
ไม่นานมานี้มีการพูดถึง เกี่ยวกับการสัมปทานในสนามบินสุวรรณภูมิ จาก ทอท. ทั้งสัญญาดิวตี้ฟรี และสัญญาบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ ตามสื่อสองสามเจ้า และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม
งานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ทั้งที่ได้มีการตรวจสอบและสอบสวนกันมาหลายรอบแล้ว
ถ้าจะให้เรียงลำดับตั้งแต่ตอนต้นคงจะเป็นเรื่องที่ยืดยาวมาก เลยจะขอสรุปสั้น ๆ ให้เห็นภาพรวม
ก่อนหน้านี้ช่วงปี 2554 เกิดการตรวจสอบ ทอท. กรณีอนุญาตให้กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ฯ เข้าบริหารกิจการร้านค้าปลอดอากร และโครงการบริหารกิจกรรมพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร และขอให้วินิจฉัยว่า โครงการบริหารกิจกรรมพื้นที่เชิงพาณิชย์ เป็นโครงการลงทุนที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท และต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ หรือไม่ ทาง ทอท. ก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาประเมินจากสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาระบุว่าวงเงินลงทุนโครงการร้านค้าปลอดอากรไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จึงไม่อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ
และจากการที่ได้มีการร้องขอให้ไต่สวนการทุจริตภาคการเมือง ป.ป.ช. เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เสียงข้างมากให้ความเห็นว่า ไม่เป็นข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีการหลีกเลี่ยงไม่เป็นธรรม ไม่เป็นไปตามที่กล่าวหา
https://www.thairath.co.th/content/960055
https://thaipublica.org/2016/07/kingpower-4/
จะเห็นได้ว่ามีการตรวจสอบจากทาง ป.ป.ช. และทาง ทอท.จ้างที่ปรึกษาจากสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อประเมิน โครงการ และทาง คิงเพาเวอร์ได้ทำอย่างถูกต้องตาม TOR แล้ว และที่สำคัญทาง ทอท. เองซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ก็ได้เห็นชอบ
การที่ทางสื่อบางเจ้าที่ลุงหยุ่นไม่ได้บริหารแล้ว เอามาเป็นประเด็นทำเป็นข่าว ก็ไม่รู้ว่าโดนกดดันมาจากเบื้องบนคนใหม่หรือเปล่า หรือไม่ก็มีเบื้องลึกกว่านั้น ไม่ใช่แค่ต้องการขายข่าว เพราะดิวตี้ฟรีตอนนี้ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีหลายรายอยากเข้ามาแข่งขัน