หลักสูตรการบริหารจัดการนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดและมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตร “การบริหารจัดการนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” โดยมี ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองเลขาธิการ ปฏิบัติหน้าที่แทน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และรศ.ดร.สมหมาย ปรีเปรม รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมและหอการค้าในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ร่วมเป็นสักขีพยานแสดงความยินดีแก่ผู้สำเร็จการฝึกอบรมทั้งหมด 30 ท่าน เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมพูลแมน ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น ซึ่งการจัดอบรมในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าหลักสูตร“การบริหารจัดการนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน” จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดทำนโยบายและแผนซึ่งสังกัดอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย นครพนม สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด มีความรู้ความเข้าใจและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในมิติของการบริหารจัดการหน่วยงาน ทั้งเชิงนโยบายและภาคปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยการอบรมหลักสูตรประกอบไปด้วยการรับฟังบรรยาย โดยวิทยากร การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม การดูงานทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กรณีศึกษาจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ผลที่ได้รับจากหลักสูตรนี้ทำให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่งเสริมนวัตกรรมสีเขียว ของหน่วยงานอย่างบูรณาการ เพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน นายวีระพงศ์ จงปติยัตต์ ประธานรุ่น รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็นเนอร์ยี ซิสเต็มส์ จำกัด กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เข้าอบรมในหลักสูตร Green Innovation ว่า พวกเราได้ไปดูงานหลักๆ 4 ที่ คือ Brisbane City Council ดูถึงการจัดการขยะ ดูถึงความสำคัญของการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางคือครัวเรือน ให้แยกขยะ 1. Recycle เช่น กระดาษ กล่องกระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อลูมิเนียม 2.ขยะเศษอาหารในครัวเรือและใบไม้แห้ง 3.ขยะทั่วไป ขยะ recycle ก็จะมีรถเก็บขยะมทาเก็บ แบกโดยคน และเครื่องจักรแยกเป็นวัตถุ recycle ประเภทเดียวกันก่อนที่จะผลิตเป็นสินค้าที่ทำจากวัสดุ recycle นั้น ๆ เช่น ทำกล่องกระดาษ นำขวดแก้วมาล้างใหม่ ขยะเศษอาหารในครัวและใบไม้แห้งก็นำมาหมักนำปุ๋ย ขยะทั่วไปก็นำมาอัดฝังกลมในหลุม ฉีดน้ำลึก 36 เมตร วางท่อเดินแก๊สชีวมวล สถานที่ 2 ที่ได้ไปคือการจัดการจราจรที่ Brisbane City ผ่านกล้องวงจรปิดกว่า 250 ตัวทั้งกลางวันและกลางคืน สถานที่ 3 การขนส่งสาธารณะที่เชื่อมโยงกันระหว่าง รถไฟ รถเม เรือ ในเมือง Brisbaneและ มหาวิทยาลัย Queensland ที่มีประสิทธิภาพและที่ 4 บริษัท LGI ที่ผลิตไฟฟ้าจากแก๊สชีวภาพจากบ่อขยะและขายไฟฟ้าคืนการไฟฟ้า ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้อง การ Recycle ขยะ การสร้างจิตสำนึกของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแง่ของ PMP การจัดทำกิจกรรมหรือรณรงค์เรื่องใดให้สำเร็จนั้น จะต้องเริ่มจากผู้บริหารโครงการ การจัดทำแผนอย่างชัดเจน ชี้วัดได้ ติดตามผลได้ มีงบประมาณและบุคลากรที่ทำงานอย่างทุ่มเทและต่อเนื่อง อีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดคือการรณรงค์ให้มีการขี่จักรยานมากขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือการหางบประมาณมาสร้าง Bike Lane ให้ปลอดภัยและสวยงามก่อน มี Routh ของ Bike way ที่ทั่วถึง ,มีไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน มีทิวทัศน์ จุดพักและจุดจอดที่ปลอดภัย รวมถึงการผลิตไฟฟ้าจากแก๊สชีวมวลเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ถ้าศึกษาถึง E Generator Methodology ที่มีราคาไม่แพง ทำให้อำเภอมีงบประมาณที่จะจัดหาได้ มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น
นายธนวิทย์ คงสุริยะ รองประธานรุ่น รองประธานหอการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู เจ้าของกิจการ เคยู ซัพพลาย และ พีเอ็นพี อาพาร์ทเม้นท์ กล่าวถึงความรู้สึกว่า ประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ทำให้รู้จักการทำแผนยุทธศาสตร์ สามารถคนหาความต้องการและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนได้จากการทำ SWOT เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน กับเพื่อนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และ ภาคเอกชน ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านต่างๆอย่างใก้ลชิด ได้ศึกษาเรียนรู้ วิทยาศาตร์ เทคโนโลยี จากประสบการณ์จริง โครงการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปบอกต่อกับสมาชิกหรือกรรมการหอการค้า ที่สนใจในการลงทุนได้ เช่น การแปรรูปแป้งมันเป็น ethanol การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ฯลฯ นายธนวิทย์กล่าวต่อว่า จะนำความรู้จากการอบรมไปพัฒนาองค์กร โดยนำวิธีการทำ SWOT มาใช้ในองค์กรหอการค้า เพื่อพัฒนาองค์กรและสมาชิกสามารถค้นพบตัวตนของตนเอง ทำให้รู้ถึงปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่นการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน การจัดารขยะอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแนะนำให้กรรมการหอการค้า สมาชิกหอการค้านำไปใช้ได้จริง และสร้างอาชีพสร้างรายได้ เช่น การใช้พลังงานจากแก๊สชีวภาพ การคัดแยกขยะ re-used ,re-duce ,re-cycle ถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจ นำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
โครงการ PMP เป็นโครงการที่ดี ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งระดับจังหวัดและท้องถิ่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของ วทน. ในการพัฒนาประเทศ เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานได้ทำความรู้จัก วทน. มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีมมากขึ้น