หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: เผยแพร่บทคัดย่อ  (อ่าน 879 ครั้ง)
Guest
นางณัฎฐ์วรรณ ศรีแก้ว
เรทกระทู้
« เมื่อ: 28 ก.ย. 14, 12:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
บทคัดย่อ


   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม แบบการวิจัยที่ใช้ คือการวิจัยเชิงทดลองแบบ One group pretest - posttest design ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน  17 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ จำนวน 8 แผน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน      8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ           ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("x"  ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)  และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent)

   ผลการวิจัยพบว่า
   1.  เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.80/82.01 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
   2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รายวิชาสังคมศึกษา 1 รหัสวิชา ส 31101 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กฎหมายน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Guest
นายวัชรินทร์ วันทา
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 ส.ค. 16, 13:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง        รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและ
               การดำเนินชีวิตในสังคม  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน    นายวัชรินทร์   วันทา
               โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  30    
ปีที่รายงาน  2557


บทคัดย่อ

                เอกสารประกอบการเรียนเป็นสื่อ นวัตกรรมที่สามารถช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรม  และนักเรียนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก  มีการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จร่วมกัน ผู้รายงานจึงสนใจที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อการเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557  โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ  จำนวน  33  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียนจำนวน  10  เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  10  แผน   รวม  20  ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน 40  ข้อ ค่าความยากง่ายระหว่าง  0.28  ถึง  0.85  ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B)  ระหว่าง  0.29  ถึง  0.88  ค่าความเชื่อมั่น( R )  ทั้งฉบับเท่ากับ  0.79  และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน  จำนวน  20  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบสมมติฐานt – test  (Dependent  Samples)  






ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
   1. เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพกระบวนการ  (E1)  เท่ากับ  90.44  และมีประสิทธิภาพหลังเรียน (E2)  เท่ากับ  85.97  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8875  ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  88.75
      3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบ
การเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.56  ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
            โดยสรุป  ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 สามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความก้าวหน้าและมีความสุขในการเรียน  ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  ดังนั้น  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม สามารถนำเอกสารประกอบการเรียนไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  และควรมีการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นต่าง ๆ ต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 ส.ค. 16, 13:59 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง        รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและ
               การดำเนินชีวิตในสังคม  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน
               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน    นายวัชรินทร์   วันทา
               โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  30   
ปีที่รายงาน  2557


บทคัดย่อ

                เอกสารประกอบการเรียนเป็นสื่อ นวัตกรรมที่สามารถช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรม  และนักเรียนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก  มีการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม  เพื่อให้ประสบผลสำเร็จร่วมกัน ผู้รายงานจึงสนใจที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การรายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อการเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการรายงานเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2557  โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ  จำนวน  33  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียนจำนวน  10  เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้  จำนวน  10  แผน   รวม  20  ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน 40  ข้อ ค่าความยากง่ายระหว่าง  0.28  ถึง  0.85  ที่มีค่าอำนาจจำแนก (B)  ระหว่าง  0.29  ถึง  0.88  ค่าความเชื่อมั่น( R )  ทั้งฉบับเท่ากับ  0.79  และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน  จำนวน  20  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบสมมติฐานt – test  (Dependent  Samples)   






ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
   1. เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม    กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพกระบวนการ  (E1)  เท่ากับ  90.44  และมีประสิทธิภาพหลังเรียน (E2)  เท่ากับ  85.97  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8875  ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  88.75
      3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน  โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  พบว่าคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้  โดยใช้เอกสารประกอบ
การเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.56  ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด
            โดยสรุป  ผลการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม  กลุ่มสาระ
การเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 สามารถช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความก้าวหน้าและมีความสุขในการเรียน  ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  ดังนั้น  ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา  และวัฒนธรรม สามารถนำเอกสารประกอบการเรียนไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน  และควรมีการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นต่าง ๆ ต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 7 มี.ค. 17, 10:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง      รายงานผลการพัฒนาการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลง
ของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
ชื่อผู้ศึกษา   นางสุพรรษา  ดาแลหมัน  ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา   โรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง  จังหวัดสตูล
ปีการศึกษา   2559
...

