หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: กรวัฒน์ เจียรวนนท์ แห่ง EKO กับเป้าหมาย Startup ไทยเจาะตลาดโลก  (อ่าน 62 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 12 เม.ย. 16, 08:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


ชื่อของ กรวัฒน์ เจียรวนนท์ ไม่ได้มีดีแค่อยู่ในตระกูลนักธุรกิจเจ้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP และ ทรู คอร์ปอเรชั่น แต่ กรวัฒน์ คือผู้ที่ก่อตั้ง EKO Corporation ขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองล้วนๆ จากจุดกำเนิดใน Silicon Valley ด้วยเงินทุนจาก Incubator เริ่มต้นที่ 20,000 เหรียญ เกือบจะล้มเหลวก็หลายครั้ง จนปัจจุบัน EKO เป็น Startup ที่ให้บริการกับบริษัทและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในประเทศ และต่างประเทศ


บอกได้ว่า กรวัฒน์ เป็นหนุ่มใหญ่แห่งครอบครัวเจียรวนนท์ที่กำลังเริ่มต้นสร้างอาณาจักรธุรกิจของตัวเองได้อย่างน่าสนใจที่สุด Marketingoops ได้มีโอกาสนั่งคุยแบบเป็นกันเอง และได้สัมผัสความไม่ธรรมดาของหนุ่มคนนี้ และต่อไปนี้คือ สิ่งที่สะท้อนออกมาจากรุ่นที่ 3 แห่งตระกูลเจียรวนนท์



เติบโตขึ้นมากับ Startup และหลงใหลใน Startup
EKO เกิดขึ้นจากความหลงใหลใน Startup ของ กรวัฒน์ ซึ่งพอจับต้นสายปลายเหตุแล้ว กรวัฒน์ เกิดขึ้นมาจากครอบครัว Startup ของแท้ (แม้จะยังไม่มีเทคโนโลยีให้ใช้มากนักในเวลานั้น) เพราะ CP ก็เริ่มต้นมาจาก ธนินทร์ เจียรวนนท์ ก่อนที่จะยิ่งใหญ่เช่นในปัจจุบัน หรือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็เกิดขึ้นจาก ศุภชัย เจียรวนนท์ ทำให้ กรวัฒน์ สนใจที่จะสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมาเช่นเดียวกัน

กรวัฒน์ เล่าว่า มีกฎของครอบครัวที่ลูกหลานต้องปฏิบัติตามนั่นคือ ลูกหลานทุกคนห้ามทำงานกับบริษัทในเครือของครอบครัว และต้องออกมาหาความสำเร็จด้วยตัวเองจากข้างนอก และเมื่อประสบความสำเร็จแล้ว หากจะเข้ามาสานต่อกิจการในเครือ ก็ห้ามเข้ามาอยู่ในบริษัทที่มีรายได้อยู่แล้ว คุณปู่ (ธนินทร์) กำหนดกฎนี้ขึ้นมาเพราะต้องการให้ลูกหลานรักษา Spirit of Entrepreneurship ไว้อย่างเข้มแข็งในทุกรุ่น

ดังนั้น ในการสร้างและดำเนินธุรกิจของ EKO มีหลายครั้งที่เกือบล้มเหลว มีหลายครั้งที่เกือบจะยอมแพ้ แต่ด้วยคำสอนของคุณพ่อ (ศุภชัย) ทำให้ได้เรียนรู้และทำให้แข็งแกร่งขึ้น และฝ่าฟันอุปสรรคมาได้ จนวันนี้ EKO สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างชัดเจน และพร้อมสำหรับการขยายตลาดไปทั่วโลก


เก้าอี้ซ้ายมือคือจุดที่ CEO ของ EKO นั่งทำงาน
EKO Communication platform สำหรับองค์กรยุคใหม่
การเริ่มต้นของ EKO นั้นเกิดจากการมองเห็น คนใช้แอพพลิเคชั่นแชทกันอย่างแพร่หลายทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เช่น LINE, Whatsapp และ Messenger แต่จุดอ่อนของแอพเหล่านี้คือ การไม่แยกเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัวออกจากกัน ซึ่งตามปกติเรื่องงาน จะมีความลับทางธุรกิจ มีฟังกชั่นการทำงานที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทต่างๆ ขณะที่เรื่องส่วนตัว ก็ต้องการความสนุกสนาน ต้องการสีสัน และการใช้งานที่เป็นส่วนตัว

