เตือนเอาไว้
|
อันที่จริงเรื่องบ่อนกาสิโนนี่ คิดอีกทีไม่น่าขัดแย้งหรอก ก็ให้ทำไปสิเขาอยากลอง อาจจะร้องไม่น่ามาทำเลย
เพราะที่ไทยไม่เหมือนกับที่อื่น อยากหยิบยื่นอะไรไม่เมินเฉย หากไม่ดีมีหรือจะปล่อยเลย ไม่เห็นว่าจะนิ่งเฉยสักกะที
หากไม่ลองไม่รู้หรอกต่างชาติ หากหาญกล้าก็มาอย่าขัดนี่ เขาก็คงรู้หลอกว่าในท่าที ของคนไทยประเทศนี้เป็นเยี่ยงใด
แต่หากยังขืนดื้อดึงขคุณทำ อยากตอกย้ำจะระกำมากแค่ไหน เขาก็ย่อมได้รู้อยู่แก่ใจ กาลเวลาจะบอกได้ในไทยเอย.
อยากจะบอกมาลงทุนในเรื่องนี้ ก็มาสิอยากจะลองใคร่เฉลย เทพีสันติภาพมีมากเลย ถือคบเพลิงไม่นิ่งเฉยเปรียบเปรยเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
คิดไกลๆ
|
|
|
|
|
![]() |
|
ป่าลั่น
|
เนื้อเพลง : ป่าลั่น ศิลปิน : สุเทพ วงศ์กำแหง ดนตรี 9 Bars..7...8... 9...เมื่อ อาทิตย์อุทัย ส่อง ทั่วท้องถิ่นไพร โลก แจ่มใสอีกครา เหม่อมองนกโผบิน แว่วธารรินไหลหลั่ง ป่าลั่นดังสะท้านใจ แดด ส่องฟ้า เป็นสัญญา วันใหม่ พวกเรา แจ่มใส เหมือนนกที่ออก จากรัง ต่างคน รักป่า ป่าคือ ความหวัง เลี้ยงชีพ เรายัง ฝังวิญญาณ นานไป ตื่น เถิดหนา อายนกกา มันบ้าง แผ่นดิน กว้างขวาง ถางคนละมือ ละไม้ รอยยิ้ม ของเมีย ชะโลม ฤทัย ซับเหงื่อผัวได้ ให้เราจง ทำดี เสื้อ ผ้าขี้ริ้ว ปลิวเพราะแรง ลมเป่า กลิ่นไอ พวกเรา เขาคงจะเดิน เมินหนี คราบใด ไหนเล่า เท่าคราบ โลกีย์ เคล้าอเวจี หามีใคร เมินมัน โลก จะหมอง ครองน้ำตา ยามเศร้า แบ่งกัน ว่าเขา และเราเศร้าจริง ใจฉัน ป่ามี น้ำใจ ใสแจ่ม ทุกวัน รักป่า ไหมนั่น เมื่อป่าลั่น ความจริง ดนตรี 4 Bars..2...3... 4.แดด ส่องฟ้า เป็นสัญญา วันใหม่ พวกเรา แจ่มใส เหมือนนกที่ออก จากรัง ต่างคน รักป่า ป่าคือ ความหวัง เลี้ยงชีพ เรายัง ฝังวิญญาณ นานไป ตื่น เถิดหนา อายนกกา มันบ้าง แผ่นดิน กว้างขวาง ถางคนละมือ ละไม้ รอยยิ้ม ของเมีย ชะโลม ฤทัย ซับเหงื่อผัวได้ ให้เราจง ทำดี เสื้อ ผ้าขี้ริ้ว ปลิวเพราะแรง ลมเป่า กลิ่นไอ พวกเรา เขาคงจะเดิน เมินหนี คราบใด ไหนเล่า เท่าคราบ โลกีย์ เคล้าอเวจี หามีใคร เมินมัน โลก จะหมอง ครองน้ำตา ยามเศร้า แบ่งกัน ว่าเรา และเราเศร้าจริง ใจฉัน ป่ามี น้ำใจ ใสแจ่ม ทุกวัน รักป่า ไหมนั่น เมื่อป่าลั่น ความจริง 
|
|
|
|
![]() |
|
รักป่าไทย
|
|
|
|
|
![]() |
|
หวงไทย
|
q*064qเนื้อเพลง: หวงไทย ศิลปิน: เท่ห์ อุเทน อัลบั้ม: ของขวัญจากกาลเวลา 1
ของของไทย ของไทยก็ห่วง ของไทยใครก็ต้องหวง ห่วงใยรักใคร่ถนอม ใครจะชิงของไทยใครยอม ถึงจนอดออมไม่ยอมขายให้ใคร รักของไทย ของไทยก็ห่วง รักไทยไทยก็ต้องหวง ห่วงคนรักดั่งดวงใจ ใครจะยอมยกไปให้ใคร รักไทยก็ไทยต่างหวงไว้ครอบครอง
ไทยเป็น ของรักของหวงที่ห่วงอาลัย ไทยเป็นดวงใจ ฉันจึงห่วงใยใฝ่ปอง กายและใจของไทยต่างเป็นเจ้าของ หากไม่ครอบครองเดี๋ยว ของรักต้องหลุดลอยไป รักจริงถึงห่วง ไม่ใช่หลอกลวงรักจริงถึงห่วงประเทศไทย(ดวงใจ) จะเป็นจะตาย ก็ไม่ยอมให้ใคร แม้ใครชิงแย่งไป ฉันยอมตายเอย
ไทยเป็น ของรักของหวงที่ห่วงอาลัย ไทยเป็นดวงใจ ฉันจึงห่วงใยใฝ่ปอง กายและใจของไทยต่างเป็นเจ้าของ หากไม่ครอบครองเดี๋ยว ของรักต้องหลุดลอยไป รักจริงถึงห่วง ไม่ใช่หลอกลวงรักจริงถึงห่วงประเทศไทย(ดวงใจ) จะเป็นจะตาย ก็ไม่ยอมให้ใคร แม้ใครชิงแย่งไป ฉันยอมตายเอย  
|
|
|
|
![]() |
|
หวงไทย
|
q*064qเนื้อเพลง: หวงไทย ศิลปิน: เท่ห์ อุเทน อัลบั้ม: ของขวัญจากกาลเวลา 1
ของของไทย ของไทยก็ห่วง ของไทยใครก็ต้องหวง ห่วงใยรักใคร่ถนอม ใครจะชิงของไทยใครยอม ถึงจนอดออมไม่ยอมขายให้ใคร รักของไทย ผองไทยก็ห่วง รักไทยไทยก็ต้องหวง ห่วงคนรักดั่งดวงใจ ใครจะยอมยกไปให้ใคร รักไทยก็ไทยต่างหวงไว้ครอบครอง
ไทยเป็น ของรักของหวงที่ห่วงอาลัย ไทยเป็นดวงใจ ฉันจึงห่วงใยใฝ่ปอง กายและใจผองไทยต่างเป็นเจ้าของ หากไม่ครอบครองเดี๋ยว ของรักต้องหลุดลอยไป รักจริงถึงห่วง ไม่ใช่หลอกลวงรักจริงถึงห่วงประเทศไทย(ดวงใจ) จะเป็นจะตาย ก็ไม่ยอมให้ใคร แม้ใครชิงแย่งไป ฉันยอมตายเอย
ไทยเป็น ของรักของหวงที่ห่วงอาลัย ไทยเป็นดวงใจ ฉันจึงห่วงใยใฝ่ปอง กายและใจผองไทยต่างเป็นเจ้าของ หากไม่ครอบครองเดี๋ยว ของรักต้องหลุดลอยไป รักจริงถึงห่วง ไม่ใช่หลอกลวงรักจริงถึงห่วงประเทศไทย(ดวงใจ) จะเป็นจะตาย ก็ไม่ยอมให้ใคร แม้ใครชิงแย่งไป ฉันยอมตายเอย 
|
|
|
|
![]() |
|
ใจเป็นสุข
|
เสาร์อาทิตย์นี้ไซร้ไทยคงสุข หมดความทุกข์เรื่องน้ำไปได้หนา ให้รับฝนที่จะตกกันลงมา ด้วยเพราะท่านเทวดาท่านเห็นใจ
คงจะมีน้ำท่าที่มากอยู่ ให้รับรู้เรื่องใช้ต้องประหยัดได้ เราก็คงจะชินเรื่องเข็ญใจ ทุกข์เรื่องน้ำคงทนได้ในไทยเรา
ต่อแต่นี้ก็คงจะค้นพบ ว่าเรื่องทั้งหมดเราขลาดเขลา ไม่รู้ทันต่างชาติวินาศเรา เรื่องก็เศร้าเยี่ยงนี้ที่ผจญ
ก็ขอให้ตระหนักในวันนี้ เราป่นปี้เพราะไม่มีซึ่งเหตุผล ไปเชื่อฟังคนอื่นจึงทุกข์ตรม เรามีดีมากล้นไม่ฟังกัน
ก็ขอให้คิดดีทำดีเถิด เรื่องที่เกิดคิดว่าทำกุศล ให้อภัยทุกอย่างทุกตัวตน ที่เป็นคนบ่อนทำลายประเทศไทย
ก็ขอให้ผลบุญที่ผองเรานี้ ที่ก่อดีรักประเทศอันยิ่งใหญ่ ขอให้ผลความดีจงมีชัย ชนะไซร้ทุกสิ่งได้ในไทยเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
กลับตัวได้!
|
|
|
|
|
![]() |
|
คิดไกลๆ
|
ประชาธิปไตยในไทยนี้ คิดให้ดีเป็นเรื่องน่าคิดไหม ก็เป็นแค่กลุ่มคนซึ่งเป็นไทย ต้องการได้ตามใจที่คิดกัน
แต่ไม่คิดถึงโทษที่จะเกิด ต้องชูเชิดประเทศไทยให้คิดสรรค์ ว่าจะทำเยี่ยงใดรู้เท่าทัน ประเสริฐนั้นคือคิดประดิษฐ์เมือง
หากจะเอาแต่ใจตนเองเป็นที่ตั้ง ส่วนรวมนั้นไม่เดือดร้อนมีแต่เรื่อง ก็มิใช่สิ่งที่จะประเทือง ปัญญาเฟื่องแต่ประเทศก็ฟั่นเฟือน
ก็ขอให้คิดให้ดีก่อนทำนั่น ประเทศเราจะช้ำกันไหมเพื่อน ที่ผ่านมาก็มีแต่เลอะเลือน เป็นเลื่อนเปื้อนลื่นไหลไร้จุดยืนเอบ 
|
|
|
|
![]() |
|
คิด คิด คิด
|
การขุดเจาะน้ำบาดาลไม่ควรทำ แต่ต้องย้ำความช่วยเหลือเบื้องต้นนี้ เราก็ต้องแก้ไขกระไรมี ให้เป็นที่ประทังความเดือดร้อนกัน
แต่มิใช่ตั้งหน้าตั้งตาสูบ จะหมดรูปแผ่นดินจะยุบนั้น ก็เรื่องจริงที่เป็นสิ่งประจักษ์กัน การช่วยเหลือเบื้องต้นนั้นทำเยี่ยงใด
ก็ขอให้คิดสรรค์ฉับพลันเถิด ให้มันเกิดโกลาหลทำไมได้ การช่วยเหลือเบื้องต้นที่เป็นไป ก็ต้องช่วยกันใช่ไหมคนไทยเรา
หากจะต้องนิ่งเฉยละเลยนั้น ยามคับขันเยี่ยงนี้ก็ขลาดเขลา ก็ต้องคิดเบื้องต้นเฉพาะกิจเอา เพื่อบรรเทาทุกข์ร้อนไซร้ให้คิดเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
|
คิดไกลๆ
|
ให้เตรียมรับเรื่องจริงกันนั้นได้ เรื่องมโนโกหกไซร้ให้น้อยหนา เอาเรื่องจริงมาพูดมาเจรจา แก้ปัญหาเฉพาะหน้าคงไม่เอา
ก็เรื่องแก่งแย่งน้ำกินใช้ ต่างประเทศเข้าออกได้จะขลาดเขลา เอาประเทศตัวเองยังไม่รอดจะชักเอา น้ำท่าเศร้าโลกร้อนไม่ผ่อนคลาย
ก็ขอให้คิดให้ไกลไปข้างหน้า ความพอเพียงที่ว่ายังไม่สาย ที่จะคิดป้องกันอันตราย ที่เยี่ยมกลายเข้ามาให้รู้ทัน
นี่ก็เห็นมีเกาหลีมาเยี่ยมเยือน เรามีเพื่อนเพิ่มขึ้นหฤหันต์ อยู่เมืองทองเนืองนองในทุกวัน ส่งภาษาเสียงดังสุขสันต์ดี
การค้าขายก็คล่องที่มองเห็น เกิดประเด็นหนีไข้มาหรือไหมนี่ มาแล้วไม่กลับก็เต็มที ไม่เหลือที่ให้คนไทยกินใช้กัน
ก็ให้มาดูแลตรงนี้บ้าง ที่จะสร้างความสุขหรือทุกข์นั้น อันกำไรก็อยู่ที่ใครกัน แต่ขาดทุนกระนั้นคือคนไทยไร้สุขเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
คนคิดไกล!
|
อันที่จริงมิได้คิดห้ามโน่นนี่ แต่จะชี้ความพอดีอยู่ตรงไหน จะมาแก่งแย่งเบียดเบียนกันต่อไป เดี๋ยวเรื่องโน่นนี่ไซร้ไม่เข้าการ
เราจะต้องมานั่งแต่แก้แก้ มันก็แย่ไม่จบอีกแหละนั่น มานั่งแก้ไขไทยไปทุกวัน เมื่อไหร่นั่นถึงไทยจะได้ดี
ก็ขอให้คิดกันไปข้างหน้า หากมัวช้าก็ไม่ทันชาติอื่นนี่ เพราะเขาฉลาดกว่าไทยพ้นทวี เรื่องเบียดเบียนนี้ไซร้ไทยแพ้เอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ข้าบ่ดี!
|
เมื่อคืนดูหน้งข้าบดินทร์จบลงแล้ว แต่แน่แน่ว ข้าบ่ดี ทำไฉน ยังไม่จบไปจากประเทศไทย ทำเยี่ยงใด้ให้ ข้าบ่ดี ไซร้หมดไปเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
คิดไกลๆ
|
หากประชาธิปไตยในไทยนี้ ช้วยบ้านเมืองให้เป็นที่สงบได้ อันเมืองนี้มีหรือจะเสียใจ คงสนับสนุนได้ด้วยใจจริง
แต่ที่เขาต้องมาทำนิ่งสงบ ซึ่งก็ควรจะน้อมนบเป็นที่ยิ่ง หากประชาธิปไตยพาไทยเดินหน้าไม่ท้วงติง แต่ทุกสิ่งไม่เป็นจริงดั่งกล่าวเลย
แล้วจะให้ประเทศไทยเป็นเหมือนเก่า คงจะเศร้าไม่เป็นจริงใคร่เฉลย มีแต่การรบราฆ่าฟันเอย แล้วเพื่อนเอ๋ยจะเอ่ยอ้างประการใด
ที่ออกมาเรียกร้องอีกล่ะเนี่ย ก็ให้เพลียหัวใจอีกไฉน จึงไม่รู้ไม่ชี้อีกหรือไร ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นไรกัน
มาเรียกร้องโน่นนี่นั่นทุกวันนี่ ไม่เห็นมีประโยชน์พาโศกศัลย์ ประชาธิปไตยที่ดีเรียกร้องกัน ต้องไม่ทำให้ประเทศเกิดเพษภัย
ต้องไม่ใช่กลุ่มชนใดหรือกลุ่มใด แต่ต้องให้ส่วนรวมไซร้มาแก้ไข อันเรื่องนี้ไม่ประเทืองปัญญาไทย ประชาธิปไตยของชาติใดทำไทยพัง
คงจะต้องมาศึกษาหาทางแก้ เรียกร้องแท้แต่ไทยมีแต่ฝัง คือคุณงามความดีมีแต่พัง คนแปรผันไร้ความสุขทุกข์มากมี
แล้วจะมาเรียกร้องอันใดนี่ อันความสุขก็ไม่มีเป็นสักขี ต้องมาคืนความสุขกันในปฐพี นี่หรือประชาธิปไตยที่ดีในไทยเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ชาติต้นแบบ!
|
|
|
|
|
![]() |
|
เฝ้าระวัง!
|
ประชาธิปไตยคงโหดร้ายเกินไปแล้ว ที่แน่แน่วต้องดูแลไทยนี้หนา อย่าให้เกิดเฉกเช่นไต้หวันนา ที่ต้องโศกโศกาให้อาดูร
ให้ดูแลสมบัติพัสถาน ที่ก่อการเรื่องความดีอย่าให้สูญ เตรียมตั้งรับกับปัญหาทวีคูณ มันเพิ่มพูนความโลภโศกทวี
ให้พวกเราคนไทยได้ตระหนัก ขอให้รักประเทศไทยให้สุขี คอยดูแลบ้านเมืองให้ดีดี พวกอัป...มีมาไซร้ในไทยเรา
ซึ่งส่วนมากจะอดอยากเสียมากกว่า ด้วยตัณหามากมีให้ขลาดเขลา มีแต่เรื่องปล้นทั้งนั้นในบ้านเรา ต้องคอยเฝ้าสมบัติไทยให้ดีเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
โศกา โศกา โศกา
|
ไต้หวันกับที่ไทยเหมือนกันไหม ซาติก้านั่นไงให้หวั่นไหว แต่ผิดกันที่กลางวันกลางคืนไง สิ่งสุดท้ายก็เสียใจไปทั้งมวล
อันความสุขอยู่ที่ใดเป็นไม่ได้ เป็นเยี่ยงใดให้ข้อคิดที่ผันผวน อันชีวิตของชาวโลกที่โศกล้วน เป็นเรื่องชวนขนหัวลุกปลุกคิดกัน
มีแต่เรื่องเพลิงฟอนที่เผาผลาญ บังเกิดการให้สพึงที่คิดสรรค์ นี่มันโลกของความสุขหรือทุกข์กัน โปรดช่วยย้ำนำความคิดประดิษฐ์เอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
|
สวัสดีครับคุณจู
เมื่อคืนดูข้าบดินทร์ ฝรั่งเศสนั้นแสบมากครับ ยึดฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและต้องนำเงินฝั่งเศสจ่ายค่าทำสงคราม เป็นเงินหลายล้านเหรียญฝรั่งเศสครับ มันเอาเรือรบมาปิดน่านน้ำอ่าวไทยมันแสบจริงๆครับคุณจูครับ
|
|
|
|
![]() |
|
|
วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒
วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ คือเหตุการณ์ที่ร้ายแรงจากการที่ฝรั่งเศสใช้กำลังเรือรบตีฝ่าป้องและเรือที่รบที่ปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ต่อมาได้ประกาศปิดอ่าวไทย และยื่นข้อเรียกร้องจากไทย ทำให้ไทยยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเสียค่าปรับถึง ๓
ล้านฟรังก์ หรือประมาณ ๑,๖๐๕,๐๐๐ บาท นับเป็นวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรงมากในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ วิกฤตการณ์นี้สืบเนื่องจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตกในยุคจักรวรรดินิยมโดยฝรั่งเศสหลังจากได้เวียดนามและเขมรส่วนนอกหรือเขมรด้านตะวันออกแล้ว ก็พยายามที่ยึดครองลาว
วิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เริ่มมีความรุนแรงตั้งแต่เดือนเมษายน ฑ.ศ. ๒๔๓๖ เมื่อฝรั่งเศสส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงแตง
(สตรึงเตร็ง) ทางใต้ของเมืองจำปาศักดิ์ และเมืองคำมวน (คำม่วน) ใกล้เมืองนครพนม ซึ่งเป็นของไทย จนมีการสู้รบกัน ระหว่างนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเตรียมการป้องกันประเทศ ทรงเร่งรัดการก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยทรงบริจาคเงิน ๑๐,๐๐๐ ชั่ง (๘๐๐,๐๐๐ บาท) เป็นค่าใช้จ่ายและซื้ออาวุธสำหรับป้อม
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ คือ เรือโกแมต (Comete) และเรือแองกองสตังต์ (Inconstant) โดยมีเรือชองแบปตีสเซ (Jean Baptiste Say หรือ J.B.Say) เป็นเรือนำร่อง มาสมทบกับเรือลูแดง (Lutin) ซึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯแล้ว รัฐบาลคัดค้านเรื่องนี้เพราะเป็นการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศทั้งสองที่อนุญาตให้มีเรือรบเข้ามาจอดได้เพียงลำเดียว รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งระงับแต่ผู้บังคับการเรือรบทั้งสองอ้างว่าได้รับคำสั่งให้นำเรือรบทั้งสองลำให้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในตอนเย็นวันที่ ๑๓ กรกฎาคม เวลา ๑๘ นาฬิกาเศษ เรือฝรั่งเศสทั้ง ๓ ลำ ได้เข้ามาใกล้ป้อมพระจุลจอมเกล้า ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นปืนใหญ่สมัยใหม่ได้ยิงเตือนแต่เรือรบฝรั่งเศสไม่ยอมหยุดและยิงตอบโต้ ผลการสู้รบเรือนำร่องของฝรั่งเศส ถูกยิงเกยตื้น ทหารเสียชีวิต ๓ นาย บาดเจ็บ ๓ นาย ทหารไทยเสียชีวิต ๓ นาย บาดเจ็บ ๔๑ นาย แต่เรือรบฝรั่งเศสทั้ง ๒ ลำ สามารถแล่นขึ้นมาจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้
ทางฝ่ายไทยได้ประท้วงรัฐบาลฝรั่งเศสและเรียกร้องให้ถอนเรือรบออกไป แต่รัฐบาลทางฝ่ายไทยได้ประท้วงรัฐบาลฝรั่งเศสและเรียกร้องให้ถอนเรือรบออกไปแต่รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งให้นายออกัสต์ ปาวี (August Pavie) ทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ยื่นคำขาดต่อไทยว่าไทยต้องสละสิทธิ์ในดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พร้อมกับรื้อถอนด่านในบริเวณดังกล่าว ลงโทษผู้ที่ต่อสู้กับฝรั่งเศส จ่ายค่าปรับไหมและค่าทำขวัญเป็นเงิน ๓ ล้านฟรังก์ และต้องตอบคำขาดภายใน ๔๘ ชั่วโมง
รัฐบาลไทยพยายามขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน จึงตอบคำขาดในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยยินยอมและโต้แย้งบางประเด็น เช่น เงินค่าปรับไหม และค่าทำขวัญน่าจะเกินความเป็นจริง ส่วนที่เกินไทยควรจะได้คืนฝรั่งเศสไม่พอใจคำตอบของไทย ถือว่าไทยปฏิเสธคำขาด ดังนั้นจึงตัดความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ฝรั่งเศสได้ถอนเรือรบทั้ง ๓ ลำออก และไปยึดเกาะสีชัง ประกาศปิดอ่าวไทยโดยให้เวลา ๓ วัน สำหรับเรือต่าง ๆ ที่จะถอนสมอออกไป ครั้งถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ฝรั่งเศสได้ขยายพื้นที่การปิดล้อมเพิ่มขึ้น สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นไทยจึงแจ้งให้ฝรั่งเศสทราบว่าจะรับคำขาด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยและชาวต่างประเทศ แต่ฝรั่งเศสยังเรียกร้องเพิ่มเติมว่าจะยึดปากน้ำและจันทบุรีไว้จนกว่าไทยจะถอนกำลังที่อยู่ทางซ้ายแม่น้ำโขงจนหมดสิ้น
เมื่อไทยยอมรับข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การปิดล้อมปากน้ำจึงยุติลงในต้นเดือนสิงหาคม ฝรั่งเศสได้ถอนกำลังไปยึดเมืองจันทบุรี โดยประจำอยู่ที่แหลมสิงห์ หลังจากนี้เป็นการเจรจาทางการทูตและมีการลงนามในสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ณ ที่ทำการราชวัลลภ ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
๑. ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งเกาะในแม่น้ำให้ฝรั่งเศส
๒. ไทยจะไม่สร้างด่าน ค่าย ที่อยู่ของทหารในเขต ๒๕ กิโลเมตร บนฝั่งขวาแม่น้ำโขง
๓. ฝรั่งเศสจะตั้งกงสุลในที่ใด ๆ ก็ได้ เช่น ที่นครราชสีมา เป็นต้น
อนึ่ง ไทยยังต้องจ่ายเงินประกันค่าปรับไหมและค่าทำขวัญตามคำขาดของฝรั่งเศสเป็นเงิน ๓ ล้านฟรังก์ (ค่าปรับไหมและค่าทำขวัญ ๒ ล้านฟรังก์) ซึ่งรัฐไทยจ่ายเป็นเงินสดและผ่านธนาคารปลายทาง (ธนาคารเมืองไซ่ง่อน) รวมเป็นเงิน ๑,๖๐๕,๒๓๕ บาท ๒ อัฐ
นอกจากนี้ ยังมีสัญญาเพิ่มเติมว่าผู้ที่ต่อสู้กับทหารฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึง พระยอดเมืองขวาง (ขำ ยอดเพ็ชร) จะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล และทนายฝรั่งเศสจะอยู่ที่จันทบุรีจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามหนังสือสัญญาได้ครบถ้วน แต่ปรากฏว่าเมื่อไทยปฏิบัติตามหนังสือสัญญาได้ครบถ้วน ฝรั่งเศสก็ยังไม่ถอนกำลังออกจากจันทบุรี จน พ.ศ. ๒๔๔๖ จึงถอนตัวออกแต่ไปยึดเมืองตราดแทน โดยไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มเติม คือ มโนไพร จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง ฝรั่งเศสยึดเมืองตราดจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงถอนตัวออกโดยที่ไทยต้องยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณให้เป็นการแลกเปลี่ยน
Back เครดิตจากอินเตอรเนท
|
|
|
|
![]() |
|
|
เรื่องของไทยในอดีต
๑๓ กรกฎาคม ๒๔๓๖ เกิดกรณีพิพาทระหว่าง ไทย - ฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบ ๒ ลำ ตีฝ่าป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทย ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาได้ ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของไทย ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๓๖ นายปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเทพ ฯ ได้แจ้งมายังเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศไทยมีใจความว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้สั่งเรือสงครามคอมเมต และแองคองสตอง เข้ามาถึงสันดอนอ่าวไทย เพื่อป้องกันชนชาวฝรั่งเศสเช่นเดียวกับที่อังกฤษคิดจะทำ ๒๐ กรกฎาคม ๒๔๓๖ นายโอกุส ปาวี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลฝรั่งเศสให้ยื่นคำขาดต่อรัฐบบาลไทย รวม ๖ ข้อ ให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปถึงเกาะกูด แก่ฝรั่งเศส ให้ไทยลงโทษเจ้าหน้าที่ไทยผู้มีส่วนรับผิดชอบในการยิงเรือฝรั่งเศส ที่ปากน้ำ ชดใช้ค่าเสียหายแก่ฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์ โดยไทยจะต้องให้คำตอบใน ๔๘ ชั่วโมง มิฉะนั้นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยจะเดินทางออกจากกรุงเทพ ฯ และฝรั่งเศสจะประกาศปิดน่านน้ำไทยในทันที
๒๖ กรกฎาคม ๒๔๓๖ หลังจากฝรั่งเศส ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลไทย เมื่อ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และได้รับคำตอบไม่เป็นที่พอใจ จึงได้ส่งกองเรือขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเรือลาดตะเวน ๒ ลำ เรือสลุป ๒ ลำ เรือปืน ๕ ลำ และเรือตอร์ปิโด ๑ ลำ เข้ายึดเกาะสีชัง ประกาศปิดอ่าวไทย ให้ไทยทำสัญญาสงบศึก และให้รับข้อประกันในการยึดปากน้ำจันทบุรี และเมืองจันทบุรี จนกว่าไทยจะถอนทหารออกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหมด ฝรั่งเศสยกเลิกการปิดล้อมอ่าวไทย เมื่อ ๓ สิงหาคม ๒๔๓๖
๓ สิงหาคม ๒๔๓๖ เรือรบฝรั่งเศสเลิกปิดล้อมอ่าวไทย เนื่องจากเหตุการณ์กรณี ร.ศ.๑๑๒ ฝรั่งเศส เสนอข้อเรียกร้องให้ไทยทำสัญญายกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวจนถึงพรมแดนเขมรให้ฝรั่งเศส เมื่อไทยไม่ยินยอม ฝรั่งเศสได้เข้ายึดจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราด และปิดล้อมอ่าวไทยอยู่ ๘ วัน เมื่อไทยยอมตามที่ฝรั่งเศสต้องการ จึงเลิกปิดอ่าวไทย
|
|
|
|
![]() |
|
|
๒๐ สิงหาคม ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ เสด็จไปทรงศึกษาในยุโรป
๑ ตุลาคม ๒๔๓๖ มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาทางพุทธศาสนา (ฝ่ายธรรมยุติ) นับเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในประเทศสยาม เริ่มเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า องค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงริเริ่มและรวบรวมทุนสร้างขึ้น ด้วยรำลึกถึงพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระบรมราชชนก มหามกุฎราชวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู โดยมีพระประสงค์เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และอบรมสั่งสอนเผยแพร่พระพุทธศาสนา ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ฯ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทรงลงนามในสนธิสัญญาไทยกับฝรั่งเศส ที่ทำขึ้นหลังจากวิกฤติ ร.ศ.๑๑๒ ผลจากสนธิสัญญานี้ทำให้ไทยเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตั้งแต่แคว้นสิบสองจุไท ในภาคเหนือของลาว จนถึงเขตแดนเขมรให้แก่ฝรั่งเศสไป และไทยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส ๒ ล้านฟรังก์ และยังต้องวางเงินประกันอีก ๓ ล้านฟรังก์ ขณะเดียวกันฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดจันทบุรีและตราด นับว่าเป็นดินแดนครั้งใหญ่ที่สุดของไทย รวมเป็นพื้นที่ ๑๔๓,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส
๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ วันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ ) ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗๖ ในรัชกาลที่ ๕ ครั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม พร้อมกับดำรงพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ ฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา ทรงขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ พระเชษฐาธิราช เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ นับเป็นรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ พระองค์ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเป็นฉบับแรก เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ ครั้นต่อมา ปรากฏว่าได้เกิดความคิดเห็นทางการเมืองขัดแย้งกันระหว่างพระองค์ กับรัฐบาล และสภาผู้แทนราษฎร จึงทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ และเสด็จไปประทับที่ประเทศอังกฤษ เสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ สิริรวมพระชนมายุ ๔๘พรรษา ในปี ๒๕๓๖ เป็นวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี ของพระองค์
๓๐ มีนาคม ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นสมควรให้สภาอุณาโลมแดง และให้เข้าเป็นสมาชิกสภากาชาดสากล พ.ศ.๒๔๔๙
พ.ศ.๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ปรับปรุงราชการหัวเมืองเสียใหม่ โดยให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น ๑๘ มณฑล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็นอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน สำหรับตำบลและหมู่บ้านให้มีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน โดยให้ราษฎรเลือกกันเอง
พ.ศ.๒๔๓๗ บริษัทเดนมาร์ค ได้ตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการเดินรถราง ที่บริษัทได้สัมปทานการเดินรถรางในพระนคร ต่อมาได้รวมกับบริษัทอเมริกันที่รับช่วงจากเจ้าหมื่นไวย แล้วตั้งเป็นบริษัทไฟฟ้าสยามเมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๔๔
๑๒ มิถุนายน ๒๔๓๗ กองทัพเมืองเชียงใหม่ของพระเจ้ากาวิละ ยึดเมืองเชียงแสนได้ในวันนี้ เมืองเชียงแสนอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงราย ริมแม่น้ำโขง ขณะนั้นยังอยู่ในอิทธิพลพม่า
๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๓๗ ถรางเปลี่ยนจากใช้ม้าลากมาเป็นใช้ไฟฟ้า และโอนกิจการให้แก่รัฐบาล พ.ศ. ๒๔๓๙ เลิก ๑ ตุลาคม ๒๕๑๑
๒๓ ธันวาคม ๒๔๓๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ มีพระบรมราชโองการให้ประกาศปันหน้าที่ กระทรวงกลาโหม มหาดไทย โดยแยกข้าราชการพลเรือน คือการบังคับบัญชาหัวเมืองภาคใต้ไปขึ้นอยู่กับมหาดไทย และจัดระเบียบการบริหาร ตลอดจนจัดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหมใหม่ โดยรวมการบังคับบัญชาทางการทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม เพื่อให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบด้านการป้องกันประเทศ ด้วยกำลังทหารทั้งทางบกและทางเรือ
๑ มกราคม ๒๔๓๗
|
|
|
|
![]() |
|
กระไรไหม?
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๓๑ พรรษา ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้คนไทยมีนามสกุล ทรงพระราชทานนามสกุลถึง ๖,๔๓๒ สกุล โปรดเกล้า ฯ ให้ใช้คำนำหน้าชื่อคือ เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว นาง คุณหญิง เป็นต้น พระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ยุโรป โดยอยู่กับฝ่ายสัมพันธมิตร ๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงตราพระราชบัญญัติโรงจำนำ ร.ศ.๑๑๔ ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย มีผลบังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร วันที่ ๑ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๐
พ.ศ.๒๔๓๙ ได้โอนกรมพระสุรัสวดี จากกระทรวงเมืองมาขึ้นกับกระทรวงกลาโหม เพื่อสดวกในการเรียกคนเข้ารับราชการทหารและตามพระบรมราโชบาย ที่จะรวบรวมสรรพาวุธและกำลังทหารไว้ที่กระทรวงกลาโหม
๙ พฤษภาคม ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสชวา ครั้งที่ ๒ โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี
๑๐ มิถุนายน ๒๔๓๙ การไฟฟ้านครหลวง เปิดบริการแก่ประชาชนในพระนคร
๔ กรกฎาคม ๒๔๓๙ นาย จี.เอช. แวนสัชเตเลน แต่งทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี และบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ที่เมืองจอร์กจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย
๑ กันยายน ๒๔๓๙ ตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัย ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
๑๘ กันยายน ๒๔๓๙ ตั้งกรมป่าไม้ อธิบดีคนแรกเป็นชาวต่างประเทศ ชื่อ เอช.สะเล็ด
๒๑ กันยายน ๒๔๓๙ เริ่มกิจการ ผู้ใหญ่บ้าน ตามระเบียบการปกครองอย่างใหม่ ที่บางปะอิน
๑๕ มกราคม ๒๔๓๙ อังกฤษและฝรั่งเศส ร่วมลงนามในสัญญาเคารพสิทธิของประเทศไทย ๒๑ มีนาคม ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศพระราชกำหนดผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.ศ.๑๑๕ ตั้งสมเด็จพระนางเจ้า เสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในโอกาสที่พระองค์จะเสด็จประพาสยุโรป ระหว่าง ๗ เมษายน ถึง ๑๖ ธันวาคม ๒๔๔๐ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาพระมเหสี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
๒๖ มีนาคม ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เปิดการเดินรถไฟเป็นปฐมฤกษ์จากกรุงเทพ ฯ ไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นส่วนหนึ่งของทางไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย กำหนดให้วันที่ ๒๖ มีนาคม ของทุกปี เป็นวันกำเนิดกิจการรถไฟไทย
พ.ศ.๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย ๗ เมษายน ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จประพาสต่างประเทศทางยุโรป เป็นครั้งแรก เพื่อทอดพระเนตรการปกครองของอารยะประเทศ รวมเวลา ๗ เดือน โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี มีเรือมกุฎราชกุมาร และเรือยงยศอโยชฌิยา เป็นเรือรบตามเสด็จเพียงเมืองสิงคโปร์
๑๕ เมษายน ๒๔๔๐ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา ฯ ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษาข้าราชการแผ่นดิน
๒๐ พฤษภาคม ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่น ร.ศ. ๑๑๖ เป็นฉบับแรก
๑๐ มิถุนายน ๒๔๔๐ มีการฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในไทย ที่โรงละคร หม่อมเจ้าอลังการ์
๑ กรกฎาคม ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จถึงกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ตามระยะทางเสด็จทวีปยุโรป ออกจากกรุงวอร์ซอ เมื่อ ๒ กรกฎาคม และเสด็จต่อไปยังประเทศรัสเซีย
๓ กรกฎาคม ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จถึงประเทศรัสเซีย ประทับที่พระราชวังปิเตอร์ฮอพ เมืองเซนต์ปิเตอร์สเบิร์ค
๙ กรกฎาคม ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จเมืองมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย
๑๙ กันยายน ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนฝรั่งเศส ในคราวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งแรก
๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลและตั้งสุขาภิบาลมณฑลกรุงเทพ ฯ ขึ้น
๑ เมษายน ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกขึ้น พระองค์เจ้าจิรประวัติ ดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการทหารบก พระองค์แรกในกองทัพไทย
|
|
|
|
![]() |
|
|
๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๑ ประกาศโครงการศึกษา ร.ศ.๑๑๗ ขณะนั้นมีพลเมือง ๖ ล้าน เด็กในเกณฑ์เรียน ๔๙๐,๐๐๐ คน
๒๑ สิงหาคม ๒๔๔๑ ประกาศเงินตราอย่างใหม่เรียกว่า สตางค์
พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้มีการจัดตั้งกองทหารไปประจำตามหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วไป เพื่อสดวกในการวางกำลังไว้ด้วยพื้นที่ยุทธศาสตร์และเปลี่ยนนามหน่วยทหารให้เป็นลำดับทั่วกัน
๒๙ เมษายน ๒๔๔๒ วันประสูติ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงเป็นนักการคลัง และนักการเงินคนสำคัญคนหนึ่งของไทย หลังจากสงครามมหาเอเซียบูรพาสิ้นสุดลง ท่านได้รับแต่งตั้งเป็น หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ไปเจรจาและลงนามในความตกลงสมบูรณ์แบบระหว่างไทยกับอังกฤษ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
๔ พฤษภาคม ๒๔๔๒ วันเปิดเรียนของนักเรียนนายเรือรุ่นแรก มีนักเรียนนายเรือ ทั้งหมด ๑๒ คน
๒๓ พฤษภาคม ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าฟ้าอัษฎางค์ ฯ เป็นผู้แทนพระองค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ โดยกระบวนแห่จากพระบรมมหาราชวัง มาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์องค์ใหญ่บนยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ และโปรดเกล้า ฯ ให้เรียกชื่อภูเขาทองให้ถูกต้องว่า บรมบรรพต
๑๕ สิงหาคม ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้ตัดถนนราชดำเนิน ประกอบด้วยถนนราชดำเนินใน ยาว ๕๒๕ เมตร ถนนราชดำเนินกลาง ยาว ๑,๒๐๐ เมตร และถนนราชดำเนินนอก ยาว ๑,๔๗๕ เมตร รวมทั้งสิ้นยาว ๓.๒ กิโลเมตร
๒๙ ธันวาคม ๒๔๔๒ วางสายโทรเลขระหว่างเชียงใหม่กับเชียงแสน
๔ เมษายน ๒๔๔๓ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอิสาน อยู่เมืองอุบลราชธานีได้นำกองทหารชาวกรุงเทพ ฯ และทหารชาวพื้นเมืองซึ่งได้รับการฝึกมาแล้ว กับได้รับความร่วมมือของกองทัพเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ สามารถจับพวกกบฎผีบุญผีบ้าที่เกิดขึ้นที่เมืองอุบลราชธานีได้
๑๑ มิถุนายน ๒๔๔๓ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากอังกฤษเป็นพระองค์แรก เสด็จกลับถึงกรุงเทพ ฯ แล้วทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศเป็นนายเรือโท พระองค์ได้ทรงบากบั่นก่อสร้างกองทัพเรือไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ทรงพระวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า ที่จะให้คนไทยมีความสามารถในกิจการทหารเรือ จนได้รับการขนานนามจากกองทัพเรือ เมื่อ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ว่า พระบิดาของกองทัพเรือไทย
๒๑ ตุลาคม ๒๔๔๓ วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาแผนกสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเมื่อปี ๒๔๖๓ ได้อภิเษกสมรสเป็นหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ฯ ในปี ๒๔๘๐ ได้รับโปรดเกล้า ฯ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ตามลำดับ เมื่อ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี
๖ ธันวาคม ๒๔๔๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ นิมนต์พระสงฆ์จำนวน ๓๓ รูป เท่ากับปีที่เสวยราชย์ จากวัดมหาธาตุมาอยู่กัดเบญจมบพิตร
พ.ศ.๒๔๔๔ เกิดกบฎผีบุญผีบ้า ที่จังหวัดอุบล ฯ
เครดิต จาก อินเตอรเนท
|
|
|
|
![]() |
|
มโนไกล!555
|
เรียนคุณดีสฯ สิ่งที่คิดและมโนในระยะไกลแบบขำขำ คือหากเกิดเพษภัยนั้นแบบโลกจะแหลกสลาย ไม่แน่น๊ะหากเกิดแผ่นดินแยกแตกออกไปได้ ในแผนที่โลกไซร้ ประเทศไทยอาจจะแยกจากแผ่นดินที่เป็นอยู่นี้แล้วลอยไปติดกับแผ่นดินออสเตรเลียก็อาจจะเป็นได้5555555 หรือไม่เช่นนั้นทวีปออสเตรเลียนั้นอาจจะเลื่อยลอยมาติดกับดินแดนไทยก็อาจจะเป็นได้55555ทุกวันนี้มันต้องคิดแบบนี้นี่แหละมันจะได้ขำขำคือสร้างความสุขทางใจให้มันฮึกเหิมเอาไว้ เพราะว่าจะต้องต่อกรกับอ้ายพวกยักษ์ปักหลั่นนั้นหนาอีกยาวไกล จนกว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคงไม่ช้าไม่นานนี้ก็อาจจะเป็นได้555555555
|
|
|
|
![]() |
|
|
ได้ข่าวว่าทางจีนมีโครงการที่จะขุดคอคอดกะขึ้นมาให้มันจะดีหรือไม่ก็ไม่รู้ได้ แต่ทางยุทธศาสตร์นั้นหากแผ่นดินแยกออกไปจะเกิดปัญหาในภายภาคหน้าได้ครับคุณจูหรือคุณจูมีความคิดเห็นเช่นใดครับ
|
|
|
|
![]() |
|
คิดไกลๆ
|
|
|
|
|
![]() |
|
ให้ข้อคิด!
|
|
|
|
|
![]() |
|
สนามอารมณ์!
|
เนื้อเพลง: สนามอารมณ์ ศิลปิน: อรวี สัจจานนท์ อัลบั้ม: 12 ปีแกรมมี่โกลด์
อย่าเห็นฉันเป็นสนามอารมณ์ หลอกชิดหลอกเชย หลอกชื่นหลอกชม หลอกฉันจนตรมใจตาย
ฉันกลัวเหลือเกิน กลัวรักจะต้องร้องไห้ กลัวรักจะต้องหมองไหม้ กลัวรักจะกลายชอกช้ำ
อย่าเห็นฉันเป็น สนามประลอง ฝากรักฝากใคร่ฝากใจใฝ่จอง ฝากรสทดลองลวงคำ
ฉันกลัวแล้วเอยกลัวรักจะต้องควรญคร่ำ กลัวรักจะต้องกลืนกล้ำ กลัวรักแกล้งทำหลอกลวง
เพียงเห็นเธอเป็นที่พักใจ มินานเธอก็ผลักไส จุดสุดท้ายน้ำตาร่วง ปล่อยให้ฉันเอกาว้าเหว่ในทรวง โดยไม่ยอมรับทราบทั้งปวง นี่คือรักลวงหรือไร
อย่าเห็นฉันเป็นสนามบำเรอ แกล้งรักฝากคำ แกล้งทำอยากเจอ แกล้งหวังบำเรอ ทำไม
เสียดายเหลือเกิน ความรักที่เธอเคยให้ ความรักที่เราเคยได้ ความรักที่ไม่แน่นอน
อย่าเห็นฉันเป็นสนามบำเรอ แกล้งรักฝากคำ แกล้งทำอยากเจอ แกล้งหวังบำเรอ ทำไม
เสียดายเหลือเกิน ความรักที่เธอเคยให้ ความรักที่เราเคยได้ ความรักที่ไม่แน่นอน 
|
|
|
|
![]() |
|
อยากถามนัก!
|
|
|
|
|
![]() |
|
ลมหวน
|
เนื้อเพลง : ลมหวน
ศิลปิน : ปุ้ม อรวรรณ เย็นพูนสุข
ดนตรี 4 ห้อง..3... 4... ลมหวน ชวนให้คิด ถึงความหลัง ภวังค์จิต คิดขื่นขม ระทมใจ ตัวใครเป็น คนผิดอยากถามนัก รักไยใจจึงกลับ ดังลมหวน ใกล้เรา กล่าวถ้อย ในที่รัก เจ็บนัก พอถึงอื่น ก็คืนคำ มาทำชิด สนิทใหม่ใครจะเชื่อ เบื่อแล้วไยจะ มารับกลับคืน ดนตรี 11 ห้อง..9... 10...11. ตัวใครเป็น คนผิดอยากถามนัก รักไยใจจึงกลับ ดังลมหวน ใกล้เรา กล่าวถ้อย ในที่รัก เจ็บนัก พอถึงอื่น ก็คืนคำ มาทำชิด สนิทใหม่ใครจะเชื่อ เบื่อแล้วไยจะ มารับกลับคืน 
|
|
|
|
![]() |
|
โศกา โศกา โศกา
|
|
|
|
|
![]() |
|
บอกตรง!
|
เป็นสังคมก้มหน้านำพาชาติ ความทุกข์ยากเป็นไฉนไม่ถือสา โลกของไทยเป็นอย่างไรไม่นำพา โลกของข้าสดใสในทุกวัน
ก็ก้มหน้าก้มตาอยู่กับไลน์ ยังไม่สายหากใครจะคิดสรรค์ จัดระเบียบกันเถิดไทยสร้างไทยกัน คงสุขสันต์สุขขีทวีคูณ
เอาตั้งแต่บนท้องถนนนั่น รถสร้างกันขึ้นมาคนไทยสูญ ตายเป็นเบือเหลือเฟือที่เกื้อกูล ไม่หนี้สูญเลยนั้นสร้างสรรค์ไทย
จัดระเบียบน้ำท่าที่กินใช้ อันคนไทยใช้ไซร้ก็แจ้งไข หากชาติอื่นมาเบียดเบียนก็เป็นไป ไทยเดี้ยงได้เดี้ยงไปใช่ไหมไทย
จัดระเบียบต่างชาติต่างภาษา ที่เข้ามาเยือนไทยกันให้ได้ มิใช่เข้ามาแล้วไม่กลับไป มาอยู่ไซร้เบียดเบียนไทยกินใช้กัน
แล้วยังอีกพ่อค้าแม่ค้านั่น ให้ช่วยกันเกื้อหนุนอย่างสร้างสรรค์ ให้คิดดีทำดีดีต่อกัน ใช้ของไทยเท่านั้นเรากันเอง
สิ่งที่คิดต่อไปในภายหน้า ก็คำว่า พอเพียง นี่เหมาะเหมง ที่จะใช้กับไทยเรื่องนี้เอง เรื่องอาหารน้ำท่าโฉงเฉงบรรเลงไทย
ก็ขอให้คนไทยมากำหนด จะเลี้ยวลดคดเคี้ยวคงไม่ได้ บอกกันมาตรงตรงให้ตรงใจ ว่าจะอยู่ข้างไหนในไทยเอย.
|
|
|
|
![]() |
|
ใครหนอ?
|
|
|
|
|
![]() |
|
55555
|
น่าจะมีโครงการ รู้ทันประจัญโลก อันทุกข์โศกอยู่ที่ไทยเราสร้างสรรค์ หากจะต้องมีอันตายจากกัน ต้องเป็นเรื่องเวรกรรมสำหรับไทย
แต่มิใช่เป็นเหยื่อคนคิดร้าย หวังทำลายให้ไทยแตกแยกได้ เราจะต้องรู้ทันประเทศไทย ถึงจะได้อยู่กันสุขสันต์ไทย
ให้รู้จักรู้คิดให้จงได้ เรื่องที่ตายในไทยให้แจ้งไข เรื่องของยอดมนุษย์อุบัติภัย และก็เรื่องซุปเปอร์แมนไซร้ในไทยแลนด์
ก็ขอให้ระมัดระวังในภัยนี้ ที่จะชี้เจ็บปวดไทยทุกข์แสน อันผู้คนล้มตายทั่วดินแดน ความแร้นแค้นซุปเปอร์แมนคงบัญชา
แล้วเรื่องยอดมนุษย์ที่ผุดนี่ ตายคาที่ทุกวันขันอาสา ให้เรียนรู้เอาไว้ในนครา หากรู้ทันก็รอดไซร้รู้ไว้เอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ซึมลึกข้าศึกไทย
|
|
|
|
|
![]() |
|
นี่เรื่องจริง!
|
ประชาธิปไตยในไทยนี่ พาพวกนี้ไปชี้ที่แหล่งน้ำ พาอียูไปด้วยช่วยชี้กัน ว่าสิ่งที่เรียกร้องนั่นเป็นเยี่ยงใด
ให้ไปยืนอยู่กลางแดดอันเปรี้ยงเปรี้ยง ให้เป็นน้ำหล่อเลี้ยงประชาธิปไตยได้ ให้ยืนสงบนิ่งตรงเขื่อนไทย แล้วเรียกร้องประชาธิปไตยมาช่วยเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ไปเล๊ย!
|
อีกพาไปดูไร่นาชาวนานั่น ประชาธืปไตยนั้นพลันเฉลย ดินระแหงแตกแยกคงคุ้นเคย ที่เอื้อนเอ่ยเรื่องแตกความสามัคคี
แล้วให้ไปดูวัวควายบ้าง ประชาธิปไตยสร้างให้สุขี มีหญ้ากินอิ่มหนำกระไรมี ให้ไปยืนดูสิประชาธิปไตย
ให้ไปยืนกลางแดดที่แผดเผา ไปยืนเรียกร้องเอาจะที่ไหน ให้พาไปทุกที่ที่เคยไป หากยืนได้ก็คงชนะภัยแล้งได้ในไทยเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ไหม?
|
มันเรียกร้องตั้งแต่น้ำเต็มเขื่อน จะมาเอื้อนเอ่ยอีกหน้าตาเฉย เอาอียูมาดูที่เขื่อนเลย แล้วเปรียบเปรยให้รู้ให้ดูกัน
ว่าที่สิ่งเรียกร้องกันอยู่นั่น ประเทศไทยเป็นเยี่ยงใดกันที่กล่าวขาน เขียนประวัติศาสตร์กันตรงนั้นให้ตระการ ว่าประชาธิปไตยผลาญไทยอย่างไรเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ของขึ้นโว๊ย!
|
ประชาธิปไตยในไทยนี้ จะกินขี้แทนน้ำแล้วเพื่อนเอ๋ย จะกินน้ำปลักควายแล้วเพื่อนเอย ให้เฉลยอนาคตเป็นเยี่ยงใด
ประชาธิปไตยไร้น้ำท่า ประชาธิปไตยจะกินอาหารหมาแล้วนั้นได้ อาจจะต้องเลียน้ำในขวดเหมือนหมาประการใด ให้คิดไซร้กระโหลกไซร้ให้คิดเอย 
|
|
|
|
![]() |
|
ต้องช่วยกัน
|
|
|
|
|
![]() |
|
เอาเข้าไป
|
เรื่องประชาธิปไตยในไทยนี่ ต้องต้นตอเหล่านี้ที่เฉลย พวกอาจารย์นั้นหนาคนคุ้นเคย ไปยืนเลยเหนือเชื่อนฟั่นเฟือนไทย
ให้ไปยืนเรียกร้องอยู่ตรงนั้น ควบคู่กันแห่นางแมวให้ขานไข หรือจะจับคนเหล่านี้ใส่กรงไง เรียกร้องไซร้พร้อมกันกระนั้นเอย. 
|
|
|
|
![]() |
|
ตอกเข้าไป!
|
|
|
|
|
![]() |
|
ไปๆๆๆๆๆให้พ้น!
|
|
|
|
|
![]() |
|
|