บทคัดย่อ

รายงานผลการพัฒนาการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา ดังนี้
1.   เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2.   เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6
3.   เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตำมะลังเหนือ จำนวน 21 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยหาค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดและการหาค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โดยการหาค่าเฉลี่ยและหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า
1.   ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยน แปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 82.52/85.71 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2.   ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า การเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
3.   ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยรวม ( ) เท่ากับ 4.65 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.71 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หิน และการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับที่ดีมาก
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานวิชาการ
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 10 เม.ย. 17, 10:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง     รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
              กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตาสุด
              อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน
ผู้ศึกษา       นางจันทรรัตน์  ดีใจ
สังกัด         โรงเรียนบ้านตาสุด อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา     พ.ศ. 2558

บทคัดย่อ

         รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตาสุด อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ  โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์              ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน  เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  2. เพื่อศึกษา              ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน  เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ด้านความรู้   ด้านทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  3. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75               4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม  การสอน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตาสุด อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3              ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา คือ สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาในครั้งนี้  ประกอบด้วย 1. ชุดกิจกรรมการสอน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต                กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนทั้งหมด 7 ชุด  2. แผนการจัด            การเรียนรู้เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนทั้งหมด 19  แผน 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน  40  ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 1.00  และ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  จำนวน 20  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้     t - test (paired Sample T- Test)  ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้
       1.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน เรื่อง                การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน            สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
      2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอน เรื่อง             การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ จากคะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เท่ากับร้อยละ 77.81 คะแนนเฉลี่ยด้านทักษะกระบวนการจากคะแนน ผลการประเมินผลงานในชุดกิจกรรมการสอน เท่ากับร้อยละ 82.86 และคะแนนเฉลี่ย  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เท่ากับร้อยละ 89.74 ซึ่งค่าเฉลี่ยจากคะแนนผลการเรียนรู้ของนักเรียนในด้านความรู้มากกว่าร้อยละ 75  ด้านทักษะกระบวนการและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์มากกว่าร้อยละ 80
    3. ชุดกิจกรรมการสอน  เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ  78.39/77.81  ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 
       4.  ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนเรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ พบว่า ระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ “มากที่สุด” มีค่าความเชื่อมั่นแบบครอนบัช (Cronbach) โดยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient) เท่ากับ 0.88

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
บงกช วิลาศรี
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 23 ธ.ค. 17, 11:40 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง            ผลของการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่      
                   สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕
ปีที่วิจัย            ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด           วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐   ๒) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด                  ๓)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด        วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑    ๔) เพื่อศึกษา                 ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๙  จำนวน ๒๖ คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ใช้แบบแผน          การวิจัย  One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  ๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์      ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  ๒) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๙    ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑  ๔) แบบประเมินความพึงพอใจ  ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓   การเก็บข้อมูล ได้จากการหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การหาคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง t-test (Dependent Sample) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป  วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหา                    ในข้อค้นพบ พร้อมนำเสนอประกอบเป็นความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
   ๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  ๘๓.๐๔/๘๒.๓๑  ซึ่งเป็นไป             ตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐  ที่ตั้งไว้
   ๒. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวม         อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (  = ๔.๗๔, S.D. = ๐.๓๒)
   ๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕  
   ๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ  มากที่สุด (  = ๔.๗๐, S.D. = ๐.๔๖)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 ม.ค. 18, 17:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางบงกช  วิลาศรี
ปีที่วิจัย ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ                                       ๓) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ             
ขั้นตอนในการพัฒนา มี ๕ ขั้น ได้แก่ ๑) การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ ๒) การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ ๓) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ๔) การทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ๕) การประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง มี ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๖คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการ จำนวน ๓ คน  ๒) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม จำนวน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) ร่างรูปแบบการเรียนรู้  ๒) แบบสอบถามด้านความเหมาะสมของรูปแบบ               ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๑ แบบสอบถามด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ และแบบสอบถามด้านเทคนิคและวิธีการที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๐ ๓) แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  ๔) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๒ และ ๕) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๖  การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การสอบถามความคิดเห็น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การพรรณนาวิเคราะห์ และใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่าง t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ นำเสนอประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
   ๑. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้  ได้รูปแบบที่มีองค์ประกอบ ๔ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย แนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ องค์ประกอบด้านหลักการ ได้แก่ ด้านครูผู้สอน
ด้านผู้เรียน ด้านเครื่องมือและด้านการประเมินผล องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มี ๖ ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้ผ่านสื่อ ขั้นสรุปความคิดและขั้นประเมินผลการเรียนรู้  องค์ประกอบด้านการประเมินผล ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ และประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน  ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการเรียนรู้
อยู่ในระดับมากที่สุด (  = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๙)
   ๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย
สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
   ๓. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย
สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 ก.พ. 18, 09:35 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
 บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง               รายงานการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วย
                        การปั้นนูนต่ำ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา                นางวิไล   กระจับเงิน
ชื่อหน่วยงาน         โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี สังกัดเทศบาลเมือปทุมธานี
ปีที่ผลิต          ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา   2560
...
การพัฒนาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาคือ (1) เพื่อเปรียบเทียบกล้ามเนื้อเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการทดลองกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลเมืองปทุมธานี สังกัดเทศบาลเมืองปทุมธานี  จำนวน 19  คน
   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ คู่มือแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจำนวน 50 แผน  คู่มือการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจำนวน 50 กิจกรรม แบบประเมินกล้ามเนื้อมัดเล็ก  4 ชุด ชุดละ   5  ข้อ รวมจำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
   ผลการพัฒนาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ด้วยการปั้นนูนต่ำ  มีกล้ามเนื้อเนื้อมัดเล็กสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นางสาวจุฬารัตน์ บาริศรี
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 ก.พ. 18, 14:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่องานวิจัย   ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ภาษาอังกฤษน่ารู้
                     สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง 
                     จังหวัดปทุมธานี 
ผู้ศึกษาวิจัย   นางสาวจุฬารัตน์   บาริศรี 
ตำแหน่ง   ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ 
      โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี 
ปีที่วิจัย      2560

บทคัดย่อ

   การศึกษาผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง ภาษาอังกฤษน่ารู้ สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  สรุปผลการศึกษาและวิจัยได้ดังนี้  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) แบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง  ภาษาอังกฤษน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ กำหนดไว้คือ 75/75 (ชัยยงค์ พรหมวงค์ และคณะ 2520: 134-142)  2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง ภาษาอังกฤษน่ารู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  ก่อนและหลังการฝึกทักษะ  หลังจากได้รับการฝึกทักษะสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง  ภาษาอังกฤษน่ารู้  3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  ที่มีต่อกิจกรรมและแบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง  ภาษาอังกฤษน่ารู้ อยู่ในระดับดี  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้  จำนวน 31 แผน แบบฝึกทักษะ  วิชาภาษาอังกฤษ  เรื่อง ภาษาอังกฤษน่ารู้   จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ จำนวน 31 แบบฝึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ แบบปรนัย  จำนวน 30  ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  จำนวน 16 ข้อ  แบบทดสอบย่อย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย  ( )  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบค่าที (t-test)

สรุปผลการวิจัย

   จากการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ดังนี้
   1.  ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้  มีประสิทธิภาพโดยรวมคือ  76.85/76.56  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  75/75  และในแต่ละชุดสูงกว่าเกณฑ์ทุกชุด
   2.  ผลการศึกษาทักษะกระบวนการระหว่างการใช้ชุดแบบฝึกทักษะ ปรากฏว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติงานได้โดยมีค่าเฉลี่ยเกินร้อยละ  75
   3.  ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง  จังหวัดปทุมธานี  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี  โดยใช้แบบฝึกทักษะ กำหนดเกณฑ์ผ่าน  75%  ผลสรุปว่า  ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 18.91 ไม่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ  81.08 ซึ่งผลการเรียนอยู่ในระดับต่ำ        (  = 13.84, S.D. = 3.41) หลังเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  100  ซึ่งผลการเรียนอยู่ในระดับสูง  (  = 23.11, S.D. = 4.09)
   4.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี   โดยใช้แบบฝึกทักษะ  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
   5.  ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวันเกิดการอุดม  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี   หลังใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้  พบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมในระดับมาก  (  = 2.62  S.D. = 0.59)  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า  นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกเรื่อง  เรื่องที่มีค่าเฉลี่ย  3  ลำดับแรกเรียงจากมากไปน้อย  คือ  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ  เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้มากขึ้น  นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน  และนักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงาน  (  = 2.77  2.74  และ 2.71  S.D. = 0.66  0.67  และ  0.69)

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นางนลินรัตน์ มีมาก
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 30 พ.ค. 18, 08:54 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อรายงาน  : รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ ณ นครอุทิศ”  อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต  ๑
ชื่อผู้จัดทำ  :  นางนลินรัตน์  มีมาก
ปีการศึกษา  :  ๒๕๖๐

บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้  แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑  โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นครอุทิศ”  อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต  ๑  มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านการเขียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นครอุทิศ”   อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต  ๑  ภาคเรียนที่  ๒  ปีการศึกษา  ๒๕๖๐  จำนวน  ๕๐  คน  เครื่องมือที่ใช้  คือ  แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1  วิเคราะห์ข้อมูล  โดยหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะใช้  E1/E2   ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ ใช้สถิติ  (t-test) แบบ dependent  แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้การหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )     
ผลการศึกษาพบว่า  แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1  มีประสิทธิภาพ E1/E2   เท่ากับ  ๘๔.๘๘/๘๑.๖๗  นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทาน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  .๐๑  และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนด้วยเพลงนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  1 อยู่ในระดับดีมาก
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ศิริลักษณ์ เอิบอิ่มฤทธิ
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 25 มิ.ย. 18, 11:23 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ศิริลักษณ์  เอิบอิ่มฤทธิ์  (2559).  รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี. ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนดัดดรุณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.

   การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี ตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบคะแนนการรู้จักและเข้าใจตนเองก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนดัดดรุณี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี จำนวน 5 ชุด แบบสอบถาม
การรู้จักและเข้าใจตนเอง จำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามการรู้จักและเข้าใจตนเองแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 50 ข้อ ชุดที่ 2 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ชุด ข้อ รวม 100 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี จำนวน 12 ข้อ แบบแผนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ E1/E2 และ t-test  Dependent Group และการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง โดยการหาค่าเฉลี่ย
   ผลการศึกษา พบว่า
      1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.83/87.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
ที่กำหนด
      2. คะแนนการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี
หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
      3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ศิริลักษณ์ เอิบอิ่มฤทธิ
เรทกระทู้
« ตอบ #11 เมื่อ: 25 มิ.ย. 18, 11:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ศิริลักษณ์  เอิบอิ่มฤทธิ์  (2559).  รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี. ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนดัดดรุณี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.

   การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี ตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบคะแนนการรู้จักและเข้าใจตนเองก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนดัดดรุณี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2560 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี จำนวน 5 ชุด แบบสอบถาม
การรู้จักและเข้าใจตนเอง จำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามการรู้จักและเข้าใจตนเองแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 50 ข้อ ชุดที่ 2 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี แบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ชุด ข้อ รวม 100 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี จำนวน 12 ข้อ แบบแผนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมตามเกณฑ์ E1/E2 และ t-test  Dependent Group และการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง โดยการหาค่าเฉลี่ย
   ผลการศึกษา พบว่า
      1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.83/87.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
ที่กำหนด
      2. คะแนนการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณี
หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
      3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนดัดดรุณีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
ปริสา หนูอินทร์
เรทกระทู้
« ตอบ #12 เมื่อ: 2 ก.ค. 18, 02:53 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ชื่อเรื่อง      การพัฒนาบทเรียนออนไลน์รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์
รหัสวิชา ง32202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ
ผู้ศึกษา      ปริสา  หนูอินทร์
ปีการศึกษา   2559

บทคัดย่อ
   การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์  รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา  ง32202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา  ง32202 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชา        การโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา ง32202 กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ  อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 33 คนได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive  sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ บทเรียนออนไลน์ในรายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์  รหัสวิชา ง32202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t–test (Dependent Samples)
   ผลการศึกษาพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา         ง32202 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.67/80.23 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.09 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.73 แสดงว่านักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้สูงขึ้น ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนเท่ากับ 2.26 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน เท่ากับ 3.16 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนต่ำกว่าก่อนเรียน การกระจายของคะแนนมีค่าต่ำกว่า แสดงว่า การเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา ง32202ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ มีประสิทธิภาพ 3) พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ รายวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ รหัสวิชา ง32202 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชิงทะเลวิทยาคมฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.61
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นายรัชตะวงศ์ คนมั่น
เรทกระทู้
« ตอบ #13 เมื่อ: 1 ก.ย. 18, 23:32 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
เรื่อง  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร 
       กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย    นายรัชตะวงศ์  คนมั่น
ตำแหน่ง   ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
          อำเภอวารินชำราบ   จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่ศึกษา     2560             

บทคัดย่อ
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร  กลุ่มสาระ               การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตร  2)  เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตรที่มีประสิทธิภาพ 80/80  3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะทางการเรียนรู้เกษตร  4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการปฏิบัติงานเกษตร  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยการเรียนรู้ตามรูปแบบ  LDAPSE  Model  ประกอบด้วย  6  ขั้นตอน คือ  การบรรยาย (Lecture) การสาธิต (Demonstration) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities Learning) การฝึกทักษะ (Practice) สรุป (Summary) การประเมินผล(Evaluation)  และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมการคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และค่าประสิทธิภาพ
   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
     1. ผลการทดสอบทักษะทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 185 คน พบว่า นักเรียนร้อยละ 54.59 มีทักษะในการเรียนรู้อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถด้านทักษะการเรียนรู้นั้น  มาจากการจัดการเรียนการสอนของครูที่ไม่เอื้อต่อการฝึกคิด  ฝึกปฏิบัติ โดยสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนของครูนั้นไม่เอื้อต่อการส่งเสริมทักษะในการเรียนรู้ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน คือ  การแก้ไขที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู
     2. ผลการสร้างและพัฒนาคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตามรูปแบบ   LDAPSE  Model  ผลการสอบถามความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
( = 4.40, S.D. = 0.53) และรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.62 /81.84
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบ  LDAPSE  Model  พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน (  = 14.89) และหลังเรียน ( = 40.91) และนักเรียนมีทักษะในการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( = 10.97) และหลังเรียน ( = 25. 28)
    4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ   LDAPSE  Model  พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D. = 0.64) และผลการประเมินและรับรองรูปแบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการสอน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (  = 4.47, S.D. = 0.21)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
นางอลิษา วันเลี้ยง
เรทกระทู้
« ตอบ #14 เมื่อ: 27 ก.พ. 21, 20:48 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
บทคัดย่อ

เรื่อง   การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น
   เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มสาระการเรียนรู้
        วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย   อลิษา วันเลี้ยง
ระดับชั้น   ประถมศึกษาปีที่ 1
สถานศึกษา   โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
ปีการศึกษา   2561

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา    ปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/7 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จำนวน 39 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster ramdom sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) บทเรียนออนไลน์เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น จำนวน 5 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยี เป็นข้อสอบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ E_1/E_2  ค่าเฉลี่ย ร้อยละ  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
   1. บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.10/86.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และเป็นไปตามสมมติฐาน
   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
   3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง    การใช้เทคโนโลยีเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  (X ̅=4.60) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน






noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
โครงการสถานศึกษาปลอดภัย
เรทกระทู้
« ตอบ #15 เมื่อ: 12 ก.ย. 21, 19:21 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก (2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก (3) ประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก และ (4) ประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก การประเมินใช้รูปแบบ CIPP Model ประชากรในประเมินโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 319 คน และนักเรียน จำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของ   วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก จำนวน 14 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
   1. การประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.32,  = 0.56)
   2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.39,  = 0.53)
   3. การประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.35,  = 0.54)
   4. การประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่า
      4.1 การประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42,  = 0.59)
      4.2 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการดำเนินโครงการที่มีต่อการจัดกิจกรรมในโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.55,  = 0.57)
      4.3 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.38,  = 0.56)
      4.4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.57,  = 0.64)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Guest
โครงการสถานศึกษาปลอดภัย
เรทกระทู้
« ตอบ #16 เมื่อ: 12 ก.ย. 21, 19:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก (2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก (3) ประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก และ (4) ประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก การประเมินใช้รูปแบบ CIPP Model ประชากรในประเมินโครงการ ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 21 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 319 คน และนักเรียน จำนวน 319 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ แบบประเมินโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของ   วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก จำนวน 14 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินพบว่า
   1. การประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.32,  = 0.56)
   2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.39,  = 0.53)
   3. การประเมินกระบวนการของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.35,  = 0.54)
   4. การประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่า
      4.1 การประเมินผลผลิตของโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42,  = 0.59)
      4.2 การประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการดำเนินโครงการที่มีต่อการจัดกิจกรรมในโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.55,  = 0.57)
      4.3 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.38,  = 0.56)
      4.4 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลหล่มสัก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.57,  = 0.64)
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม