ผู้หญิงจากฟูกูชิมาร่วมชุมนุมเพื่อ “สร้างความหวังและกำลังใจท่ามกลางความท้อแท้และสูญเสีย” จากอุบัติภัยนิวเคลียร์

เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ผู้หญิงเกือบ 200 คนจากฟูกูชิมาเริ่มต้นวันแรกของกิจกรรมการนั่งประท้วงสามวัน บริเวณด้านนอกกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่เมืองโตเกียว เพื่อ เรียก ร้องให้มีการอพยพเด็กออกจากพื้นที่ที่มีระดับกัมมันตรังสีสูงและเรียกร้อง ให้มีการหยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปิดเดินเครื่องอยู่ในขณะนี้ อย่างถาวร การประท้วงอย่างสันตินี้เป็นการกระทำที่มีพลังมากในประเทศที่ปกติการกระทำดังกล่าวถือว่าต้องเป็นเหตุรุนแรงทีเดียว คน ที่มาร่วมชุมชนกันนี้ไม่ใช่กลุ่มผู้หญิงที่ปกติจะออกมาประท้วงเรียกร้อง แต่เป็นกลุ่มแม่ของเด็กๆที่เป็นห่วงและกังวลถึงความปลอดภัยและอนาคตของลูกๆ รวมทั้งย่าและยายของครอบครัวอีกด้วย ที่กลุ่มผู้หญิงออกมาเรียกร้องผ่านการนั่งประท้วงเป็นเวลา 3 วันนี้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นกังวลที่ผู้หญิงและครอบครัวกำลัง ประสบอยู่ในขณะนี้นับตั้งแต่เกิดเหตุหายนะจากนิวเคลียร์
บทบาท และความรับผิดชอบของกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เกิด อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ หนึ่งในผู้หญิงที่มาร่วมประท้วงชื่อ นางสาวซาเอโกะ อูโนะ ได้อพยพออกจากเมืองฟูกูชิมาพร้อมกับลูกสาววัย 4 ขวบเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในวันที่ 11 มีนาคม ขณะนี้ได้อาศัยอยู่ในอีกเมืองหนึ่ง แต่สามีของเธอไม่สามารถลาออกจากงานที่เมืองฟูกูชิมาได้ อูโนะจึงต้องเดินทางเข้าออกไปมายังฟูกูชิมา เธอไม่มีความสุขนักกับการที่ต้องแยกกันอยู่กับสามี แต่ก็ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอหลังจากอุบัติเหตุ นิวเคลียร์ อูโนะเข้าร่วมกิจกรรมการประท้วงในครั้งนี้เพื่อต้องการบอกกล่าวกับผู้คนทั่ว โลกว่าเมืองฟูกูชิมาไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในเมืองฟูกูชิมาเอง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสีไม่ได้รับความใส่ใจจากรัฐบาลให้อพยพออก จากพื้นที่ ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้อูโนะและผู้หญิง อีกจำนวนมากเดินทางมาร่วมประท้วงที่กรุงโตเกียวในครั้งนี้
ผู้หญิง เหล่านี้มาจากหลายพื้นที่และหลากหลายอาชีพ เป็นทั้งคนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ (มีหญิงชราอายุ 86 ปีร่วมด้วย) กลุ่มครูและกลุ่มชาวนา เป็นต้น ใน ช่วงที่นั่งประท้วง เหล่าผู้หญิงก็จะช่วยกันถักห่วงโซ่ด้วยไหมเป็นทางยาว เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงที่มาร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ ผู้หญิงกลุ่มนี้ก็ยังเรียกร้องให้ผู้หญิงจากพื้นที่อื่นๆของญี่ปุ่นและจาก ทั่วโลก เข้ามาร่วมกัน ในวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันแรก ผู้หญิงบางคนได้ร่วมประท้วงต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมาเป็นเวลาหลาย ปีแล้วก่อนที่จะเกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ และก็มีอีกหลายคนที่เพิ่งเข้ามาร่วมภายหลังจากที่การรั่วไหลของกัมมันตรังสี เริ่มส่งผลกระทบต่อครอบครัวและลูกๆ และที่สำคัญที่สุดนั้น อูโนะกล่าวเพิ่มเติมว่า พวกผู้หญิงต้องการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันและต้องการสร้างความหวังและ กำลังใจ ท่ามกลางความท้อแท้และสิ้นหวังที่ได้นำพาให้พวกเขามาพบเจอกัน