บัตรเทวดา อีลิทการ์ด ล้มเหลวไม่เป็นท่า
อนึ่ง ยังพบข้อมูลอีกว่า เมื่อ 30 พฤษภาคม 2555 นางรวิฐา ได้ถูกตั้งให้เป็นที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) จากเอกอัครราชทูตประจำกรุงบัสเซลส์ อภิชาต ชินวรรโณ และยังได้รับเป็นผู้เข้าร่วมอบรมตามโครงการอบรมหลักสูตรนักบริการการคลัง (นบค.) รุ่น 3 นอกจากนี้ ยังนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร โรงแรมจันทร์คำ บูทีค เชียงใหม่ , ประธานกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เชิดพงษ์ สิริวิชชุ์ เป็นประธานกรรมการ และนางรวิฐายังได้นั่งเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบงบประมาณของกระทรวงคมนาคม โดยมีนายชัยภัทร เศรษฐยุกานนท์ นั่งเป็นประธานฯ
ความโชกโชนในการชวนต่างชาติมาลงทุนของนางรวิฐา นายกสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย ยังเป็นที่น่าสนใจยิ่งนัก เมื่อกะเทาะไปถึงอดีตเมื่อปี 2547 นางรวิฐา พงศ์นุชิต กับ “นายทะนงศักดิ์ หุตานุวัตร” (ประธานบริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด = สถานที่ตั้งร้านค้าปลอดอากรของล็อตเต้ กลุ่มทุนเกาหลีที่มาเช่าพื้นที่เปิดกิจการ) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดูแลบริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจคาร์ด จำกัด (TCP)เจ้าของ “บัตรอีลิตการ์ด”ซึ่งเป็นธุรกิจให้สิทธิประโยชน์แก่สมาชิกต่างชาติ โดย นางรวิฐา ได้รับแต่งตั้งเป็น “ประธานกรรมการบริหาร” ส่วน “นายทนงศักดิ์” เป็น“กรรมการบริหาร”
อนึ่ง นายทนงศักดิ์ ยังเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย คู่หูนางรวิฐาที่ช่วยวางหมากกดดันรัฐบาล และความชุลมุนที่มีเงื่อนงำก็โผล่ขึ้นมาเรื่อย ติดตามตอนต่อไป แล้วจะเห็นถึงเส้นทางชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้ ว่าเหมาะสมแล้วหรือที่ภาครับจะยังให้การสนับสนุนและเชื่อในคำพูดต่อไป...
สำหรับผู้นำอีกหนึ่งคนที่ร่วมกันกับ “นางรวิฐา พงศ์นุชิต” อดีตข้าราชการเกษียน ที่มานั่งกุมบังเหียนให้กับ “สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย” โดยตนเองนั่งเป็นนากสมาคมฯ มีหรือจะไม่ชวน “ทนงศักดิ์ หุตานุวัตร” มาเปิดเส้นทางทำมาหากินเส้นใหม่
ร่วมถือหุ้น นอมินี .. ดิวตี้ฟรีสัญชาติเกาหลี
ปัจจุบัน “นายทนงศักดิ์” เปลี่ยนชื่อเป็น “นายชยดิฐ หุตานุวัชร์” ผันตัวเองมาเป็นประธาน บริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกและผู้นำสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย อีกทั้งยังให้เช่าพื้นที่ “โชว์ ดีซี” เป็น “ร้านค้าปลอดอากร” ให้กับ “บริษัท ล็อตเต้ดิวตี้ ฟรี (ไทยแลนด์) จำกัด” กลุ่มทุนต่างประเทศจากเกาหลี ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เคยประกาศพัฒนาพื้นที่นี้เป็นศูนย์ค้าส่งสินค้าไทย และยังนำบริษัทตัวเองเข้าเป็นหนึ่งในการร่วมทุนจัดตั้งบริษัท ล็อตเต้ฯ อีกด้วย กล่าวคือ บริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด มี บริษัท เออีซี แคปปิตอล จำกัด ถือหุ้นใหญ่ และมีบริษัท ภูตรา คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่มีชื่อนางรวิฐาถือหุ้น 22.50%

นอกจากปี 2547 ที่นายชยดิฐ ได้ประจำการเป็นกรรมการบริหาร บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจคาร์ด จำกัด พร้อมกับนางรวิฐาที่เป็นประธานกรรมการบริหารแล้ว ในปีเดียวกันยังได้เพิ่มอีกหนึ่งตำแหน่ง คือ “กรรมการบริหาร” บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์แอร์ กราวนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS) ซึ่งเป็นของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทอท.” ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่ทำธุรกิจบริการต่าง ๆ สนามบินนานาชาติ
โอนหุ้นไปบริติชเวอร์จิ้น จนโดนฝ่ายค้านอภิปราย
แต่ความมาแตกโพละตอนปี 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลการทำงานของนายชยดิฐ จึงส่งเรื่องไปยังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีมีความเกี่ยวพันกับความเสียหาย “โอนเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ” ไปต่างประเทศในชื่อ “DETEX” ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่แจ้งจดทะเบียนบนเกาะ บริติชเวอร์จิ้น อีกทั้งการโอนเงินก็ไม่ขออนุมัติที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) TAGS และยังได้แก้ไขบันทึกการประชุมจนเกิดปัญหากับผู้ถือหุ้นเดิมมีทั้งกลุ่มสายการบินนานาชาติระดับโลก และ บริษัท เวิลด์ แทรเวล เซอร์วิส จำกัด ของนายกุศะ ปันยารชุน
แล้วบริษัท DETEX จำกัด เกี่ยวกับนายชยดิฐ? เกี่ยวกันตรงที่มีชื่อเป็น “ผู้ก่อตั้งและเป็นกรรมการบริษัทในเครือข่าย DTEX” นายอลงกรณ์ชี้ให้เห็นว่า มีพรรคพวกของนายทะนงศักดิ์เป็นกรรมการ และหนึ่งในกรรมการถือหุ้นร่วมกับบริษัท โฟว์บลิชเชอร์ จำกัด (สิงคโปร์) ที่ใช้เงิน TAGS โอนไปเข้าบัญชีDETEX จากนั้นบริษัทนี้ก็แนะนำกลุ่มทุนสิงคโปร์นำเงินล็อตใหญ่มาซื้อหุ้น TAGS ไปครอง อีกทั้ง กลุ่มคนที่มีชื่อเป็นกรรมการใน DETEX ต่างก็รับโอนเงินจาก TAGS นำ บริษัท โฟว์บลิชเชอร์ฯ เข้ามาซื้อกิจการ TAGS ในจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับเงินที่โอนไปอย่างน่าชวนสงสัย
อนึ่ง กิจการ TAGS ของ ทอท.ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่และเคยรุ่งเรืองต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย ขณะที่อีลิตการ์ดที่ใช้เงินทุนไปกว่า 2,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีอาการทรงๆ เพราะไม่สามารถปิดอีลิตการ์ดได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ชื่อนายชยดิฐ (ขณะนั้นเดิมชื่อนายทนงศักดิ์) ยังปรากฏอยู่ใน คำพิพากษาฎีกาที่ 3111/2554 โดยสรรพากรเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องจำเลยคือ บริษัท เซ็นทรัลพาราวู้ด จำกัด กับพวก ข้อหาเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการผลิตและส่งออกเฟอร์นิเจอร์ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรไว้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี 1 สาขาชลบุรี ค้างชำระภาษีอากรกรมสรรพากรแต่จำเลยที่ 1 คือ “นายชยดิฐ” ได้โอนขายกิจการภายหลังมูลค่า 50 ล้านบาท ระหว่างต่อสู้คดียังฎีกาว่า การโอนขายโดยสุจริตตามแนวทางปกติทางการค้า รวมทั้งฟ้องโจทก์ (กรมสรรพากรฯ) ว่าโจทก์ฟ้องโดยขาดอายุความหรือไม่ ผลตัดสินพิพากษาโจทก์(กรมสรรพากร) ชนะและให้จำเลยจ่ายค่าทนายชั้นฎีกาแทนโจทก์
เส้นทางชีวิตนายชยดิฐ ก็ไม่ต่างอะไรกันกับนางรวิฐาที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน (จนคิดว่าใครกันที่จะกล้ามาร่วมงานด้วย ถ้าไม่ใช่คนที่มีแนวคิดแบบเดียวกัน!!?)
ไม่เพียงแต่ นายชยดิฐ ที่เข้าไปร่วมวงศาคณาญาติกับสมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทยที่มีนางรวิฐาเป็นนายกสมาคมฯ นั้น แต่ยังประกอบด้วย บริษัท เซ็นทรัลดิวตี้ ฟรี ช็อปส์ จำกัด , บริษัท จี เอ็มเอสดิวตี้ ฟรี ช็อปส์ จำกัด (มีผู้ร่วมคือ เดอะมอลล์, ชิลล่า,เจมส์แกลอรี่) และ บริษัท ลอตเต้ดิวตี้ ฟรี (ไทยแลนด์) จำกัด (มีผู้ถือหุ้นคือ ล็อตเต้ดิวตี้ ฟรี (สิงคโปร์) พีทีอี ลิมิเต็ด, บจ.แอบแอนด์เอส (ประเทศไทย) และ บจ. โชว์ แอสเซท แมเนจเม้นท์)