนระหว่างสองประเทศกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนการดำเนินงานขั้นต่อไปจะเป็นการกระชับความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ประเด็นความร่วมมือระหว่างสองประเทศได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงโดยคุณ Jan Kohout อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสาธารณรัฐเช็ก เขาได้กล่าวถึงประโยชน์ที่ได้ปรากฏให้เห็นแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มองว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ พร้อมเสนอแนะขอบข่ายที่ทั้งสองฝ่ายสามารถกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยกล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนจีนจำนวนมากสนใจลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เข้าซื้อบริษัทไอทีและไฮเทค รวมถึงขายสินค้าในภูมิภาคยุโรปกลางและตะวันออกในวงกว้าง "เราคาดหวังเช่นกันว่าจีนจะเปิดตลาดให้กว้างยิ่งขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราต่างมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และเราควรมีความชัดเจนในเรื่องยุทธศาสตร์ระยะยาว เช่นเดียวกับในเรื่องกฎระเบียบและการกำกับดูแล เรามีความคืบหน้ามาโดยตลอด และการประชุมวันนี้จะเป็นเวทีสำคัญที่เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในอนาคตในโครงการต่างๆ เราขอต้อนรับนักลงทุนชาวจีนสู่สาธารณรัฐเช็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขอบข่ายที่กล่าวถึงข้างต้น" นอกจากนี้ เขายังเปิดเผยว่าสาธารณรัฐเช็กต้องการแรงงานคุณภาพสูง รวมถึงสนใจในการบุกตลาดจีน และกล่าวถึงโอกาสในการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างสองประเทศ

คุณ Jiri Rusnok ผู้ว่าการธนาคารกลางสาธารณรัฐเช็ก ได้กล่าวถึงการดำเนินงานระหว่างทั้งสองประเทศ รวมถึงแผนการในอนาคตในด้านการเงิน โดยความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายเกิดขึ้นในปี 2553 จากการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างคณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารของจีน (CBRC) กับธนาคารกลางสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งเป็น MOU ฉบับแรกๆที่ทาง CBRC ได้ลงนามร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลในสหภาพยุโรป จากนั้นความร่วมมือนี้ได้ยกระดับขึ้นในปี 2559 เมื่อมีการผนวกการบริหารจัดการวิกฤตไว้ในขอบข่ายการดำเนินงาน โดยสุนทรพจน์ของคุณ Rusnok ได้สรุปนโยบายบางส่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเงินร่วมกันภายใต้โครงการ Belt & Road Initiative (BRI) ของจีน นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงแนวทางการยกระดับความร่วมมือระหว่างตลาดเงินของทั้งสองประเทศว่า "เราจำเป็นต้องมีระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง เราจำเป็นต้องลดปัจจัยลบเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเราจำเป็นต้องรอบรู้เรื่องการเงินด้วย" เขาได้ยกตัวอย่างประโยชน์ที่เกิดจากระบบ "ควบคุมดูแลแบบบูรณาการ" ของธนาคารกลางสาธารณรัฐเช็ก ซึ่งทำให้สามารถโฟกัสไปที่ความเสี่ยงต่อระบบ การประสานงานด้านการแบ่งปันข้อมูล บริการสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาชีพอันแข็งแกร่ง รวมถึงการตัดสินใจโดยอิสระ นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงการผนวกรวมการกำกับดูแลตลาดเงินและการควบคุมดูแลในระดับชาติ ที่จะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนและผสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับโอกาสในการผนวกรวมการดำเนินงานเชิงวิเคราะห์ด้วย "เรากำลังร่วมมือกับฝั่งจีนในเรื่องของการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ เช่นในเรื่องของเสถียรภาพทางการเงิน ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าเราสามารถทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างกันได้"

สำหรับขอบข่ายความร่วมมือระหว่างจีนกับสาธารณรัฐเช็กที่เป็นไปได้ในอนาคต เขาได้ยกตัวอย่างเรื่องเสถียรภาพทางการเงินและการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) การควบคุมดูแลตลาดสินเชื่อผู้บริโภคและภาคการเงินนอกกลุ่มธนาคาร เช่นเดียวกับนโยบายกำกับดูแลระบบการเงิน (macro-prudential) เพื่อป้องกันภาวะฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ ดำรงเงินกองทุนส่วนเพิ่มให้เพียงพอ และประสานงานด้านนโยบายการเงิน เขายังกล่าวถึงความท้าทายที่อาจกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางวิสัยทัศน์ด้านความร่วมมือ ซึ่งรวมถึง "ความไม่สมดุลอย่างมากของการค้าระหว่างประเทศ" การกำกับดูแลและโครงสร้างผู้ถือหุ้นขององค์กรจีนบางแห่งที่ไม่ค่อยโปร่งใส และกลยุทธ์การลงทุนที่ยังไม่ชัดเจนของนักลงทุนจีนบางราย "ความสัมพันธ์ระหว่างเช็กกับจีนในอนาคตควรเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เราน้อมรับโครงการที่จีนได้ดำเนินการเพื่อเปิดตลาดจีนสู่โลกภายนอก ซึ่งเราเชื่อว่าจะช่วยกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น"




noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม