หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: มาร่วมรักษ์น้ำ รักษ์โลกไปกับ ซีพีเอฟ  (อ่าน 325 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 14 ส.ค. 18, 14:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

แม้ว่าโลก จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 3 ใน 4 ส่วน แต่ประชากร 1 ใน 5 ของโลกกลับขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค เพราะโลกมีน้ำจืดเพียงร้อยละ 2.5 เท่านั้น ส่วนที่เหลือร้อยละ 97.5 เป็นน้ำเค็ม และที่สำคัญ 2 ใน 3 ของปริมาณน้ำจืดที่มีอยู่ ก็อยู่ในสภาพของน้ำแข็ง หรืออยู่ใต้ดิน ดังนั้นน้ำบนดินที่ปรากฏให้เห็นในแม่น้ำ คู คลอง จึงถือว่าเป็นน้ำส่วนน้อยที่สามารถทำประโยชน์ให้ต่อสิ่งมีชีวิตได้


ดังนั้น ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำ จึงมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น้ำในแม่น้ำหลายสายของโลกลดลง ทำให้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กรสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ UN SDGs) เพื่อเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับนานาชาแห่งสหัสวรรษ โดยเป็นทิศทางของการพัฒนาในปี 2558 - 2573 ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 17 เป้าหมาย


ซึ่ง น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล เป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายที่ทางองค์กรสหประชาชาติให้ความสนใจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทางภาคเอกชนจึงเริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับการวัดค่าการใช้น้ำในการผลิตที่ส่งผลทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่ผู้บริโภค ในทุกขั้นตอนของการผลิตสินค้า และบริการนั้นๆ ทำให้เกิดเป็นระบบ Water Footprint ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจน ให้เห็นถึงปริมาณน้ำที่ใช้ และปริมาณน้ำเสียที่ปล่อยออกมา

วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ ดังนี้


1. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีน้ำเงิน (Blue Water Footprint) คือ ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแหล่งน้ำผิวดินเช่น น้ำในแม่น้ำทะเลสาบรวม ทั้งน้ำในอ่างเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และแหล่งน้ำใต้ดินอันได้แก่ น้ำบาดาล ที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค

2. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเขียว (Green WaterFootprint) หมายถึง ปริมาณ น้ำที่อยู่ในรูปของความชื้นในดินที่ถูกใช้ไปในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตพืชผลทางการเกษตร การทำไม้ และ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

3. วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเทา (Gray Water Footprint) หมายถึง ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งคำนวณจากปริมาณน้ำที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีตามค่ามาตรฐาน

ล่าสุดทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบประกาศนียบัตรเข้าร่วมโครงการประเมินการใช้น้ำบาดาลตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Water Footprint) แก่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้กับโรงงาน 2 แห่ง (โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ สระบุรี และโรงงานอาหารแปรรูป มีนบุรี 2) พร้อมรับมอบฉลากวอเตอร์ฟุตพรินต์ผลิตภัณฑ์ไก่สดและอกไก่นุ่ม นับเป็นบริษัทนำร่องที่ร่วมโครงการเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์การใช้น้ำที่สนองตอบต่อความต้องการด้านความยั่งยืนในระดับโลก


เพื่อการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำของ ซีพีเอฟ จะช่วยให้การประเมินการใช้ทุกขั้นตอนทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สะท้อนความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการทวนสอบความถูกต้องจากหน่วยงานภายนอกเพื่อความโปรงใส และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกทางด้วย
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  cpf  Water Footprint  UN SDGs  ความยั่งยืน 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม