หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: นักสิ่งแวดล้อม-ส.ว.ชี้ ไฟฟ้าขาด เม.ย. เป็น “วิกฤตการณ์เทียม” !  (อ่าน 174 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 24 ก.พ. 13, 22:30 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 
เมื่อโอกาศมาใครบ้างที่ไม่คว้าไว้..มีทั้งอำนาจมีทั้งเงินมีทั้งกองกำลัง..คนไทยทำใจเถอะครับ..

หลังจากนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน เพื่อเตรีมแผนในการรับมือกับปัญหาที่ทางการพม่าจะหยุดจ่ายก๊าซให้แก่ประเทศไทยช่วงต้นเดือนเมษายน และจากอุบัติเหตุท่อก๊าซไทย-มาเลเซียขาดจากการโดนสมอเรือทำให้ต้องปิดซ่อม ซึ่ง 2 แหล่งรวมกัน ก๊าซจะหายไปประมาณ 1,370 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน




นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าว กับสำนักข่าวอิศรา โดยมองว่า เป็น "วิกฤตประดิษฐ์" ที่เกิดจากความจงใจ เพราะการซ่อมบำรุงแท่นก๊าซใครก็รู้ว่า ทำเมื่อไหร่ก็ได้ วางแผนได้ และสามารถจัดการได้โดยจัดการกับการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจซึ่งใช้ไฟฟ้าเป็นปริมาณ 75% ของระบบ ฉะนั้น รัฐบาลไม่ควรขู่ หรือเอาประชาชนเป็นตัวประกัน



ขณะที่ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงกรณีนี้เช่นกันว่า น่าจะเป็น "วิกฤตการณ์เทียม" ที่ถูกสร้างขึ้นมา เพราะว่าเรื่องการซ่อมแท่นขุดเจาะไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้นควรจะมีการวางแผนซ่อมในช่วงเวลาอื่น ไม่ใช่ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูงอย่างเดือนเมษายน ซึ่งพอก๊าซขาดก็ผลักให้ต้องไปนำเข้าเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาทดแทน



"ขณะนี้รัฐมนตรีพลังงานประกาศทำนองว่า เตรียมดีเซล 1 ล้านลิตร หรือน้ำมันเตา แต่จริง ๆ แล้วแอลเอ็นจี 1 ล้านตันที่เขายังไม่ได้เผยโฉมออกมา และก็เริ่มมีคนออกมาพูดว่า ถ้าจำเป็นก็ต้องใช้แอลเอ็นจี 5 ล้านตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ ปตท. เซ็นสัญญาซื้อไว้กับการ์ตาร์ ปัญหาคือถ้าความต้องการใช้แก๊สลดลง แอลเอ็นจี 5 ล้านตันก็จะไม่มีตลาดขาย" ส.ว.รสนา กล่าว และว่า จึงมีการตั้งคำถาม เป็นวิกฤตการณ์เทียมใช่หรือไม่ เพื่อที่จะได้เอาก๊าซราคาแพงมาทดแทนก๊าซของพม่า แต่ถ้าไม่ใช่ ก็แสดงว่า ปตท.ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเอง คือ ประการแรก ปตท.ต้องเป็นผู้จัดหาก๊าซทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ให้กับ กฟผ. เพราะเมื่อไม่สามารถส่งมอบก๊าซจากพม่าได้ ก็ต้องไปหาเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาส่งมอบในราคาเท่าเดิม เพื่อไม่เป็นการผลักภาระมาให้ประชาชน จึงจะเชื่อได้ว่า ไม่มีวาระแอบแฝง แต่ถ้าเมื่อใดที่มีการขึ้นค่าไฟฟ้า ก็ต้องเชื่อว่านี่เป็นการสร้างวิกฤตการณ์เทียม

