หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: มองสก็อตแลนด์-อังกฤษแยกปท.มุม“ดร.สมเกียรติ”:บทเรียนที่ไทยควรรู้  (อ่าน 1500 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 18 ก.ย. 14, 21:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

มองสก็อตแลนด์-อังกฤษแยกปท.มุม“ดร.สมเกียรติ”:บทเรียนที่ไทยควรรู้

เขียนวันที่ วันพฤหัสบดี ที่ 18 กันยายน 2557
”…สำหรับผม และคนไทย ให้มองเชิงโครงสร้างเปลี่ยนแปลงสังคม คือ เขาใช้วิธีโหวต ไม่ยิงกัน ไม่ส่งทหารเข้าไปแบบยูเครน-รัสเซีย เขาโหวตอย่างเดียว ไม่มีในรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ความรู้สึกนั้นถือว่าถูกต้อง…”



หมายเหตุ www.isranews.org : เป็นคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผ่านรายการ “ตอบโจทย์ประเทศไทย” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ถึงกรณีการลงประชามติแบ่งแยกประเทศระหว่าง สก็อตแลนด์ และอังกฤษ

----

“ผมฟังสุนทรพจน์ของนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ที่เปิดเผยว่า หากคนสก็อตแลนด์เลือกโหวตโน จะมีอะไรให้ เช่น พวกสวัสดิการต่าง ๆ มีเงื่อนไขมากขึ้น และรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักร จะช่วยเหลือสก็อตแลนด์อย่างเต็มที่ ฉะนั้นจึงถูกหลายฝ่ายกล่าวหาว่า เป็นการข่มขู่ หรือมีของมาล่อ”

“ส่วนฝ่ายนักการเมืองสก็อตแลนด์ พรรคเนชั่นแนลลิสต์สก็อตแลนด์ เขาต้องการโหวตเยส แยกตัว เพราะถือว่าเราส่งส่วยมานาน ช่วยเหลือกันมานาน แยกเป็นอิสระมีของดีเยอะแยะ ลองไปหาอ่านดูได้ในสมุดปกขาว หนากว่า 500 หน้า ซึ่งเขาเปิดให้คนอื่น ๆ เข้าไปดาวน์โหลดในเว็บไซต์”

“นี่คือความพะวงของคนอังกฤษ กับสก็อตแลนด์ว่า พรุ่งนี้ (18/09/2557) สหราชอาณาจักรจะหายไปเกือบ 1 ใน 3 หรือไม่ ประชากรอาจจะแค่ 5.3 ล้านคน ถือว่าไม่มากนั แต่มากพอจะตั้งเป็นประเทศได้ เช่น สิงคโปร์ ก็มีคนใกล้เคียงเท่านี้ หรือแม้แต่บรูไน ที่มีประชากรแค่ 5 แสนคน ก็ตั้งเป็นประเทศได้”

“ประเด็นอยู่ที่เมื่อแยกแล้วจะไม่ได้กลับมาอีก คิดผิดก็คิดใหม่ไม่ได้ ผมได้ดูสุนทรพจน์ของนายเดวิด ระบุว่า การโหวตในวันพรุ่งนี้ มันไม่ใช่การทดลองแยกกันอยู่ และกลับมาอยู่ด้วยกันได้อีก ไม่เหมือนคนแต่งงานที่หย่าแล้ว กลับมาคบกันใหม่ แต่งงานกันใหม่ได้ แต่พรุ่งนี้มันหย่า และไม่มีวันกลับมาแต่งงานกันอีก ส่วนสกุลเงินจะไม่ใช้ปอนด์อีกแล้ว ธนาคารใหญ่ ๆ ของสก็อตแลนด์ก็ต้องระวัง เพราะส่วนใหญ่มาตั้งสาขาที่อังกฤษ”

“ด้านสวัสดิการก็ต้องพิจารณาอนาคตกันเอง กองทัพก็ต้องว่ากันใหม่ เพราะนี่ใช้กองทัพรัฐบาลกลางอยู่ เรื่องพรมแดน การอยู่ร่วมกับสหภาพยุโรปจะทำอย่างไร จะไปใช้สถานทูตอังกฤษก็ไม่ได้แล้ว รวมไปถึงพวกทรัพยากรที่เคยร่วมกันใช้ด้วย”

“ผมคิดว่า นี่เป็นปัญหาของสก็อตแลนด์ กับอังกฤษ สำหรับผม และคนไทย ให้มองเชิงโครงสร้างเปลี่ยนแปลงสังคม คือ เขาใช้วิธีโหวต ไม่ยิงกัน ไม่ส่งทหารเข้าไปแบบยูเครน-รัสเซีย เขาโหวตอย่างเดียว ไม่มีในรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ความรู้สึกนั้นถือว่าถูกต้อง หากสก็อตแลนด์แยกตัวเป็นประเทศ พรรคเนชั่นแนลลิสต์สก็อตแลนด์ จะเขียนรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร ดูสิ เขาไม่ต้องเขียนในรัฐธรรมนูญ เขาคิดว่าอะไรควรไม่ควร และต้องใช้กฎหมาย”

“ประเด็นที่ใหญ่กว่านั้นที่สังเกต ถ้าการโหวตพรุ่งนี้เป็นเยส สก็อตแลนด์แยกประเทศ จะสร้างตัวอย่างให้ชาติอื่นเอาตามบ้าง เช่น แคว้นคาตาโลเนีย ของสเปน ที่เรียกร้องให้โหวตแยกประเทศ นอกจากนี้ในการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก จะแข่งขันกันอย่างไร ต่อไปจะมีโอลิมปิกที่บราซิล ใครจะไป”

“ผมเคยไปเรียนที่อินเดีย พบว่า ในทางรัฐศาสตร์ อินเดียพร้อมแยกเป็นประเทศเกือบ 30 แห่ง รัฐต่าง ๆ ในอินเดีย คือแคว้นมหาราชาในอดีตทั้งสิ้น บวกลบกว่า 30 รัฐ ที่อาจแยกเป็นประเทศ เช่น แคว้นปัญจาบ แคว้นแคชเมียร์ เป็นต้น อันนี้ทางรัฐศาสตร์ถือว่าจะสร้างแบบอย่างให้โลกมึนว่าจะเอาอย่างไร

“ผมเห็นแก่ความสงบชั่วคราว หวังว่าโหวตโนจะชนะแบบเชือดเฉือน ไม่ห่างกันมากนัก น่าจะต่างกันประมาณร้อยละ 51 ต่อ 49”

ทั้งหมดนี้คือการวิเคราะห์หน้าประวัติศาสตร์โลกสำคัญบทใหม่อย่างกรณีการลงประชามติแบ่งแยกประเทศสก็อตแลนด์ และอังกฤษ ในมุมมองของ ดร.สมเกียรติ

แต่ท้ายสุด สก็อตแลนด์จะได้แยกประเทศหรือไม่ ต้องติดตามผลลงประชามติวันพรุ่งนี้ อย่างใกล้ชิด!

โดยisranews

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 06:56 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

Hot Issue:โพลล์ล่าสุดชี้ชัด ฝ่ายคัดค้านการแยกตัวในสกอตแลนด์ส่อคว้าชัย พบปรากฏการณ์พวกโหวต “Yes” เปลี่ยนใจนาทีสุดท้ายอื้อ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์19 กันยายน 2557 05:34 น.


Hot Issue:โพลล์ล่าสุดชี้ชัด ฝ่ายคัดค้านการแยกตัวในสกอตแลนด์ส่อคว้าชัย พบปรากฏการณ์พวกโหวต “Yes” เปลี่ยนใจนาทีสุดท้ายอื้อ

เอเจนซีส์/ASTV ผู้จัดการออนไลน์-ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวสกอตติชล่าสุด ที่จัดทำโดยสำนักวิจัย “ยูกอฟ” ในวันเดียวกับการจัดลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ 18 กันยายนบ่งชี้ว่า ฝ่ายสนับสนุนการคงอยู่ร่วมกับสหราชอาณาจักรต่อไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 54 ส่อเค้าได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายที่หนุนการแยกตัวเป็นเอกราช ที่มีสัดส่วนล่าสุดเพียงร้อยละ 46

ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดของยูกอฟ ซึ่งทำการรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างชาวสกอตติชจำนวน 1,828 คนและยังไม่ถือเป็น “เอ็กซิท โพลล์” เต็มรูปแบบระบุว่าผลสำรวจความคิดเห็นที่ออกมาล่าสุดบ่งชี้ว่า ได้เกิดปรากฏการณ์ของการ “เปลี่ยนใจ” อย่างสำคัญที่ทำให้กลุ่มที่เคยหนุนการแยกตัวเป็นเอกราช หันไปลงคะแนนโหวต “No” ในนาทีสุดท้าย

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้คะแนนเสียงของฝ่ายที่คัดค้านการแยกตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 54 ทิ้งห่างคะแนนเสียงของฝ่ายที่ต้องการแยกตัวถึง 8 จุด และนั่นหมายความว่ามีโอกาสสูงยิ่ง ที่สกอตแลนด์จะยังคงรวมเป็นส่วนหนึ่งกับ สหราชอาณาจักรต่อไปเช่นเดียวกับ 307 ปีที่ผ่านมา

ในขณะที่ผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการนั้น คาดว่าจะมีการประกาศออกมาภายในช่วงเช้าวันศุกร์ (19) ตามเวลาท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์จากหลายสำนักต่างลงความเห็นว่า สัดส่วนของผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะโหวต “Yes” หรือ “No” ที่คาดว่า มีจำนวนสูงถึง 600,000 รายในช่วงก่อนเปิดหีบนั้น จะถือเป็น “ปัจจัยชี้ขาด” ต่ออนาคตของสกอตแลนด์

ในอีกด้านหนึ่ง ผลสำรวจออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ “What Scotland Thinks” ที่มีการเผยแพร่ล่าสุดในวันพฤหัสบดี (18) ระบุ คะแนนเสียงของฝ่ายที่คัดค้านการแยกตัวอยู่ที่ร้อยละ 52 ส่วนคะแนนเสียงของฝ่ายหนุนเอกราชอยู่ที่ระดับร้อยละ 48


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สกอตแลนด์-ลงประชามติตัดสินอนาคตตัวเองวันนี้

วันนี้ จะเป็นวันประวัติศาสตร์ของสกอตแลนด์ ที่จะมีการลงประชามติตัดสินอนาคตตนเองว่าจะแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรหรือไม่ หลังอยู่ร่วมมานาน 307 ปี ขณะที่ผู้นำหลายชาติ ต่างออกมาเตือนว่าสกอตแลนด์จะต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง หากแยกตัวเป็นเอกราช

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 ชั่วโมง ที่ชาวสกอตจะได้ออกมาใช้สิทธิ์เพื่อเลือกอนาคตของตนว่า จะแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรหรือไม่ โดยคูหาจะเปิดตั้งแต่เวลา 07.00 น.- 22.00 น.วันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 13.00 -04.00 น.ตามเวลาประเทศไทย คาดกันว่า ตัวเลขผู้ออกไปใช้สิทธิ์จะสูงเป็นประวัติการณ์ ถึง 80 เปอร์เซ็นต์

รายงานระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์ ทั้งหมด 4,285,323 คน คิดเป็น 97 เปอร์เซ็นต์ จากผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด นับเป็นจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ์มากที่สุดของสกอตแลนด์ ขณะที่ผลประชามติจะทราบได้ตั้งแต่เวลา 06.30 น.พรุ่งนี้ ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 12.30 น.ตามเวลาประเทศไทย

ขณะที่บรรยากาศการหาเสียงในวันสุดท้าย เมื่อวานนี้ ฝ่ายที่สนับสนุนให้สกอตแลนด์แยกตัว ต้องทุ่มเทอย่างหนักเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ ที่มีประมาณ 600,000 คน หันมาโหวตเยสให้ได้ โดย นายอเล็กซ์ ซัลมอนด์ รัฐมนตรีคนที่หนึ่งจากพรรคชาตินิยมสกอตแลนด์ ได้ร้องขอชาวสกอตไขว่คว้าโอกาสนี้ในการเลือกอนาคตตนเอง

อย่างไรก็ตาม ผู้นำหลายชาติโดยเฉพาะในยุโรป ออกมาเตือนชาวสกอตว่าจะต้องเผชิญปัญหาอะไรบ้าง หากแยกตัวเป็นเอกราช โดยเฉพาะผู้นำสเปน ถึงกับเตือนว่าการลงประชามติแยกตัวของสกอตแลนด์ เป็นสเมือนตอร์ปิโด ที่กำลังทำลายรากฐานของยุโรป และ จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

โพลล์แต่ละสำนักที่จัดทำก่อนการลงประชามติครั้งประวัติศาสตร์จะเริ่มขึ้น

หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายหาเสียงกันอย่างเข้มข้น โพลล์เกือบจะทุกสำนักชี้ไปในทิศทางเดียวกัน คือ โหวต No หรือ คัดค้านการแยกตัวจากสหราชอาณาจักร ยังคงมีคะแนนนำโหวต Yes แม้จะไม่นำขาดก็ตาม

โดยมี 5 สำนัก ที่ผลการสำราจออกมาตัวเลขเดียวกัน ได้แก่ YouGov ,Panelbase ,Survation ,Opinium และ ICM คือ โหวต No 52 เปอร์เซ็นต์ โหวต Yes 48 เปอร์เซ็นต์ ส่วน Undecided หรือยังไม่ตัดสินใจ อยู่ระหว่าง 8-14 เปอร์เซ็นต์

ส่วนโพลล์ของ Ipsos Mori ผลการสำรวจจะใกล้เคียงกว่า 5 สำนักก่อนหน้านี้คือ โหวต No 51 เปอร์เซ็นต์ โหวต Yes 49 เปอร์เซ็นต์

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:16 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

รายงานพิเศษ..แผนพัฒนาสกอตแลนด์ทั้งฝั่งโหวต Yes และ No
ทั้งฝ่ายสนับสนุน และคัดค้าน การแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ ต่างพยายามชูแผนพัฒนาต่างๆ เพื่อโน้มน้าวให้ชาวสกอต ตัดสินใจเพื่ออนาคตที่ดีกว่า

ฝ่าย Vote Yes หรือ ฝ่ายที่หนุนการแยกตัว ซึ่งรณรงค์ภายใต้แคมเปญ "Yes, Scotland" ระบุว่า เอกราชเป็นเพียงทางเดียวที่จะทำให้สกอตแลนด์ มีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ทั้งการสร้างงาน การจัดเก็บภาษี ระบบสวัสดิการ และ สาธารณสุข

และ เชื่อมั่นว่าสกอตแลนด์ มีศักยภาพพอที่จะเป็นรัฐอิสระ ทั้งทรัพยากรจากน้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล ในทะเลเหนือ มูลค่า GDP เฉลี่ยต่อหัวของชาวสกอตแลนด์ เมื่อรวมรายได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติแล้ว ก็สูงกว่าคนในสหราชอาณาจักร ขณะที่อัตราการว่างงานยังต่ำที่สุด และ มีคนวัยทำงานสูงถึง 3.5 ล้านคน

ขณะที่ฝ่าย Vote No ซึ่งใช้แคมเปญ "Better Together" แม้จะไม่ได้รณรงค์มากนักในช่วงแรก แต่หลังจากที่ชาวสกอต เริ่มมีแนวโน้มต้องการแยกตัวจากสหราชอาณาจักรมากขึ้น ทำให้พรรคการเมืองสำคัญ 3 พรรคของอังกฤษ เสนอแผนที่จะออกนโยบายกระจายอำนาจให้กับสกอตแลนด์มากขึ้น ทั้งเรื่องสาธารณสุข ระบบบำนาญ ภาษี และ ยืนยันว่าการอยู่ในสหราชอาณาจักร จะรับประกันโอกาส และความมั่นคงในการแบ่งปันทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ เชื่อว่าการลงประชามติครั้งนี้เป็นบทเรียนสำคัญ ที่สหราชอาณาจักรจะต้องกระจายอำนาจสู่สกอตแลนด์มากขึ้น


วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลา 11:27:49 น.

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จะทราบผลตอนเที่ยงวัันนี้ครับ...

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:18 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คะแนสูสีกันมากครับ..

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:22 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความเป็นมาของธงสหราชอาณาจักร
ธงยูเนียนแจ็คของสหราชอาณาจักร มีที่มาอย่างไร?

ตามรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรแห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 927 ได้มีการผนวกกับเวลส์ และ รวมกับราชอาณาจักรแห่งสกอตแลนด์ ปี 1707

นี่เป็นการถือกำเนิดของธงชาติ ยูเนียน แจ็ค ครั้งแรก และการผนวกครั้งนี้ทำให้เกิดบริเทนใหญ่ และ ในปี 1801 ราชอาณาจักรไอร์แลนด์ เข้ามารวมกับ บริเทนใหญ่ ทำให้เกิดสหราชอาณาจักรขึ้น

การรวมตัวนี้เอง ทำให้เกิดธงยูเนียน แจ็ค โฉมใหม่ขึ้น เมื่อนำธงชาติของ 3 อาณาจักร มารวมกัน และถูกนำมาใช้จนถึงปัจจุบันนี้

ในปี 1922 ไอร์แลนด์ได้แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร แต่สีของธงยูเนียน แจ็ค ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจาก ไอร์แลนด์เหนือ ยังผนวกอยู่ในสหราชอาณาจักร

และสิ่งจับตาต่อไป ว่าธงยูเนียนแจ็ค จะคงเหมือนเดิมอยู่หรือไม่ คงต้องรอดูผลการลงประชาชาติของชาวสกอตแลนด์ ในวันที่ 18 กันยายนนี้ เพราะยังไม่รู้ว่าชาวสกอตแลนด์ ต้องการคงอยู่ในสหราชอาณาจักร หรือ จะแยกตัวออกไป และหากสกอตต้องแยกตัวออกไป ธงยูเนียน แจ็ค อาจมีหน้าตาที่เปลี่ยนไปจากเดิมก็เป็นได้


วันที่ 18 กันยายน 2557 เวลา 11:38:42 น.


ครอบครัวข่าว 3

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 07:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ชาวสกอตออกไปใช้สิทธิทำประชามติครั้งสำคัญ เพื่อตัดสินอนาคตของสกอตแลนด์ว่าจะอยู่ หรือจะแยกจากสหราชอาณาจักร โดยจะรู้ผลในเช้าวันนี้

การลงคะแนนเสียงเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00-22.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นวานนี้ หรือ 13.00-04.00 น.ที่ผ่านมา ตามเวลาประเทศไทย

โดยอเล็กซ์ ซัลมอนด์ รัฐมนตรีคนที่หนึ่งของสกอตแลนด์ ซึ่งนำขบวนรณรงค์ให้แยกประเทศ หรือ ’Yes Scotland’ ได้ไปใช้สิทธิตั้งแต่เช้าที่เมืองอาเบอร์ดีนไชร์ ขณะที่อลิสแตร์ ดาร์ลิง จากพรรคแรงงาน ซึ่งสนับสนุนให้อยู่กับอังกฤษต่อไป หรือ ’Better Together’ ไปลงคะแนนที่เมืองเอดินเบอระ ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ไปลงคะแนนที่เมืองเคิร์กคัลดี้

การทำประชามติครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการขยายสิทธิลงคะแนนเสียงให้ชาวสกอตที่มีอายุ 16 ปี และคนอายุ 17 ปีที่อาศัยในสกอตแลนด์ โดยมีคนอายุน้อยกว่า 18 ปีลงทะเบียนขอใช้สิทธิเกือบ 110,000 คน

สำหรับผู้มีสิทธิทำประชามติไม่จำเป็นต้องเป็นพลเรือนอังกฤษเท่านั้น พลเรือนเครือจักรภพ, ไอริช และอียู ที่อยู่ในสกอตแลนด์ และลงทะเบียนขอใช้สิทธิ ก็ไปลงคะแนนเสียงได้เช่นกัน ในขณะที่ชาวสกอตที่อาศัยอยู่นอกสกอตแลนด์ ไม่มีสิทธิออกเสียง

ส่วนผลประชามติคาดว่า จะประกาศเวลา 06.30 น.ในวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 12.30 น.ตามเวลาประเทศไทย ซึงหากผลชี้ว่า Yes Scotland เป็นฝ่ายชนะ สกอตแลนด์ก็จะเป็นเอกราชในวันที่ 24 มีนาคม ปี 2016 ครบรอบ 309 ปีวันที่สกอตแลนด์ ตัดสินใจรวมประเทศกับอังกฤษ เมื่อปี 1707


วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 06:29:07 น.

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 19 ก.ย. 14, 12:36 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

เปิดฉากแล้ว! สก๊อตแลนด์เริ่มนับผลประชามติ "โหวตโน"คัดค้านแยกตัวจากอังกฤษ มีคะแนนนำ คาด"ชนะ"
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 เวลา 10:35:42 น.




สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สก๊อตแลนด์ได้เริ่มนับผลการลงประชามติประเด็นการแยกตัวของสก๊อตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักรแล้ว ผลการนับคะแนนถึงขณะนี้ ปรากฎว่า คะแนนโหวตโน หรือคัดค้าน เป็นฝ่ายนำ คะแนนโหวตสนับสนุน ด้วยคะแนน 1.397,000 ล้านเสียง ต่อ 1,1176,000 เสียง หรือราว 54 ต่อ 46 เปอร์เซนต์ โดยบีบีซีพยากรณ์ว่า คะแนน"โหวตโน"จะเป็นฝ่ายชนะ"โหวตเยส"

โดยผลคะแนนการลงประชามติในเบื้องต้นนับเสร็จสิ้นแล้วเขตจากทั้งหมด 32 เขต ซึ่งมีเขต คลากแมนแนนเชียร์ เคาน์ตี้เป็นเขตแรกโดยแต่ละเขตเริ่มทะยอยส่งผลการนับคะแนนมายังส่วนกลาง เบื้องต้นประชาชนจากเขต คลากแมนแนเชียร์ เคาน์ตี้ โหวต ′โน′ 19,036 เสียง และโหวต ′เยส′ 16,350 เสียง

รายงานระบุว่า ในการนับคะแนนของเขตแรกที่มีขึ้นที่เมืองคล๊าคแมนแนนเชียร์ ปรากฎว่า ผลประชามติคัดค้านการแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักร ปรากฎว่า มีผู้โหวตคัดค้านเป็นจำนวน 19,036 เสียง และโหวตสนับสนุนจำนวน 16,350 เสียง จากจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ 89 เปอรฺ์เซนต์ เช่นเดียวกับผลการนับคะแนนที่มืองโอ๊คนีย์และเชลแลนด์ รวมทั้งเมืองเวสเทิร์น ไอลส์ ที่ผลออกมา 10,544 ต่อ 9,195 เสียง คัดค้านการแยกสก๊อตแลนด์ออกจากสหราชอาณาจักร

ขณะที่ผลการนับคะแนนของเมืองกลาสโกว์ เมืองใหญ่ที่สุดของสก๊อตแลนด์ ปรากฎว่า คะแนนโหวตสนับสนุน เป็นฝ่ายชนะเหนือฝ่ายคัดค้าน

ขณะที่เดลี่ เทเลกราฟ รายงานว่า ชัยชนะของเมืองกลาสโกว์ ไม่เพียงพอที่จะทำให้ผลการโหวตสนับสนุนมีชัยเหนือฝ่ายคัดค้าน โดยการโหวตครั้งนี้ ฝ่ายคัดค้านการแยกตัวจะชนะฝ่ายสนับสนุน ขณะเดียวกัน เงินปอนด์ของอังกฤษ ก็ได้แข็งค่าขึ้น หลังจากมีแนวโน้มว่า สก๊อตแลนด์จะโหวตคัดค้านการแยกตัวจากอังกฤษ มากกว่าโหวตสนับสนุน

ขณะเดียวกัน "ยูโกฟ"ผู้จัดทำโพล ได้พยากรณ์ว่า ผลประชามติครั้งนี้ ชาวสก๊อตแลนด์ จะโหวตคัดค้านสก๊อตแลนด์แยกตัวจากสหราชอาณาจักร หรืออังกฤษ ด้วยคะแนน 54 ต่อ 46 เปอร์เซนต์ ภายหลังได้สอบถามผู้ใช้สิทธิจำนวน 1,828 คน ภายหลังหย่อนบัตร โดยยูโกฟระบุว่า การพยากรณ์ดังกล่าวสอดรับกับผลสำรวจล่าสุดที่พบว่า คะแนนโหวตโนจะพลิกมานำโหวตสนับสนุนเล็กน้อยก่อนหน้านี้ โดยกลุ่มผู้โหวตโนน่าจะออกมาใช้สิทธิมากกว่ากลุ่มโหวตสนับสนุน


มติชนออนไลท์

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม