Sanook.commenu

ค้นหา ตรวจหวย ข่าว อีเมล์ ดูทีวีออนไลน์ ฟังเพลงออนไลน์ คลาสสิฟายด์ ริงโทน เกมส์ ดูทั้งหมด »

กระทู้นี้อยู่ในคลังกระทู้ คุณไม่สามารถโพสต์หรือแก้ไขข้อความใดๆ ได้
สนุก! เว็บบอร์ด > หมวดหมู่ > ไร้สังกัด  > เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้ดูแล: withyaw
พิมพ์
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8
ชนิดกระทู้ ผู้เขียน เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ  (อ่าน 21486 ครั้ง)
Guest
เยาวลักษณ์ เชาวลิต
 

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

 
        ผู้ตั้งกระทู้: 26 เม.ย. 13, 00:17 น

ชื่อเรื่อง                      การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน
                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                                โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
ชื่อผู้วิจัย                     นางเยาวลักษณ์   เชาวลิต
ปีที่วิจัย                       2554

บทคัดย่อ
                         
วัตถุประสงค์ของการวิจัย      
    ๑. เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐
   ๒.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  ก่อนและหลังการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน   
   ๓.  เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน   

สมมุติฐานของการวิจัย
๑. หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒  หลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน สูงกว่าก่อนใช้
๓.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  ที่เรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน  ชุด ภาษาพาเพลิน  มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

วิธีดำเนินการ
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๕ โรงเรียนวัดบึงทองหลาง  สำนักงานเขตบางกะปิ  กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  ๒๕๕4  รวมทั้งสิ้นจำนวน  40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี คือ (๑) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน   (๒)  แบบทดสอบก่อนเรียน  และหลังเรียน (๓) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน   นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย  ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลก่อนและหลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน โดยใช้  t-test

   

   ผลการวิจัย 
      ๑)   หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.45/83.80  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  ที่ตั้งไว้ ๘๐/๘๐
      ๒)  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน สูงกว่าก่อนใช้  มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     ๓)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ภาษาพาเพลิน  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.๕๙)


กิจกรรมน่าสนใจจาก สนุกเว็บบอร์ด

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

 
Tags:
Guest
วิไล จันทร์ชนะ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #1: 2 ส.ค. 13, 17:53 น

ชื่อเรื่อง      :   รายงานผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ผู้ศึกษา      :    นางวิไล  จันทร์ชนะ
ปีที่ศึกษา    :    ๒๕๕๖

บทคัดย่อ

   รายงานผลพัฒนาผู้เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖โรงเรียนวัดบางน้ำวน(รอดพิทยาคม)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐  ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย จำนวน ๗ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน ๒๐ ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
   ผลการวิจัยพบว่า
๑.  บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖มีจำนวน ๗ เล่ม  ได้แก่ ๑) เรื่องคำนาม  ๒) เรื่องคสรรพนาม  ๓) เรื่องคำกริยา  ๔) เรื่องคำวิเศษณ์  ๕) เรื่องคำบุพบท  ๖) เรื่องคำสันธาน และ ๗) เรื่องคำอุทาน  ซึ่งบทเรียนสำเร็จรูปมีประสิทธิภาพ  ๘๗.๑๔ / ๙๐.๔๘
๒. นักเรียนมีคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างกัน  โดยมีความรู้ความเข้าใจ  หลังการใช้บทเรียนสำเร็จรูปสูงกว่าก่อนการใช้บทเรียนสำเร็จรูป
๓.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูปชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ  พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและมากที่สุด

Tags:
Guest
นางสาววัฒนา จันทร์ทองสุข
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #2: 17 ส.ค. 13, 23:43 น

ชื่อเรื่อง                  รายงานการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง  หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า      นางสาววัฒนา  จันทร์ทองสุข
ปีการศึกษา            2555

บทคัดย่อ

   การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการสร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์  เรื่อง  หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนกระสังพิทยาคม อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32   จำนวน  46  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( )  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และ  ค่า t – test 

   ผลการศึกษาพบว่า
   1.  ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.21 / 81.38  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้      
   2.  ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีค่าเท่ากับ 0.6823  แสดงว่า  นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.23
   3.  นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง  หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
   4.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง        หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่  1  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #3: 26 ส.ค. 13, 16:49 น

ชื่อเรื่อง    การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  
   ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
ผู้ศึกษา   นางพชรชล  ทาดทา
สถานที่ทำงาน   โรงเรียนชืนชมพิทยาคาร  อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
ปีที่พิมพ์   2556

บทคัดย่อ

   การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิง
ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2) หาดัชนีประสิทธิผลชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E)  ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี   เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนเขาพระนอนวิทยาคม  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554 จำนวน  36  คน  ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์   แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4  ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30  ถึง 0.98  และค่าความยากง่าย  ตั้งแต่  0.33  ถึง  0.85  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.91  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  จำนวน  16  ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที (t-test)




                ผลการศึกษาพบว่า
   1. ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัด
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.12/83.54 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
   2. ดัชนีประสิทธิผลชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง  เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์   ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6   มีค่าเท่ากับ 0.7943 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 79.43
   3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้วิชาเคมี  
เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์  ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55)

Tags:
Guest
พายุ วรรัตน์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #4: 27 ส.ค. 13, 23:27 น

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
            โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์  อำเภอกุฉินารายณ์  จังหวัดกาฬสินธุ์
              องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์    
ผู้วิจัย            นายพายุ  วรรัตน์
หน่วยงาน                โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์   อำเภอกุฉินารายณ์
                                 จังหวัดกาฬสินธุ์   องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่พิมพ์                   2555

บทคัดย่อ

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น  โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action  Research)  กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนา  คือ  การอบรมเชิงปฏิบัติการ   การสนทนากลุ่ม  การศึกษาโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ         การนิเทศ  และการเผยแพร่ผลงาน    มีการดำเนินการพัฒนา  2 วงรอบ  แต่ละวงรอบประกอบด้วย  การวางแผน (Planning)  การปฏิบัติ  (Action)  การสังเกต (Observation)  และการสะท้อนผล  (Reflection)  ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  30  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบทดสอบ  แบบประเมินผล  แบบสังเกต  แบบสัมภาษณ์   การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสถิติใช้ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า  (Traiangulation  Technique)  แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
                ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน  หลังจากดำเนินการพัฒนา             ทั้ง 2 วงรอบ  ผู้วิจัยได้  สรุปผลการพัฒนาเป็น 3 ด้าน ดังนี้      
      1. ด้านความรู้ ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน หลังการพัฒนา  โดยการอบรม             เชิงปฏิบัติการ  พบว่า  ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้นผลการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย  12.70  และผลการทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย  23.63   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ได้ค่าเฉลี่ยของความแตกต่าง   (  = 10.93) สถิติทดสอบ t-test  ได้เท่ากับ 18.03, df =29  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม
     2.  ด้านการปฏิบัติในการทำวิจัยในชั้นเรียน  จากการนิเทศ  กำกับ  ติดตามการทำวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มเป้าหมาย  พบว่า  กลุ่มเป้าหมายทุกคนสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้เป็นผลสำเร็จ  ทั้ง  6  ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนการปฏิบัติในการทำวิจัยของกลุ่มเป้าหมาย โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด  3 อันดับแรกคือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.80  ขั้นตอนการกำหนดคำถาม   มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.77   ขั้นตอนการตั้งข้อสงสัย  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.60 และขั้นตอนการทำความเข้าใจอยู่อันดับต่ำสุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.20 
                     3. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จากการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน
ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวม
ของนักเรียนทุกระดับชั้น  หลังการพัฒนาศักยภาพครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน  (ปีการศึกษา  2555)   สูงกว่าก่อนพัฒนา  (ปีการศึกษา  2554)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนจุมจังพลังราษฎร์  อำเภอกุฉินารายณ์จังหวัดกาฬสินธุ์  ในปีการศึกษา  2555 มีค่าเฉลี่ย             สูงกว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2554  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #5: 30 ก.ย. 13, 16:17 น

ชื่อเรื่อง        รายงานการพัฒนาและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค รหัส      ส 30207  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
ผู้ศึกษา   นางสาวทับทิม  พุ่มคล้าย
ปีการศึกษา   2556

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค  รายวิชาเพิ่มเติม  มีวัตถุประสงค์เพื่อ          1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่องการประกันภัย รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองหลังสวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11  ให้สูงขึ้น และ  3)  ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน   เมืองหลังสวน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนเมืองหลังสวน จำนวน 35 คน ใช้เวลาสอน 15 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  1)  เอกสารประกอบการเรียน เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค รายวิชาเพิ่มเติม  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค  รายวิชาเพิ่มเติม  3)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนเรื่องการประกันภัย รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่  ค่าร้อยละ (%)  ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที ( t – test)  แบบ Dependent  และการหาประสิทธิภาพ  E1/E2
ผลการศึกษาพบว่า
1.   เอกสารประกอบการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม     เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค  รายวิชาเพิ่มเติม  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนเมืองหลังสวน  ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.63/83.80  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม  เรื่องการประกันภัย  รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค  รายวิชาเพิ่มเติม  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียน             เมืองหลังสวน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  
3.   นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่องการประกันภัย รายวิชาการคุ้มครองผู้บริโภค รายวิชาเพิ่มเติม โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #6: 13 ต.ค. 13, 14:25 น

ชื่อเรื่อง                รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา
                           คณิตศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                          
ผู้รายงาน            นางโชติกา    แก้วผลึก
ตำแหน่ง             ครู วิทยฐานะชำนาญการ   โรงเรียนบ้านไร่ใหม่พัฒนา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                           ประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2  
ปีที่ทำการศึกษา   2554
บทคัดย่อ      

           การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะ     เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน             ที่กำหนด  80/80   2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านไร่ใหม่พัฒนา  อำเภอชะอำ   จังหวัดเพชรบุรี   สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2                       ปีการศึกษา 2554    จำนวน 11   คน  จำนวน  1  ห้องเรียน
           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง  การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ชนิดปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน  30  ข้อ  2) แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย เล่มที่ 1  การแก้โจทย์ปัญหาการบวก  เล่มที่ 2  การแก้โจทย์ปัญหาการลบ  เล่มที่ 3  การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน  เล่มที่ 4  การแก้โจทย์ปัญหาการคูณ  เล่มที่ 5  การแก้โจทย์ปัญหาการหาร  และเล่มที่ 6  การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน                    3) แบบสอบถามความความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย         ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเชื่อมั่น  ค่าความยากง่าย  ค่าอำนาจจำแนก  ค่า  IOC และการทดสอบค่า t
            ผลการศึกษาการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  พบว่า  
             1.  แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ  81.84 /83.03   สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  80/80  
            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละหลังเรียนเท่ากับ  82.73  คะแนนร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ  42.12  และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
             3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าระดับความพึงพอใจเฉลี่ย ( ) เท่ากับ  4.92











Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #7: 24 ต.ค. 13, 12:10 น

บทคัดย่อ

กาญจนา  อนุเพชร  :  ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการ  (Project Approach)โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์     สำหรับเด็กนักเรียน
ชั้นอนุบาลปีที่ 1  โรงเรียนสหวิทยาคม

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย  1)  เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) ให้มีประสิทธิ ภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80      2) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1                        โรงเรียนสหวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร  เขต 1  ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach)      ประชากร คือ  นักเรียนชั้นอนุบาล    ปีที่  1  โรงเรียนสหวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร  เขต 1  อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555 จำนวน  15  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  1.  แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach)   2.  แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  จำนวน  2  ชุด  ชุดละ  20  ข้อ

ผลการศึกษาค้นคว้า  พบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย  กล้วย  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  95.56 / 90.33
2. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) หน่วย  ทุ่งนา  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  92.31 / 87.67
3.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project  Approach) หน่วย  กล้วย  มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัย
4.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project  Approach)  หน่วย       ทุ่งนา  มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัย


Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #8: 26 ต.ค. 13, 21:10 น

ชื่อเรื่อง          รายงานการประเมินโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง
ผู้ประเมิน      สุนิรันดร์  รุ่งเรืองรณชัย 
โรงเรียน      โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
ปีการศึกษา       2555

บทคัดย่อ

   รายงานการประเมินโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ประยุกต์ใช้รูปแบบจำลองซิปป์  (CIPP Model) ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบิม (D.L. Stufflebeam) ในในการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วยการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่าง ใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง  3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง  4) เพื่อประเมินผลผลิต ของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 26 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 71  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) ผลการประเมิน ปรากฏผล ดังนี้
ผลการประเมินโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.23, σ = 0.52)  ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.54) และด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.52) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.49) และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10, σ = 0.53) ตามลำดับ

   1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.31, σ = 0.54) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมหรือเพียงพออยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
   
   3. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมหรือเพียงพออยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
   
                 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการธรรมนำทาง จิตสว่างใจบริสุทธิ์ โรงเรียนบ้านหนองหญ้ามุ้ง ประเมินโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก (μ = 4.10,σ = 0.54) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
   

Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานวิชาการ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #9: 31 ต.ค. 13, 19:17 น

ชื่อเรื่อง   การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระ
            เปลี่ยนรูป   โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระการเรียนรู้  
            ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย                   นางวาสนา   ไชยชำ
ประเภทผลงานวิชาการ    ผลงานวิจัย

บทคัดย่อ                          
           
      จุดมุ่งหมายของการวิจัยนี้  (1)  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ ของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  (2)  เพื่อศึกษาผล
การใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย  (2.1)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย แบบฝึกทักษะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  (2.2)   เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และ (3)  เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดย  การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ประกอบด้วย  1)  กลุ่มตัวอย่างเพื่อการพัฒนาแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  
คือ 1.1  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2553  จำนวน 3 คน ใช้สำหรับการทดสอบทีละคน (One to One Testing)  1.2  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  จำนวน 9 คน  ใช้สำหรับการทดสอบกลุ่มเล็ก (Small Group Testing)  1.3 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบภาคสนาม ( Field  Testing) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์
เขต 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554   จำนวน  23  คน  2)  กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะและประเมินความพึงพอใจ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2555  จำนวน 22 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและ
สระเปลี่ยนรูป  จำนวน  10  ชุด   2)  แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  จำนวน  20  แผน  3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4)  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  แต่ละชุด  5)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  และ
การทดสอบค่าที (t-test )
ผลการศึกษาพบว่า
      1.  แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น  โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ  82.13/81.44 ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้
   2.   ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  
โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย
2.1    การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป
โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ E / E  เท่ากับ  86.00/83.03  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
        2.2  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
      2.3  ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  เท่ากับ  0.7332  หมายความว่า  นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ  73.32
   3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง สระลดรูปและสระเปลี่ยนรูป  โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  กลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา  

Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานวิชาการ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #10: 31 ต.ค. 13, 19:23 น

ชื่อเรื่อง        ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่าน
                แบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
              กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย      นางวาสนา   ไชยชำ
ประเภทผลงานวิชาการ    ผลงานวิชาการ

บทคัดย่อ

      การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีความมุ่งหมาย  ดังนี้ คือ  1. พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  และที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2.  ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   3.  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  และ  4.  ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและ
การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
      กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์  เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2554  จำนวน 23  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  คู่มือการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  จำนวน  20  แผน ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับ  มากที่สุด  แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R จำนวน  10  ชุด มีคุณภาพอยู่ในระดับ  มากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิดเลือกตอบ  3  ตัวเลือก จำนวน  30  ข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.26 - 0.89  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  0.83  สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบสมมุติฐานใช้การทดสอบค่าที t-test  (Dependent Sample)  ผลการศึกษา พบว่า
            1.  การวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.19/83.62  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
            2.  ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   มีความรู้  0.7315  หรือคิดเป็นร้อยละ 73.15
        3. การเปรียบเทียบผลการประเมินนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
        4.  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R  ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   นักเรียนเข้าใจขั้นตอนการอ่านแบบ SQ3R  ดีมาก  มีกระบวนการทำงานกลุ่มดี  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันภายในกลุ่มทั้ง คนเก่ง ปานกลาง และอ่อน สามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น จับใจความสำคัญและสรุปประเด็นจากเรื่องที่อ่านได้ มีความกระตือรือร้น ตั้งใจเรียน กล้าแสดงออก และสนใจร่วมกิจกรรม จากผลการประเมินพฤติกรรมการเรียนระหว่างเรียน และการทำแบบทดสอบหลังเรียนทุกแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  พบว่า  นักเรียนได้ผลการประเมิน  เท่ากับ  366.78  จากคะแนนเต็ม  400  คะแนน  ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  84.19 

Tags:
 
Tags:
Guest
นายอดุลย์ พูลวานิช
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #11: 2 พ.ย. 13, 06:43 น

ชื่อเรื่อง   การศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ศึกษา       นายอดุลย์  พูลวานิช
ปีที่ศึกษา      ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และดัชนีประสิทธิผล 0.5 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ               ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแปรต้น คือ การเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มเป้าหมาย ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านและการเขียน                คำควบกล้ำ และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่                    คู่มือการใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน            คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เครื่องมือทั้งหมดนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง  วิเคราะห์ข้อมูลการหาประสิทธิภาพและ             ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียน                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สูตร E1/E2 มีเกณฑ์ตัดสินต้องไม่ต่ำกว่า 80/80 และหาค่าดัชนีประสิทธิผล โดยใช้สูตร E.I. มีเกณฑ์ตัดสินต้องไม่ต่ำกว่า 0.5  ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1.   ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 89.84/89.39 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 0.5
2.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 41.36
3.   นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน              คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.40,                      = 0.55) โดยด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ แบบฝึกทักษะช่วยเพิ่มทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำให้กับนักเรียน (  = 5.00,   = 0.00)



Tags:
Guest
ครูเกรียงไกร
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #12: 5 พ.ย. 13, 20:04 น

ชื่อเรื่อง    :    รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA)  เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   
ชื่อผู้ศึกษา   :   นายเกรียงไกร  วงค์จันทร์เสือ
ปีที่ศึกษา   :   ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าแดงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุด คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 9 แผน เวลาเรียน 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (English Reading Comprehension Test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพโดยรวม 84.64/82.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.67 และมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 24.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.50 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63)

Tags:
Guest
ครูเกรียงไกร
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #13: 5 พ.ย. 13, 20:06 น

ชื่อเรื่อง    :    รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA)  เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   
ชื่อผู้ศึกษา   :   นายเกรียงไกร  วงค์จันทร์เสือ
ปีที่ศึกษา   :   ปีการศึกษา 2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าแดงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 ชุด คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 9 แผน เวลาเรียน 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (English Reading Comprehension Test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ดอค (MIA) เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพโดยรวม 84.64/82.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 13.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44.67 และมีคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 24.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.50 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.63)

Tags:
Guest
ศิริกุล (ฝากด้วยค่ะ)
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #14: 21 ธ.ค. 13, 20:47 น

เอกสารประกอบการสอนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศเล่มนี้  ข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  พุทธศักราช  2546  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  โดยเรียบเรียงตรงตามจุดประสงค์รายวิชา  มาตรฐานรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา  ซึ่งจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชาคือเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญ ของห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ สามารถเลือกและรวบรวมสารสนเทศและนำเสนอผลการศึกษา
ค้นคว้าในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบตลอดจนพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีกิจนิสัยในการศึกษา
ค้นคว้า  ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและรักการอ่าน  ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดทำเอกสารประกอบการสอน  คือ  
เป็นสื่อการเรียน ของนักศึกษาอันจะส่งผลให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชา และนักศึกษาสามารถใช้เอกสารประกอบการสอนนี้ในการทบทวนเนื้อหาสาระของ
แต่ละหน่วยการเรียนรู้  ได้อย่างเหมาะสม
   เอกสารประกอบการสอนเล่มนี้  หน่วยการเรียนรู้ที่  1  เรื่อง  สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ  
มีเนื้อหาประกอบด้วย  ความหมายของข้อมูล  สารสนเทศ  ความรู้และภูมิปัญญา ความสำคัญของ
สารสนเทศ  คุณค่าของสารสนเทศ  ลักษณะของสารสนเทศ  ความหมายของการรู้สารสนเทศ  
ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ  องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ  ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ  โดยมีเนื้อหา  แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  มีกิจกรรมระหว่างเรียน  ได้แก่  แบบฝึกหัด  ใบงานและกิจกรรมเสริมการเรียนรู้  ตรงตามหลักสูตรที่นักศึกษาจะได้ศึกษาตามความรู้ต่อไป
   ขอขอบพระคุณ  ดร.กฤษณีย์  อุทุมพร  ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ  หน่วยศึกษานิเทศก์  สำนักงาน  คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ  ที่ให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้  ตลอดจนผู้บริหารของวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีที่ให้การสนับสนุน   การจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอันจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นต่อไป


                             นางศิริกุล คุณากรพันธุ์

Tags:
Guest
ธนาเดช
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #15: 3 ม.ค. 14, 16:28 น

ชื่อเรื่อง      :   รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
ผู้รายงาน      :   นายธนาเดช   โพคทรัพย์
ปีการศึกษา   :   2555

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1. เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80   2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน   3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านช้างคับ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร  เขต 2  ปีการศึกษา  2555 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 11 คน  ที่ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน  จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ         40  ข้อ จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากง่าย  ตั้งแต่  0.47  ถึง  0.77   ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่
0.27 ถึง 0.87  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.95  และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน  1 ฉบับ  ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ  0.72  สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าสถิติที (t-test dependent)
พบว่า  1.  แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้มัธยมศึกษา ปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน มีประสิทธิภาพ  82.07/81.83  2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์         ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ      ที่ระดับ .05  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ในระดับมากที่สุด  

Tags:
Guest
เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #16: 7 ม.ค. 14, 22:15 น

บทคัดย่อ

คำสำคัญ   :    การพัฒนา/ แบบฝึกทักษะ/ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน

หัวข้อการพัฒนา :    การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน สำหรับนักเรียน
                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์

ผู้พัฒนา      :   เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์ 

ปีการศึกษา      :   2553

   การพัฒนาแบบฝึกทักษะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์         ทางการเรียนก่อนการเรียนกับหลังการเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียน ระหว่างการเรียน และหลังการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I) การทดสอบค่าที (t-test) และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

สรุปผลการพัฒนา
   การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน สำหรับนักเรียน           ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ ผู้พัฒนาสรุปผล ดังนี้
    1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.84/81.96
   2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ     การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน มีคะแนนสูงกว่าก่อนการเรียน และมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Tags:
Guest
เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #17: 8 ม.ค. 14, 00:00 น

                                              บทคัดย่อ

คำสำคัญ   :    การพัฒนา/ แบบฝึกทักษะ/ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก        
                      ลบระคน

หัวข้อการพัฒนา :    การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก
                           ลบระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
                           นครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์

ผู้พัฒนา   :   เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์  

ปีการศึกษา   :   2553

   การพัฒนาแบบฝึกทักษะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนกับหลังการเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือทีใช้           ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การบวก  ลบระคน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์             ทางการเรียนก่อนการเรียน ระหว่างการเรียน และหลังการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I) การทดสอบค่าที (t-test)               และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

สรุปผลการพัฒนา
   การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์   ผู้พัฒนาสรุปผล ดังนี้
    1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน              
มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.84/81.96
   2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน มีคะแนนสูงกว่า         ก่อนการเรียน และมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ               ทางสถิติที่ระดับ .05

Tags:
Guest
เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #18: 8 ม.ค. 14, 00:38 น

บทคัดย่อ

คำสำคัญ   :    การพัฒนา/ แบบฝึกทักษะ/ การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน

หัวข้อการพัฒนา :    การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน สำหรับนักเรียน
                         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์

ผู้พัฒนา      :   เพ็ญนภา จุลเจือวงศ์  

ปีการศึกษา      :   2553

   การพัฒนาแบบฝึกทักษะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียนกับหลังการเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาแบบฝึกทักษะ ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการเรียน ระหว่างการเรียน และหลังการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index: E.I) การทดสอบค่าที (t-test) และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

สรุปผลการพัฒนา
   การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน สำหรับนักเรียน           ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครนนท์วิทยา 3 วัดนครอินทร์ ผู้พัฒนาสรุปผล ดังนี้
    1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 โดยมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.84/81.96
   2. คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ     การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบระคน มีคะแนนสูงกว่าก่อนการเรียน และมีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Tags:
Guest
เฉิดฉันท์ กองทอง
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #19: 4 ก.พ. 14, 16:16 น

ชื่อเรื่อง   รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน  เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

ชื่อผู้ศึกษา        เฉิดฉันท์  กองทอง    

ปีที่ศึกษา   2555

บทคัดย่อ

รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน  เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน   2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน  และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน   กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ   พลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ปีการศึกษา  2555 โรงเรียนบ้านบนนา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ จำนวน 20 คน แบ่งเป็นนักเรียนชาย จำนวน 13 คน นักเรียนหญิง  จำนวน 7 คน  เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาประกอบด้วย  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน จำนวน 6 เล่ม  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน จำนวน 14 แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ       การเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง  การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา          ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบ   การเรียน หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

   สรุปผลการศึกษา
   1.  ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน  เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ   (E1 / E2 )  เท่ากับ  84.02/84.67 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ที่ได้กำหนดไว้ 
   2.  ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน   เรื่อง  การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่า  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 10.80  และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  25.40  และมีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  14.60 
                 3.  ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปฐมพยาบาลในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ      พลศึกษา   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  พบว่า  ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดในด้าน   ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน ( = 4.57) รองลงมา คือ ด้านเนื้อหาของเอกสารประกอบ   การเรียน ( = 4.51) และด้านส่วนประกอบของเอกสารประกอบการเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.15)

Tags:
Guest
ขอเผยแพร่ผลงาน
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #20: 20 ก.พ. 14, 09:15 น

ชื่อเรื่อง   รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้
                ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน      นางอาทิตยา  นิพนต์
ชื่อหน่วยงาน      โรงเรียนบ้านวังน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
                        กำแพงเพชร เขต 2
ปีการศึกษา      255ุ6
                                           บทคัดย่อ

         รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 10 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านวังน้ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ผู้รายงานได้รับมอบหมายให้สอนและเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 6 เล่ม 2) แบบประเมินความเหมาะสมแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ
ความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน
30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)  ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (rtt) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และสถิติทดสอบสมมุติฐาน t - test แบบ Dependent Samples
   ผลการศึกษา พบว่า  แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.26/83.33
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ชุด Free time กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก

Tags:
Guest
เสรี เพชรมณีจันทร์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #21: 28 ก.พ. 14, 19:15 น

คำนำ

   ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลชุดนี้  จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โดยสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนกีฬาวอลเลย์บอล  ประกอบด้วยพื้นฐานการเล่น  กติกาต่าง ๆ และเทคนิคของการเล่นวอลเลย์บอล  โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติมีทักษะกระบวนการกลุ่ม  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน   ชุดกิจกรรมฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลมีทั้งหมด  5  ชุด
      ชุดที่  1     ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล
      ชุดที่  2      หลักการฝึกกีฬาวอลเลย์บอล
      ชุดที่  3      การฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลเบื้องต้น
      ชุดที่  4      การฝึกเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเป็นทีม
      ชุดที่  5      กติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลเบื้องต้น
   ในชุดที่  1  เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล  ประกอบด้วย  กรอบเนื้อหา  ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล  สนามและอุปกรณ์  และมีกรอบกิจกรรม  ได้แก่  กิจกรรมกระตุ้นร่างกาย  (เกมลิงชิงบอล)  กิจกรรมรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่ม
   ผู้จัดทำหวังว่าชุดกิจกรรมฝึกทักษะกีฬาวอลเลย์บอลชุดนี้  จะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาวอลเลย์บอลให้กับนักเรียนได้ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรและเป็นประโยชน์ต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  และกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้ตามสมควร



 q*039

Tags:
Guest
นายกันติทัต บุญศรี
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #22: 19 มี.ค. 14, 16:26 น

ชื่อเรื่อง  รายงานการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนป่าแดดวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
ผู้รายงาน  นายกันติทัต  บุญศรี
ปีที่ดำเนินงาน  ปีการศึกษา 2555

ผลการดำเนินงานสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม
1.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน พบว่า นักเรียนได้รับการส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้นักเรียนแต่ละคนเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพจิตดี มีความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อและยาเสพติด อีกทั้งยังสามารถนำความรู้และทักษะสุขภาพที่ได้รับไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและถ่ายทอดให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้
1.2 ผลที่เกิดกับโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีระบบการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่และปลอดภัย มีกิจกรรม/โครงการที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะสุขภาพให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและยาเสพติด โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปีการศึกษา 2554
1.3 ผลที่เกิดกับชุมชน พบว่า ชุมชนได้มีสถานศึกษาที่ปลอดยาเสพติดและโรคติดต่อ ประชาชนในชุมชนได้รับข้อมูลสุขภาพที่เป็นประโยชน์ ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และทำให้ชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน
2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ และปัญหานักเรียน ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องบางส่วนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ขาดความกระตือรือร้นและไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน แนวทางแก้ไขปัญหา คือ โรงเรียนควรจัดหางบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานให้มากขึ้น โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน พร้อมกับพัฒนากิจกรรม/โครงการส่งเสริมสุขภาพให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ โดยควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพร่วมกันอย่างยั่งยืน
3. ความคิดเห็นของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม พบว่า ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่าโรงเรียนมีการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทั้ง 10 องค์ประกอบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.25) และเมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ
4. ความพึงพอใจของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม พบว่า มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.25)
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม พบว่า มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนป่าแดดวิทยาคม ทั้ง 3 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.39)

Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #23: 21 มี.ค. 14, 10:51 น

ชื่อเรื่องที่ศึกษา             รายงานการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สถานที่ศึกษา                โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้ศึกษา                    นายประมวล  สุขสนิท
ปีที่ศึกษา                      2556
                                           บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
                   ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เรียน  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน         รหัสวิชา  ค 32101 ปีการศึกษา  2556 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 212  คน
                   กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 30 คน     โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาประกอบด้วย  1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน  4  ชุด  2) แผนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5   3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ  4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 ข้อ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Sample Group
ผลการศึกษา พบว่า
1.  ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5พบว่า โดยรวม E1 / E2 = 82.56/83.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดพบว่า  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 1 – 4   มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 1 เรื่อง กฏเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.12/83.33 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 2 เรื่อง การทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.60/82.86 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 3 เรื่อง เหตุการณ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.43/82.86 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 4 เรื่อง ความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.48/83.10
2.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01            
3.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  มากที่สุด คือ เข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น ส่วนข้อความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  น้อยที่สุด คือ เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข

Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานวิชาการ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #24: 1 เม.ย. 14, 00:41 น

ชื่อเรื่อง       รูปแบบการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน ของโรงเรียน
              ฤทธิยะวรรณาลัย    สำนักงานเขตสายไหม  กรุงเทพมหานคร
ผู้วิจัย          นางสุนันท์   วชิรมนตรี
ปีการศึกษา   พ.ศ.2555 – 2556

                                           บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน    2)  สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน และ3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้นส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 167 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน และคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และแปลความหมาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
       ผลการวิจัย พบว่า
        1) สภาพปัญหาการบริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด  x =  1.44  ระดับสภาพปัญหาของแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาน้อยที่สุด  คือ ด้านการประเมินคุณภาพ  x  = 1.40 รองลงมา คือ ด้านการควบคุมคุณภาพการศึกษา x  = 1.48 และด้านการตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงโรงเรียน x = 1.52 ตามลำดับ
        2)  สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีคุณภาพมาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ดำเนินการโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด   x=  4.51 ระดับการปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ องค์ประกอบที่ 4 ความเป็นเอกภาพ   x =  4.55 รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 1  ผู้บริหารเหนือผู้บริหาร  x  =  4.52 ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 2  การสู่เป้าหมายสูงสุด   x =  4.47
       3)  ผลการใช้รูปแบบการบริหารที่สร้างและพัฒนาขึ้นส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับการปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบ  ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  คือ  องค์ประกอบที่  4  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  x =  4.60 รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ  x  =  4.58  ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ องค์ประกอบที่ 1 กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา   x=  4.45

Tags:
Guest
นายภานุ อ่ำใหญ่
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #25: 16 เม.ย. 14, 00:13 น

ชื่อเรื่อง         การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาระบบการเสริมสร้าง
                   ภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจ
         พอเพียง : กรณีโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1
         (ดอนสักผดุงวิทย์)
ผู้วิจัย         นายภานุ  อ่ำใหญ่
สถาบัน         โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์)
         สังกัดกองการศึกษา ศาสนาศิลปวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด
         สุราษฎร์ธานี
ปีที่พิมพ์         2556
บทคัดย่อ
   การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1) สร้างระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) 2) ศึกษาประสิทธิผลในการใช้ระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการใช้ระบบ ดำเนินการวิจัย ที่โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้บริหาร 4 คน ครูผู้สอน 50 คน ตัวแทนนักเรียน 6 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 9 คน ตัวแทนชุมชน 3 คน โดยดำเนินการ เป็น         2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบ โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การเก็บข้อมูล และเตรียมบุคลากร ขั้นที่ 2 การสร้างระบบ สร้างคู่มือการใช้ระบบ และทดลองใช้ระบบและขั้นที่ 3 การประเมินผลสรุปรวม
   ผลการวิจัย พบว่า
   1. ระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วยระบบย่อยซึ่งดำเนินการต่อเนื่อง 4 ระบบ ได้แก่ ระบบการสร้างภูมิคุ้มกัน ระบบการจัดการเรียนรู้  ระบบการนิเทศติดตาม และระบบการประเมินและรายงานผล ทุกระบบผ่านตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จและเกณฑ์คุณภาพความสำเร็จ
   2. ประสิทธิผลของระบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีความเป็นประโยชน์ เป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง เหมาะสมชัดเจน ถูกต้องและน่าเชื่อถือ และทุกฝ่ายมีความพึงพอใจในการร่วมพัฒนา
   3. ภาวะผู้นำของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลังการใช้ระบบ ด้านความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ของครูในจัดกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ครูมีความรู้ความสามารถเกิดประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้  มีความกระตือรือร้น  มีความคิดริเริ่ม มีความรับผิดชอบ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้            ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ในการดำเนินการตามระบบ ครูมี           การประสานสัมพันธ์เข้าสังคมได้ดี มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รู้จักและเข้าใจ สภาพการณ์ขององค์กร  ปฏิบัติงานตามกระบวนการ และขั้นตอนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ  มีการประเมิน ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง มีบันทึกและเผยแพร่ผลการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

Tags:
Guest
ว่าที่พันตรีมรกต อินปั๋น
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #26: 21 เม.ย. 14, 15:31 น

บทสรุปผู้บริหาร

ชื่อเรื่อง      :   รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่
                      สุขสันต์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต  4
ชื่อผู้ศึกษา  :   ว่าที่ พ.ต. มรกต   อินปั๋น
ปีการศึกษา :   2555


   ในการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่สุขสันต์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ของ Stufflebeam โดยประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)  ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่ายบริหารโรงเรียน ครู สนับสนุนการสอนและนักเรียน จำนวน 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป เป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) ตอนที่ 2 แบบประเมินในด้านต่างๆทั้ง 4 ด้าน เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale)  ตอนที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการดำเนินการเป็นแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า   การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่สุขสันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 ในฉบับผู้บริหารและครูในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (μ = 3.90) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและด้านปัจจัยอยู่ในระดับมากทุกด้าน (μ = 4.04, 4.04,3.88,3.65)
   ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านใหม่สุขสันต์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4 ฉบับนักเรียนพบว่าการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.34)  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมละด้านปัจจัยอยู่ในระดับมาก (μ = 3.62,3.59) ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.15,2.98)   

Tags:
Guest
เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #27: 28 เม.ย. 14, 11:47 น

ชวนากร  ไชยวงษ์. 2556. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โดยใช้
  กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ  70  ของนักเรียนทั้งหมด  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัด   การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1  โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2  โรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรพ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25   ภาคเรียนที่ 1           ปีการศึกษา  2556  จำนวน  30  คน  การศึกษาครั้งนี้ เป็นการทดลองครั้งเดียวทดสอบหลังเรียน (One-Shot Case Study)   เครื่องมือที่ใช้ในการในศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15  แผน  เวลา    19  ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD   เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท    (Likert)  จำนวน 10 ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage)
   ผลการศึกษาพบว่า
1.  นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ได้คะแนนเฉลี่ย  23.80  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  79.33  และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์  26 คน คิดเป็น     ร้อยละ 86.67  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด   ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด  คือมีจำนวนนักเรียน        ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็ม  และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด
            2.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD   อยู่ในระดับมาก ( = 4.32,S.D.= 0.58)   เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD  เป็นการให้โอกาสนักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการช่วยเหลือ  และนักเรียนที่เรียนเก่งได้แสดงความสามารถ ( = 4.85, S.D.= 0.37)  รองลงมา คือ นักเรียนภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยเหลือเพื่อนในบางโอกาส ( = 4.70, S.D.= 0.46)  และข้อที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด  คือ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD  เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ใช้ความสามารถเต็มที่ ( = 3.58, S.D.= 0.51)  ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก

Tags:
Guest
นายชวนากร ไชยวงษ์
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #28: 1 พ.ค. 14, 14:15 น

ชวนากร  ไชยวงษ์. 2556. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้
  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   โดยใช้
  กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1  โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2  โรงเรียนสาวะถีพิทยาสรรพ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25   ภาคเรียนที่ 1           ปีการศึกษา  2556 จำนวน  30  คน  การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองครั้งเดียวทดสอบหลังเรียน (One-Shot Case Study)  เครื่องมือที่ใช้ในการในศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่ 1  จำนวน 15  แผน  เวลา 19  ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating scale)  ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert)  จำนวน 10  ข้อ   การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( )   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และค่าร้อยละ (Percentage)
   ผลการศึกษาพบว่า
1.  นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ได้คะแนนเฉลี่ย  23.80 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 79.33 และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์  26 คน  คิดเป็น        ร้อยละ 86.67  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด คือมีจำนวนนักเรียน        ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70  ของคะแนนเต็ม  และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด


            2.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D.= 0.48)   เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจสูงที่สุด คือ การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD  เป็นการให้โอกาสนักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการช่วยเหลือและนักเรียนที่เรียนเก่งได้แสดงความสามารถ ( = 4.80, S.D.= 0.41)  รองลงมา คือ นักเรียนภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยเหลือเพื่อนในบางโอกาส ( = 4.77, S.D.= 0.43)   และข้อที่มีความพึงพอใจต่ำที่สุด คือ การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือเทคนิค STAD เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ใช้ความสามารถเต็มที่ (  = 4.43, S.D. = 0.50) ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมาก


Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #29: 5 พ.ค. 14, 00:11 น

ชื่อเรื่อง                  การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้
                                แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  
                     วิชาฟิสิกส์  รหัสวิชา  ว30203  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  
                  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  
ผู้ศึกษาค้นคว้า             นางจิราพร  รวยทรัพย์  
ปี  พ.ศ.                   2556
                                       บทคัดย่อ       
            การศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาไว้ดังนี้  (1)  เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม การเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  วิชาฟิสิกส์  รหัสวิชา  ว30203  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75 (2)  เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  (3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E  เรื่อง  เสียง  (4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7E  เรื่อง  เสียง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/5  ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส  อำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร  จำนวน  
40  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง  (Purposive  Sample)   เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล  คือ  แผนการจัดการเรียนรู้  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  จำนวน 10  ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์  เรื่อง  เสียง  และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ค่าประสิทธิภาพ  E1/E2  และการทดสอบค่าที  (t – test  ชนิด  Dependent  Samples)
   ผลการศึกษาพบว่า  (1)  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  วิชาฟิสิกส์  รหัสวิชา  ว30203  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  มีประสิทธิภาพ  E1/E2  เท่ากับ  82.03/81.63  ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  คือ  75/75  (2)  ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  มีค่าเท่ากับ  0.69  คิดเป็นร้อยละ  69  (3)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์  รหัสวิชา  ว30203  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/5  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  (4)  ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาฟิสิกส์  รหัสวิชา  ว30203  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/5  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ  7E  เรื่อง  เสียง  มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #30: 8 ก.ย. 14, 11:35 น

บทคัดย่อ
   การวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ  เปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียง  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่มีต่อทักษะการอ่านออกเสียง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม  อำเภอจัตุรัส  จังหวัดชัยภูมิ   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  จำนวน  1  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  20  คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  จำนวน 15 แผน  แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเสียง เป็นบทอ่านภาษาอังกฤษ มีจำนวนคำทั้งสิ้น 153 คำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
   สรุปผลการวิจัย
   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ่านออกเสียงก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  68.15  และหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  119.85  ซึ่งนักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงสูงขึ้น  คิดเป็นร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ  33.79

Tags:
Guest
บทคัดย่อ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #31: 10 ก.ย. 14, 06:54 น

บทคัดย่อ

เรื่อง      การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้วิจัย      นางสาวณัฐจิกานต์  มาลาสิงห์
ตำแหน่ง   ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
หน่วยงานที่สังกัด  โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ
   จังหวัดสมุทรปราการ
ระยะเวลาที่ทำการวิจัย   ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556

   การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์1)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ          หลังเรียน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง  (Purposive Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่า t-test Dependent วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

   ผลการวิจัย พบว่า
1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีประสิทธิภาพ  81.89/81.83  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีค่าเท่ากับ 0.6107
3.นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้       การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 5          (วัดกลางวรวิหาร) เทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Tags:
Guest
อัมพร
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #32: 23 ก.ย. 14, 09:57 น

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Report on assessment the Project of Development  Educational  Quality         for Raising  the Achievement of Buengkan Primary Educational Service Area.

นายอัมพร  พินะสา
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
   การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ ซึ่งมีหลายหน่วยงานได้พยายามเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาช่วยกันมาตลอด แต่ผลการดำเนินงานก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬก็เป็นหน่วยงานทางการศึกษาแห่งหนึ่งที่มีความพยายามพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเน้นนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งระบบ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ขึ้นมา แต่ทั้งนี้ยังเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่ทราบว่าจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หรือมีสารสนเทศอะไรที่ต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป หรือยุติโครงการ  จึงได้ดำเนินการประเมินโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อที่จะนำผลที่ได้จากการประเมินโครงการ เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
   การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

รูปแบบของการประเมินโครงการ
   การประเมินครั้งนี้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย    ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)  และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ

กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการ
   กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการ จำนวน 687 คน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬจำนวน 76 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน ครูผู้สอน ในสถานศึกษา จำนวน 331 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
   เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ มีจำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย                  1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านสภาพแวดล้อม (Context)         ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) 2)  แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านผลผลิต (Product) และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา     บึงกาฬ

Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #33: 23 ก.ย. 14, 10:02 น

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Report on assessment the Project of Development  Educational  Quality         for Raising  the Achievement of Buengkan Primary Educational Service Area.

นายอัมพร  พินะสา
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
   การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันได้ ซึ่งมีหลายหน่วยงานได้พยายามเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาช่วยกันมาตลอด แต่ผลการดำเนินงานก็ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬก็เป็นหน่วยงานทางการศึกษาแห่งหนึ่งที่มีความพยายามพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และเน้นนโยบายการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งระบบ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ขึ้นมา แต่ทั้งนี้ยังเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่ทราบว่าจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด หรือมีสารสนเทศอะไรที่ต้องปรับปรุงพัฒนาต่อไป หรือยุติโครงการ  จึงได้ดำเนินการประเมินโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อที่จะนำผลที่ได้จากการประเมินโครงการ เป็นแนวทางสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ
   การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

รูปแบบของการประเมินโครงการ
   การประเมินครั้งนี้ใช้รูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย    ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product)  และประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ

กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการ
   กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการ จำนวน 687 คน ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬจำนวน 76 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 140 คน ครูผู้สอน ในสถานศึกษา จำนวน 331 คน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 140 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ
   เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ มีจำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย                  1) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านสภาพแวดล้อม (Context)         ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) และด้านกระบวนการ (Process) 2)  แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ด้านผลผลิต (Product) และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา     บึงกาฬ




Tags:
add
Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #34: 23 ก.ย. 14, 10:07 น

ชื่อเรื่อง   รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ผู้วิจัย   นายอัมพร  พินะสา
ปีการศึกษา     2556
คำสำคัญ      รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
    ผลการวิจัยพบว่า
   1. องค์ประกอบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณภาพนักเรียน 2) คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) คุณภาพการบริหารจัดการศึกษา 4) คุณภาพแหล่งเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี 5) คุณภาพภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม
   2. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 89 รายการกิจกรรมพัฒนาให้บรรลุองค์ประกอบย่อย ซึ่งองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) คุณภาพนักเรียน 2) คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3) คุณภาพการบริหารจัดการศึกษา 4) คุณภาพแหล่งเรียนรู้ สื่อและเทคโนโลยี 5) คุณภาพภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ผลการตรวจสอบรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
   3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตามกิจกรรมพัฒนาให้บรรลุการดำเนินงานตามรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
   4. ผลการการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนโดยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ พบว่า ค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.15 ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการประธานคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่ารูปแบบสามารถแก้ปัญหาด้านบุคลกร งบประมาณ และอาคารสถานที่ได้ และครู ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก


Tags:
Guest
กุสุมา ประสิทธิ์ผล
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #35: 6 ต.ค. 14, 21:49 น

ชื่อเรื่อง          รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์       
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า    นางกุสุมา  ประสิทธิ์ผล
สถานศึกษา   โรงเรียนวัดโคกสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
ปีที่ศึกษา           2556

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ โรงเรียนวัดโคกสำโรง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80*2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและ                หลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน)              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ชุดชีวิตสุขสันต์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2               ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดโคกสำโรง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ เอกสารประกอบ การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า 
1)    ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ มีค่าเท่ากับ 83.70/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80.00/80.00 ที่กำหนดไว้

2)    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.08 และคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.25
3)    ความพึงพอใจของนักเรียนต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.71)

Tags:
Guest
กุสุมา ประสิทธิ์ผล
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #36: 6 ต.ค. 14, 21:52 น

ชื่อเรื่อง          รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์       
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า    นางกุสุมา  ประสิทธิ์ผล
สถานศึกษา   โรงเรียนวัดโคกสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2
ปีที่ศึกษา           2556

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ โรงเรียนวัดโคกสำโรง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ชุดชีวิตสุขสันต์
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2               ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดโคกสำโรง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ เอกสารประกอบ การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (percentage) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า 
1)    ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ มีค่าเท่ากับ 83.70/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80.00/80.00 ที่กำหนดไว้

2)    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.08 และคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.25
3)    ความพึงพอใจของนักเรียนต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชุดชีวิตสุขสันต์ โดยภาพรวมพบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.71)

Tags:
Guest
กาญจนา เลิศล้ำ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #37: 12 ต.ค. 14, 20:31 น

ชื่อเรื่อง          :                รายงานการสร้างแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด 
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา         :      นางกาญจนา  เลิศล้ำ
หน่วยงาน    :                   โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีการศึกษา   :      2557

บทคัดย่อ

   การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 = 80/ 80      เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งสงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  สถิติที่ใช้ใน           การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t - test  แบบ Dependent)
   ผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ  83.18/ 82.43  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ  80/ 80      ที่ตั้งไว้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
กาญจนา เลิศล้ำ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #38: 12 ต.ค. 14, 20:38 น

ชื่อเรื่อง        :     รายงานการสร้างแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภท                  กลอนแปด  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา     :  นางกาญจนา  เลิศล้ำ
หน่วยงาน  :   โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีการศึกษา:         2557

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 = 80/ 80      เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งสงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  สถิติที่ใช้ใน           การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t - test  แบบ Dependent)
            ผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ  83.18/ 82.43  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ  80/ 80      ที่ตั้งไว้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
กาญจนา เลิศล้ำ
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #39: 12 ต.ค. 14, 20:41 น

ชื่อเรื่อง        :     รายงานการสร้างแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภท กลอนแปด  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา     :  นางกาญจนา  เลิศล้ำ
หน่วยงาน  :   โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีการศึกษา:         2557

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 = 80/ 80      เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่  นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งสงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 34 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  สถิติที่ใช้ใน           การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (t - test  แบบ Dependent)
            ผลการศึกษา พบว่า แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ  83.18/ 82.43  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ  80/ 80      ที่ตั้งไว้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพประเภทกลอนแปด สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
peterbeer
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #40: 18 ต.ค. 14, 15:25 น

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง   รายงาน    ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการ
                        เรียนรู้  ไฟฟ้าสถิต วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้
                        วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้
                        วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
หน่วยงาน             โรงเรียนศรีรัตนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
                       มัธยมศึกษา เขต 28
ผู้พัฒนา              นายธนโชติ  ขุนโทนิล
ปีการศึกษา       2556


การพัฒนาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้   ไฟฟ้าสถิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง ไฟฟ้าสถิต  จำนวน 7 ชุด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนและหาค่าดัชนีประสิทธิผล โดยค่าดัชนีประสิทธิผลที่ได้ไม่ต่ำกว่า 0.50  โดยดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design)  รูปแบบการวิจัย กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง แล้วจึงหาความแตกต่าง (One- Group Pretest - Posttest Design)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/2 ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนศรีรัตนวิทยา ตำบลสะพุง  อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่บการศึกษามัธยมศึกษา เขต 28  จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต จำนวน 7 ชุด  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ  (E1 / E2)  เท่ากับ  81.05/81.18    ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  0.63  โดยค่าดัชนีประสิทธิผลที่ได้ไม่ต่ำกว่า 0.50 ตามที่กำหนดไว้

Tags:
Guest
peterbeer
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #41: 18 ต.ค. 14, 15:28 น

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง              รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วย
                    การเรียนรู้  ไฟฟ้าสถิต วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้
                    วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  โดยใช้วิธี
                    สอนแบบสืบเสาะหาความรู้
หน่วยงาน         โรงเรียนศรีรัตนวิทยา
                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ผู้พัฒนา              นายธนโชติ  ขุนโทนิล
ปีการศึกษา      2556


การพัฒนาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม หน่วยการเรียนรู้   ไฟฟ้าสถิต  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  เรื่อง ไฟฟ้าสถิต  จำนวน 7 ชุด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนและหาค่าดัชนีประสิทธิผล โดยค่าดัชนีประสิทธิผลที่ได้ไม่ต่ำกว่า 0.50  โดยดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design)  รูปแบบการวิจัย กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง แล้วจึงหาความแตกต่าง (One- Group Pretest - Posttest Design)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5/2 ปีการศึกษา  2556  โรงเรียนศรีรัตนวิทยา ตำบลสะพุง  อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่บการศึกษามัธยมศึกษา เขต 28  จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ไฟฟ้าสถิต จำนวน 7 ชุด  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ  (E1 / E2)  เท่ากับ  81.05/81.18    ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ  0.63  โดยค่าดัชนีประสิทธิผลที่ได้ไม่ต่ำกว่า 0.50 ตามที่กำหนดไว้

Tags:
Guest
ประคิม รูปสี
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #42: 3 พ.ย. 14, 12:01 น

บทคัดย่อ

หัวข้อที่ศึกษา   รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                   เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา      นางประคิม รูปสี
ตำแหน่งที่ขอรับการประเมิน   ครูชำนาญการพิเศษ
สาขาที่ขอรับการประเมิน      กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีที่ศึกษา         ปีการศึกษา   2556
   
การศึกษาและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเครือข่ายที่ 14 สองคอน-ม่วงใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสองคอน โรงเรียนบ้านจอมปลวกสูงสร้างกุง  โรงเรียนบ้านกะเตียด โรงเรียนบ้านนาพะเนียงออ  โรงเรียนบ้านดอนชาด โรงเรียนบ้านโปร่งเจริญ โรงเรียนบ้านม่วงใหญ่ โรงเรียนบ้านนานางวาน โรงเรียนบ้านแก้งใต้ และโรงเรียนบ้านดอนกะทอด จำนวน 120คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาและพัฒนาครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 28 คน
           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 14 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยาก–ง่ายอยู่ความยาก–ง่ายอยู่ระหว่าง .52–.72 และได้ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .45-.64 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89
และแบบสอบวัดเจตคติด้านความพึงพอใจ ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 1ฉบับ
   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพื้นฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพแบบทดสอบได้แก่ ค่าความยาก–ง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)  และค่าความเชื่อถือได้ โดยใช้สูตร K-R 20 สถิติหาค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (E1/E2) และสถิติที่ใช้ทดสอบความมีนัยสำคัญ t–test  (t-dependent)  

   ผลการศึกษาพบว่า
      1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14ชุด มีค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล เท่ากับ 82.92/81.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ที่ 80/80
   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01
   3. ผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 28 คน มีคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.25 ซึ่งถือว่า มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
ประคิม รูปสี
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #43: 3 พ.ย. 14, 12:03 น

บทคัดย่อ

หัวข้อที่ศึกษา   รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                   เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
                  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา      นางประคิม รูปสี
ตำแหน่งที่ขอรับการประเมิน   ครูชำนาญการพิเศษ
สาขาที่ขอรับการประเมิน      กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ปีที่ศึกษา         ปีการศึกษา   2556
   
การศึกษาและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในศูนย์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเครือข่ายที่ 14 สองคอน-ม่วงใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสองคอน โรงเรียนบ้านจอมปลวกสูงสร้างกุง  โรงเรียนบ้านกะเตียด โรงเรียนบ้านนาพะเนียงออ  โรงเรียนบ้านดอนชาด โรงเรียนบ้านโปร่งเจริญ โรงเรียนบ้านม่วงใหญ่ โรงเรียนบ้านนานางวาน โรงเรียนบ้านแก้งใต้ และโรงเรียนบ้านดอนกะทอด จำนวน 120คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาและพัฒนาครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 28 คน
           เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 14 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยาก–ง่ายอยู่ความยาก–ง่ายอยู่ระหว่าง .52–.72 และได้ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .45-.64 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89
และแบบสอบวัดเจตคติด้านความพึงพอใจ ที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 1ฉบับ
   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติพื้นฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพแบบทดสอบได้แก่ ค่าความยาก–ง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r)  และค่าความเชื่อถือได้ โดยใช้สูตร K-R 20 สถิติหาค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (E1/E2) และสถิติที่ใช้ทดสอบความมีนัยสำคัญ t–test  (t-dependent)  

   ผลการศึกษาพบว่า
      1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14ชุด มีค่าประสิทธิภาพและประสิทธิผล เท่ากับ 82.92/81.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ที่ 80/80
   2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.01
   3. ผลการสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 28 คน มีคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.25 ซึ่งถือว่า มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

Tags:
Guest
วรรณา แก้วชื่น
 

Re : เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
        ความคิดเห็นที่ #44: 7 พ.ย. 14, 15:12 น


ชื่อเรื่อง        รายงานผลกการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน
        ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้
ชื่อผู้รายงาน     นางวรรณา  แก้วชื่น
ตำแหน่ง          ครูโรงเรียนบ้านปากลง
โรงเรียน         โรงเรียนบ้านปากลง  อำเภอนบพิตำ  จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ.ศ.          2557

บทคัดย่อ
      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมสร้างสรรค์จาก
วัสดุเหลือใช้ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80  (2) เพื่อเปรียบเทียบผล
การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลัง
การใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้  (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้  กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้น
อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านปากลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 4 จำนวน 22 คน  ที่ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอนประจำชั้นเรียนได้มา
โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  ดำเนินการพัฒนาเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
(8 หน่วยการเรียนรู้) เครื่องมือที่ใช้การพัฒนาครั้งนี้ คือ กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้  จำนวน 
24 กิจกรรม  แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ แบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
 และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล คือ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตรดังนี้ 
       ผลการศึกษาพบว่า   (1) กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้มีประสิทธิภาพเท่ากับ
82.06 / 90.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80   (2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปี
ที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้สูงกว่า ก่อนการจัดประสบการณ์
อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2
 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ว่า นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  มีระดับความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมาก

Tags:
Tags:  

พิมพ์
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8
  ย้ายข้อความ  |  ลบกระทู้  |  ล็อกกระทู้  |  ติดหมุดให้กระทู้นี้อยู่ด้านบน  |  รวมกระทู้  
  ย้ายข้อความ  |  ลบกระทู้  |  ล็อกกระทู้  |  ติดหมุดให้กระทู้นี้อยู่ด้านบน  |  รวมกระทู้  |  ลบสำรวจความคิดเห็น (โพลล์)  |  ลิ้งค์ไปยังปฏิทิน  |  ลบความคิดเห็นที่เลือก  
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา


[เพิ่มเติม]
ขอความร่วมมือท่านสมาชิก และผู้ใช้บริการเว็บบอร์ด
ห้ามมิให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งเนื้อหาและภาพของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ: พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
:  
ทางสนุก! จะทำการตรวจสอบ
และขออนุญาตไม่แสดงข้อความ
ที่ไม่เหมาะสม ข้อความที่
ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่
สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ รวมถึงข้อความที่
เข้าข่ายหลอกลวง การเผยแพร่
ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความ
ใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความ
เสียหาย บนกระทู้นี้
ทางสนุก! จะทำการตรวจสอบ
และขออนุญาตไม่แสดงข้อความ
ที่ไม่เหมาะสม ข้อความที่
ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่
สถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ รวมถึงข้อความที่
เข้าข่ายหลอกลวง การเผยแพร่
ภาพลามกอนาจาร หรือข้อความ
ใดๆ ที่ทำให้ผู้อื่นได้รับความ
เสียหาย บนกระทู้นี้