ส่วนนายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตประธานชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม แสดงความเห็นผ่านเฟชบุค โดยแสดงความแปลกใจที่อยู่ดี ๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกมาทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูม บอกว่า เดือนเมษายน จะมีปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าอย่างรุนแรง เพราะก๊าซที่พม่าปิดซ่อม ทั้ง ๆที่มีการปิดซ่อมแซมเป็นประจำทุกปี และก็มีการเตรียมการป้องกันอยู่แล้ว พร้อมสงสัยการสร้างสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อหาเหตุผลในการสร้างโรงไฟฟ้า

"อีกด้านหนึ่ง ประธานปตท.คนใหม่ที่เพิ่งแต่งตั้ง ก็คือคนสนิทของผู้มีบารมีจากดูไบ เพื่อมากดรีโมทดูแลบริษัทมูลค่าล้านล้านบาทด้วยตนเอง ผลประโยชน์เรื่องพลังงานแบบผูกขาดมันมหาศาลกว่าที่หลายคนคิด"นายวันชัย กล่าว และขอให้สังคมจับตา การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกว่า จะยกเลิกก๊าซLPG กับรถยนต์ และให้คนขับรถมาใช้ NGV ที่ผูกขาดโดยปตท.แทน รวมถึงราคาน้ำมันก๊าซโซฮอลล์ พุ่งพรวดอีกสิบสลึง เกือบจะเท่าน้ำมันเบนซิน




http://www.isranews.org/site_content/278-2011-02-24-04-31-20/19613-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AA-%E0%B8%A7-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%A1-%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E2%80%9C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E2%80%9D.html

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 ก.พ. 13, 23:08 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 



การซ่อมบำรุงไม่ว่าที่ไหนในโลกนี้ต้องหยุดซ่อมทุกปีครับแบ่งออกเป็น3ขั้นตอน
1.Pre-shutdown ก่อนจะทำการปิดซ่อมบำรุงก็จะมีการเตรียมพร้อมทุกอย่าง S3 ใช้เวลาประมาณ1เดือน หรือมากกว่านั้น
2. ESD emergency shutdown(S1) ใช้เวลาไม่เกิน12ชั้วโมง ตรงนี้เขาจะปิดระบบของแท่นกลั้นทั้งหมด100%เพื่อเชื่อมต่อระบบในส่วนของ S3 และซ่อมแซมในส่วนของ Hot work Activities หลังจากนั้นก็จะทำการ Start up บางจุดและจะทำการ bypass ระบบเพื่อเดินเครื่องส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อส่ง gaslift จ่ายให้กับระบบตาม Remort ต่างๆ
3.Shurtdown S1/S3/S5 จะทำการซ่อมระบบต่างๆโดยที่แท่นยังคงทำงานใช้เวลา1เดือนหรือมากกว่านั้น..หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยก็จะกลับมาเดินเครื่องปกติ100% Product. นี้เป็นเพียงความเห็นจากประสบการณ์เล็กๆน้อยของ จขกท ที่ทำมากว่า10ปี ทั้งแท่นกลั้นกลางอ่าวไทย..สมัย UNOCAL หรือที่แท่นประเทศบรูไน Brunei shell petroleum.

ปล. ไม่ว่าจะปิดซ่อมจุดไหนแต่ละแท่นเขามีเครื่องสำรองหมดครับแม้นแต่Compressos แต่ละแท่นก็จะมีไม่ต่ำกว่า4ต้วเขาจะปิดซ่อมทั้งหมดก็แค่ช่วง ESD เท่านั้นหลังจากนี้นก็จะเดินเครื่อง2ปิด2 จึงเป็นเรื่องแปลกมีการปล่อยข่าวใหญ่โตเหมือนต้องการอะไรซักอย่าง..

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
k542
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ก.พ. 13, 00:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ q*071
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 ก.พ. 13, 08:31 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ข้อมูลของนักวิชาการอ่านแล้วดูน่าเชื่อถือว่า รมว.พลังงาน
ถ้าคนไทยช่วยกันตรวจสอบ และสอดส่องพฤติกรรมของนักการเมือง
คนไทยคงไม่ต้องเผชิญวิกฤตการณ์เรื่องพลังงานต่อไป

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  ไฟฟ้า ส.ว. 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม