หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: GSMA ผลักดันรัฐบาลไทยกำหนดคลื่นความถี่ซึ่งใช้รับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบดิจิตอล  (อ่าน 43 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 20 มิ.ย. 13, 13:42 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

- สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เสนอแนะแนวทางพัฒนาแผนการสำหรับการใช้โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และการกำหนดคลื่นความถี่ ‘Digital Dividend’สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารแบบเคลื่อนที่

ขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้าคอยการตัดสินใจของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดประมูลย่านความถี่ของคลื่นวิทยุแก่ผู้ให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตอล สมาคมจีเอสเอ็ม (The GSM Association: GSMA) ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) แบบเคลื่อนที่ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับคลื่นวิทยุขององค์การโทรคมนาคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก (Asia Pacific Telecommunity: APT)

“นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย และไม่ว่า กสทช. จะกำหนดคลื่นความถี่สำหรับการสื่อสารไร้สายซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออาจเลือกที่แตกต่างไปจากภูมิภาค ก็ล้วนนำไปสู่ผลลัพธ์ราคาแพงสำหรับประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน” ทอม ฟิลลิปส์ (Tom Phillips) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่าย Government and Regulatory Affairs ของ GSMA กล่าว “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า การเลือกความถี่สำหรับให้บริการระบบดิจิตอลสำหรับการสื่อสารเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้คนไทยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ตลอดจนนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมอันใหญ่หลวงต่อประเทศ และภูมิภาค”

ทั้งนี้ กสทช. เผชิญกับคำถามที่ว่า จะกำหนดคลื่นความถี่อิสระได้อย่างไร เมื่อมีการปรับเปลี่ยนการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภาคพื้นดิน (digital terrestrial television: DTT) หรือที่เรียกว่า ‘Digital Dividend’ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของ กสทช. ในเรื่องดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศตามที่ GSMA และบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (BCG) ได้ระบุในรายงานเมื่อเดือนมี.ค. 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งหาก กสทช. เลือกกำหนดความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการการสื่อสารไร้สายตั้งแต่ปี 2558 ก็จะสามารถเพิ่มรายได้แก่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2568 มากกว่าการกำหนดความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบดิจิตัลภาคพื้นดิน (DTT) ถึง 1.48 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังก่อให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55,000 ตำแหน่ง

“การจัดสรรคลื่นความถี่ 700MHz สำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สายไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางสังคมที่ยิ่งใหญ่ รวมถึงการกระจายความมั่งคั่ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บริการด้านการพัฒนา เช่น วงการศึกษา และเฮลธ์แคร์” นายไมเคิล เมเยอร์ (Michael Meyer) หุ้นส่วน และกรรมการผู้จัดการของ BCG กล่าว

ในทางกลับกัน หาก กสทช. ตัดสินใจเลือกใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แทน ก็จะทำให้เกิดปัญหาการแทรกแซงข้ามเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามมา ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย และพม่า ซึ่งคาดว่า จะเลือกคลื่นความถี่ดังกล่าวสำหรับให้บริการด้านการสื่อสารไร้สาย โดยปัญหาที่เกิดขึ้นจะบั่นทอน และลดคุณภาพของบริการให้น้อยลงในบริเวณชายแดนระหว่างประเทศ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งเรื่องคลื่นความถี่อาจส่งผลให้ต้องสูญเสียจีดีพีที่ควรเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งผลให้การสร้างงานใหม่ลดลง 96,000 ตำแหน่ง [1]

คำแนะนำสำหรับหน่วยงานกำกับดูแล

สมาคมจีเอสเอ็มขอเรียกร้องให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทฉบับสมบูรณ์เรื่องการปรับเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ใหม่เป็นระบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเข้าใจ และมีความมั่นใจในระบบนิเวศด้านการสื่อสารไร้สาย โดยเนื้อหาในแผนแม่บทควรประกอบด้วย

1. คำมั่นอย่างเป็นทางการของหน่วยงานในการกำหนดคลื่นความถี่ 700MHz (ช่วงย่านความถี่ 698MHz - 806MHz) สำหรับให้บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านบรอดแบนด์ไร้สาย
2. การปรับใช้แผนแม่บทที่สอดคล้องในระดับภูมิภาค (APT) ซึ่งใช้แผนคลื่นความถี่วิทยุ 700MHz 2x45MHz FDD โดยกำหนดขอบเขตคลื่นความถี่สำหรับให้บริการ DTT ไม่เกิน 694MHz
3. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับการยุติระบบโทรทัศน์แบบอนาล็อก (ASO)
4. นโยบาย และกรอบเวลาสำหรับปรับโครงสร้างคลื่นความถี่สำหรับ DTT ในระดับต่ำกว่า 694MHz

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
[1] รายงานฉบับเดือนมี.ค. 2556 เรื่อง “Socio-Economic Benefits of Assigning the Digital Dividend to Mobile in Thailand” จัดทำโดยบริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group)

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม