หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: แผ่นดินไหวพม่า 6.6 ริกเตอร์ ตึกสูงกทม.รู้สึกสั่นไหว  (อ่าน 1136 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 พ.ย. 12, 11:14 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

แผ่นดินไหวพม่า 6.6 ริกเตอร์ ตึกสูงกทม.รู้สึกสั่นไหว


(11 พ.ย.) มีรานงานว่า เมื่อเวลา 8.12 น. เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่พม่า ขนาด 6.6 ริกเตอร์ ห่างจาก อ.ปางมะพร่า จ.แม่ฮ่องสอนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 438 กม. เบื้องต้นยังไม่พบความเสียหายใดๆ โดยตึกสูงในหลายพื้นที่กรุงเทพมหานคร และหลายจังหวัดในภาคเหนือของไทย สามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน

9.20 น.โฆษกอุตุฯ เผยแผ่นดินไหวพม่า 6.6 ริกเตอร์ ลึกจากผิวดินเพียง10กม. อาจมีอาฟเตอร์ช็อค กทม.รับความรู้สึกได้เพราะดินมีความอ่อนตัว

9.23 น. โฆษกกรมอุตุฯ เพิ่มเติมว่า หลังจากนี้เฝ้าระวังรอยเลื่อนใน3จังหวัด กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ส่วนเขื่อนต่างๆสามารถรับแรงได้

9.50 น. สนง.ธรณีวิทยาสหรัฐฯ เพิ่มศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ตอนกลางพม่า หลังสั่นไหว 20 นาที มีอาฟเตอร์ช็อค 2 ครั้ง ยังไม่มีรายงานความเสียหาย

10.35 น. ผอ.เขื่อนสิริกิตติ์ เผยแผ่นดินไหวพม่าไม่กระทบตัวเขื่อน ยืนยันมีความแข็งแรง รวมทั้งเขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรี


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 พ.ย. 12, 14:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

พม่าดินไหว6.6เชียงใหม่ตึกสูงกทม.รับรู้แรงสะเทือน


สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเมื่อเวลาประมาณ 08.12 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ จุดศูนย์กลางในประเทศพม่า ใกล้กับ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ขนาด 6.6 ริกเตอร์ ห่างจาก จ.เชียงใหม่ ประมาณ 400 ก.ม. ซึ่งแรงสั่นสะเทือนดังกล่าว ตึกสูงใน กรุงเทพมหานครหลายแห่ง รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน ประมาณ 2 นาที โดยเฉพาะตึกที่ มีความสูงเกิน 5 ชั้นขึ้นไป สามารถรับรู้ได้เกือบทั้งหมด ทำให้ประชาชนแตกตื่น และก็ได้สอบถามมายังสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวจำนวนมาก เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานความเสียหายแต่อย่างใด และทางวิทยุสื่อสาร ได้ประกาศให้ โรงพยาบาลทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อย่างเร่งด่วนแล้ว ซึ่งความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป อุตุฯประกาศแผ่นดินไหวพม่า6.6ริกเตอร์ตึกกทม.สั่นไหวนายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่องแผ่นดินไหวบริเวณประเทศพม่า เมื่อเช้าวันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.12 น. เกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางบริเวณประเทศพม่า ที่ละติจูด 22.93 องศาเหนือ ลองติจูด 95.99 องศาตะวันออก ความลึก 10 ก.ม. ขนาด 6.6 ริกเตอร์ตามมาตราริกเตอร์ รู้สึกสั่นไหวบนตึกสูงในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และ จ.เชียงใหม่ ประกาศวันที่ 11 พ.ย. 2555 เวลา 08.39 น. ศภช.รายงานดินไหว6.8 ริกเตอร์ศูนย์กลางประเทศพม่า น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รายงานข่าวแผ่นดินไหว เมื่อเวลา 08.12 น. แผ่นดินไหวบนบก บริเวณประเทศพม่า ขนาด 6.8 ริกเตอร์ ความลึก 10 ก.ม. ศูนย์กลางห่างจาก อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 456 ก.ม. เบื้องต้นได้รับรายงานถึงความรู้สึกสั่นสะเทือนได้บางพื้นที่ และให้ติดตามข้อมูลจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ที่เบอร์ 192 ดินไหวพม่า 6.6 ริกเตอร์ กทม.ไหวเพราะดินอ่อนดร.ภูเวียง ประคำมินทร์ โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรณีแผ่นดินไหว ขนาด 6.6 ริกเตอร์ ในประเทศพม่า เมื่อเวลา 08.12 น.ที่ผ่านมานั้น เป็นแผ่นดินไหวบนรอยเลื่อนสะแกง หรือ สะกา ในประเทศไทยพม่า เป็นรอยเลื่อนที่มีแรงที่ใกล้ที่สุดกับประเทศไทยมากที่สุดด้วย โดยแผ่นดินไหวดังกล่าว ตึกสูงใน กทม. รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ทั่วไปนั้น เนื่องจาก พื้นดินของ กทม.เป็นดินเหนียว อ่อนนุ่มเหมือนเจล เมื่อมีแผ่นดินไหว จึงสามารถรับรู้ได้ทันที แม้ว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้จะอยู่ห่างจาก กทม. ถึง 1,000 ก.ม.ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง ในอนาคตหากเกิดแผ่นดินไหว เกิดขึ้นใกล้กับ กทม.มากกว่านี้ อาทิ ที่ จ.กาญจนบุรี



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 พ.ย. 12, 11:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้า เหตุแผ่นดินไหว ขนาดรุนแรง 6.8 ริกเตอร์ เมื่อเวลาประมาณ 08.21 น. วันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ไปทางตอนใต้ราว 117 กิโลเมตร และห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 363 กิโลเมตร ล่าสุด พบยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 13 ศพ บาดเจ็บกว่า 40 คน และยังมีผู้สูญหายกว่า 10 คน นอกจากนี้ ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกอย่างต่อเนื่อง

จากการรายงานของสำนักธรณีวิทยาสหรัฐ โดยสื่อพม่า รายงานว่า หลังเหตุแผ่นดินไหวได้มี อาฟเตอร์ช็อกขนาน 5 ริกเตอร์ ตามมาอีก 2 ครั้ง ความเสียหายที่พบ คือ สะพานราดานาติงงา (Radana Thinga Bridge) ข้ามแม่น้ำอิรวดีระหว่างเมืองซิงกู (Singgu) กับเมืองจ๊อกมอง (Kyauk Maung) ในเขตสะกาย (Sagaing) ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง พังถล่มลงมา และที่ จ.มัณฑะเลย์ เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของพม่า นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนทำให้เกิดรอยแตกขึ้นกับตึกหลายแห่ง และเจดีย์หลายองค์พังลงมา ในเขตเดียวกัน

ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เมื่อเวลา 01.19 น. วันที่ 12 พฤศจิกายน ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว ขนาด 5.5 ริกเตอร์ ที่ประเทศพม่า ระดับความลึกจากผิวดิน 10 กิโลเมตร

ด้าน นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยถึงเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า ว่า เกิดจากรอยเลื่อนสะแกง ถือว่าการสั่นไหว 3 กว่าริกเตอร์ อยู่ในขั้นรุนแรงมาก เกิดจากการสะสมพลังงาน ที่พาดผ่านชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.กาญจนบุรี จนถึง จ.แม่ฮ่องสอน และบางส่วนอยู่ในทะเลที่เคยเกิดสึนามิฝั่งอันดามันของไทย

ทั้งนี้ รอยเลื่อนสะแกงเคยเกิดแผ่นดินไหวเมื่อ 80 ปีที่แล้วขนาด 8 กว่าริกเตอร์จนทำให้เมืองสะแกงล่มสลายไปทั้งเมือง ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันรอยเลื่อนสะแกง ใช้เวลาสะสมพลังงานถึง 80 ปีมาแล้วก็ไม่ควรประมาทเพราะอาจจะเกิดไหวขึ้นได้อีก

ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ทั้งญี่ปุ่น และอินเดีย กำลังจับตาดูว่าจะเกิดสึนามิตามมาหรือไม่ ประเทศไทยควรจับตาดูด้วยเพื่อความไม่ประมาทและอย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าตื่นตกใจเรื่องภัยพิบัติเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะแผ่นดินไหวยังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอะไรมาตรวจจับได้ล่วงหน้า ในอนาคตอาจจะไหวมากขึ้นจนโลกแตกก็เป็นได้ ทุกประเทศต่างเฝ้าจับตาเพราะเป็นเรื่องของพลังงานที่อยู่ใจกลางโลกในยุคนี้ทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงมากขึ้นบ่อยขึ้น นอกจากนี้ จะเกิดพายุสุริยะจากพลังงานของดวงอาทิตย์ เข้ากระทบผิวโลกทำให้เปลือกโลกเคลื่อนตัวอย่างรุนแรงในวันที่ 21 ธันวาคม นี้ ทางองค์การนาซ่า กำลังติดตามว่าจะกระทบภูมิภาคใด อาจจะเป็นแถบอเมริกา จีน หรือรัสเซีย ว่าจะมีผลกระทบแค่ไหนมาถึงไทยหรือไม่

นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ให้คนไทยต้องเตรียมรับสถานการณ์เพราะมีรอยเลื่อนในไทยใกล้รอยเลื่อนสะแกง เช่นรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รอยเลื่อนแม่จัน จ.แม่ฮ่องสอน ว่าจะปลดปล่อยพลังงานออกมามากหรือไม่ ต้องจับตาดู อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีนี้ได้เกิดขึ้นหลายสิบครั้งมีการไหวแรงขนาด 5 ริคเตอร์แล้ว พื้นที่ประเทศไทยแถบภาคอีสาน เป็นพื้นที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและอุทกภัยน้ำท่วม ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังอยู่ 13 รอย จากการศึกษาพบว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิ รอยเลื่อนทั้งหมดเกิดรอยร้าวเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  พม่า แผ่นดินไหว กทม. 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม