หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: “ ขายสมบัติชาติ ” อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ต้องชี้แจง  (อ่าน 99 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 7 ส.ค. 17, 15:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
ขายสมบัติชาติ ” อีกหนึ่งความเข้าใจผิดที่ต้องชี้แจง
 
จากข่าว “ซาอุดิอาระเบียเตรียมขายหุ้น IPO ของ Aramco” กลับมามองย้อนถึงสถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่มีการแปรรูป ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็มักถูกกลุ่มคนที่พยายามปลุกระดมความคิดทางการเมือง เชื่อมเรื่องราวให้เข้าใจผิดว่าเป็นการ “ ขายสมบัติชาติ ” อยู่เสมอ โดยไม่มองว่าหลังการแปรรูป รัฐหรือประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการแปรรูปในครั้งนั้น
 

พาย้อนกลับไปในปี 2544 ได้มีการจัดจำหน่ายหุ้น บมจ. ปตท. ซึ่งแปรสภาพมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำนวน 920,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 35 บาท รวมมูลค่า 32,200,000,000 บาท เพื่อระดมทุนด้วยเหตุผล สำคัญ 3 ข้อ คือ

1.ปตท. ต้องการเงินทุน เพื่อไปแก้ไขปรับสถานการณ์การเงินบริษัทในเครือทั้งหลาย การที่ ปตท. ระดมทุนในครั้งนี้ถือเป็นผลดีต่อรัฐ เพราะผลกำไรที่เกิดจากบริษัทในเครือก็มีผลต่อบริษัทแม่ และปันผลเป็นรายได้สู่รัฐ โดยที่รัฐไม่ต้องควักเงินลงทุนและถือความเสี่ยงเพิ่ม ซึ่งในเวลานั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจในยุค IMF รัฐยังขาดสภาพคล่องทางการเงิน

2.ปตท. มีโอกาสที่จะได้ลงทุนในอุตสาหกรรมการกลั่น และปิโตรเคมีที่บอบช้ำหนักหลังวิกฤติ ทำให้ราคาถูก อีกทั้งรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาให้ได้ ปตท. จึงจำเป็นที่จะต้องระดมทุนเพื่อนำเงินไปซื้อโรงกลั่น นั่นหมายความว่ารัฐที่ถือหุ้นใหญ่ใน ปตท. สามารถเป็นผู้กำหนดนโยบายของโรงกลั่น และควบคุมราคาพลังงาน ให้สอดคล้องกับต้นทุนและราคาที่เป็นธรรมกับประชาชน (คำว่าราคาที่เป็นธรรมไม่ได้แปลว่าราคาถูกแบบไม่ลืมหูลืมตา) โดยที่รัฐก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย

3.รัฐบาลหวังว่า การจำหน่ายหุ้น IPO ปตท. ที่มีขนาดใหญ่ จะปลุกความสนใจในตลาดหุ้นไทยให้กลับมาได้ เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่สำหรับใครที่มีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจจะเข้าใจว่า การที่ตลาดหุ้นตกต่ำนั้นกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ นักลงทุนให้ความสนใจน้อยลง เงินเข้าประเทศน้อยลง รัฐเก็บภาษีจากการทำธุรกิจต่างๆ ได้น้อย ทั้งยังมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศด้วย

จากผลดังกล่าวจะเห็นว่า การที่ ปตท. แปรรูปเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นั้นมีผลต่อรายได้รัฐและเศรษฐกิจของประเทศโดยตรง โดยที่รัฐไม่ต่างจากเสือนอนกิน ที่ไม่ต้องหาเม็ดเงินมาลงทุนในช่วงที่ประเทศรัดเข็มขัด หรือถือความเสี่ยงต่อการลงทุนใดๆ เพิ่มเติม โดยผลจากการแปรรูปในครั้งนั้น จะเห็นว่ารัฐสามารถเก็บรายได้หลังจากการแปรรูปมากขึ้น ทั้งในรูป ภาษีเงินได้และเงินปันผล แล้วมันคือการ ขายสมบัติชาติ หรือไม่? ติดตามอ่านเรื่องราวฉบับเต็มได้ที่ http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/tag/ขายสมบัติชาติ/
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ขายสมบัติชาติ  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม