ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3 ใน 4 ส่วน ล้วนเป็นการใช้ไปกับบริการด้านการรักษาพยาบาล ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพมีเพียงร้อยละ 5 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมเท่านั้น
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ชี้ให้เราเห็นว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยเฉพาะค่ายาและค่ารักษาพยาบาล ต่อค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั้งหมด (GDP) นั้น มีแต่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
หมายเหตุ * ราคาปีฐาน หมายถึง การคัดมูลค่าผลผลิตที่ผลิตขึ้นภายในประเทศทั้งหมด แต่จะคำนวณมูลค่าโดยใช้ราคาปีใดปีหนึ่งเป็นฐาน (ในที่นี้ใช้ปี 2531 เป็นปีฐาน)
* ราคาปีปัจจุบัน หมายถึง การคิดมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศทั้งหมดในรอบ 1 ปี โดยใช้ราคาปีปัจจุบันเป็นตัวคำนวณมูลค่า
เมื่อคิดคำนวณเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายในครัวเรือนแล้ว พบว่าในปีหนึ่งๆ เราต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไปถึงปีละ 6 – 7 เปอร์เซ็นต์ จากค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด (ปี พ.ศ. 2555 คิดเป็น 7.1 เปอร์เซ็นต์) ที่สำคัญ นอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลรักษาสุขภาพแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ที่ต้องสูญเสียไปในแต่ละวันที่เจ็บป่วย ไม่สามารถทำงานได้ ก็ถือว่าเป็นรายจ่ายที่เป็นภาระมากทีเดียว โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ กลุ่มธุรกิจ SME ฯลฯ ที่การขาดงานในแต่ละวันหมายถึงรายได้ที่หายไป การเจ็บป่วยจึงนับเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทบต่อการเลี้ยงชีพมากที่สุด
นอกจากการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอแล้ว การวางแผนทำประกันชีวิตก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด! โดยเฉพาะคนวัยทำงานหรือเสาหลักของครอบครัว ที่การล้มเพียงครั้งเดียวอาจส่งผลรุนแรงเกินกว่าที่คาดคิด
สนใจข้อมูล สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนไทยประกันชีวิต หรือ โทร 1124
Credit : นิตยสาร ผาสุก ฉบับที่ 182 มกราคม-เมษายน 2557 ( www.thailife.com)
ดังตารางด้านล่างนี้