กรวัฒน์ จึงตัดสินใจพัฒนาแอพพลิเคชั่น EKO ขึ้นมา มีการเรียนรู้ ปรับปรุง จนในที่สุดปลายปี 2013 จึงได้ความชัดเจนว่า EKO คือ Communication platform สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และทำให้ได้เงินทุน Seed round จำนวน 1 ล้านเหรียญจาก 500startups ขยายทีม พัฒนาบริการได้ดี กระทั่งปี 2015 ได้รับทุนรอบ SerieA จาก Gobi Partners ซึ่งเป็นVC อันดับต้นๆ จากประเทศจีน จำนวน 5.7 ล้านเหรียญ และตัตสินใจกลับมาพัฒนาบริการที่ประเทศไทย เพราะเห็นว่าโอกาสใน Asia มีมากกว่าอเมริกา

“ในชีวิตประจำวันทุกคนใช้ LINE, Whatsapp หรือ Messenger ได้ แต่ที่องค์กรยังไม่มีบริการที่ชัดเจน และ EKO กระโดดเข้ามาทำ และมองตลาดทั่วโลกตั้งแต่เริ่ม เมื่อวิสัยทัศน์ดี บริการดี และโอกาสการตลาดชัดเจน จึงได้เงินทุนจาก VC”


Asia ภูมิภาคที่เหมาะสำหรับ Startup ด้วยแนวคิด Mobile First
จากประสบการณ์ที่เรียนระดับไฮสคูลมาจากอเมริกา และเริ่มต้นธุรกิจ Startup ที่นั่นทำให้ กรวัฒน์ รู้ว่าวัฒนธรรมการทำงานของอเมริกันยังไม่มีความเป็น Mobile มากนัก เพราะยังติดกับการทำงานแบบเดิมๆ อยู่มาก ขณะที่ภูมิภาค Asia ประชาชนมีแนวคิดแบบ Mobile First มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด



ดังนั้นการย้ายกลับมาประเทศไทยจะเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจให้กับ EKO ได้อย่างมหาศาล ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทชั้นนำหลายแห่งใช้บริการของ EKO อยู่ โดยที่พนักงานไม่รู้เลย เช่น ธนาคารกรุงเทพ, ทรู คอร์ปอเรชั่น, การบินไทย, โตโยต้า และ ทีโอเอ รวมถึงอยู่ระหว่างการเตรียมเปิดบริการกับธนาคารไทยพาณิชย์ ขณะที่ตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย ซึ่งยอดขายส่วนใหญ่มาจากนอกประเทศ

ด้วยการขยายตัวที่รวดเร็ว EKO เพิ่มกำลังคนจาก 10 คนเป็น 40 คน และจะเพิ่มเป็น 80 คนภายในปลายปีนี้ พิสูจน์ว่าครึ่งหลังของปี 2016 EKO จะขยายตัวอีกมาก โดยเฉพาะการเตรียมบุกตลาดจีนในปีนี้ อีกทั้งกำลังมองตลาดยุโรปซึ่งมีโอกาสอีกมาก

กรวัฒน์ ยอมรับว่า การทำตลาดเป็นเรื่องที่ยาก ใช้เวลานาน และเริ่มต้นได้ช้า เพราะลูกค้าเป็นองค์กรขนาดใหญ่ การตัดสินใจเลือกบริการจะต้องมั่นใจว่าดีจริงและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกว่าจะได้ลูกค้าแต่ละรายต้องสร้างความเชื่อมั่นอย่างยิ่ง โดยมี ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นลูกค้ารายแรกที่ใช้บริการ และพิสูจน์ว่ามีคุณภาพจริงๆ ช่วยให้การขยายตลาดในไทยมีความเป็นไปได้มากขึ้น ขณะที่ลูกค้าต่างประเทศจะเน้นหาพันธมิตรช่วยเจาะลูกค้าองค์กรรายใหญ่เป็นจุดเริ่ม จากนั้นการขยายจะทำได้ไม่ยากนัก




ที่มา อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.marketingoops.com/news/tech-update/korawad-eko-interview/
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม