The Social Network ดัดแปลงจากหนังสือ The Accidental Billionaires ว่าด้วยเรื่องราวความสำเร็จในชีวิตของ Mark Zuckerberg มหาเศรษฐีที่อายุน้อยที่สุดในโลก ซึ่งได้ Jesse Eisenberg มารับบทนี้ ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอออกตัวว่า เป็นแฟนหนังผู้กำกับ David Fincher มาตั้งแต่ Seven แล้ว และเรื่อง Fight Club ก็จัดอยู่ในหนึ่งภาพยนตร์โปรดปรานข้าพเจ้า ด้วยเอกลักษณ์สไตล์การกำกับเฉพาะตัวดึงความ Dark ในจิตใจตัวละครหนังของเขาพล่ามบทสนทนามุกตลกร้าย แดกดันวัฒนธรรมสังคมอเมริกันชน วัตถุนิยม สมมุติปัจจัยขยะ อย่างเจ็บแสบ และกับใน The Social Network ก็เหมือนกัน David Fincher ได้นำเสนอมุกแดกดันตลกร้ายประเด็นความคิดให้ต่างออกมาให้ข้าพเจ้าขบยิ้มสนองนัยยะแก อาทิ มุกที่ท่านประธานมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแดกดันระบบการศึกษา
“นักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเชื่อว่าการสร้างงานดีกว่าการหางาน” หรือมุกขายโฆษณา Banner กิ๊กก๊อกใน
FacebookDavid Fincher เปรียบเปรยถึงคน 2 แนวคิด
“ผู้คิดต่าง” กับ
“ผู้คิดไม่ต่าง” จะมีอนาคตต่างกันราวฟ้ากับดิน อาทิ ฉากที่ 2 พี่น้องฝาแฝดพูดถึงโปรแกรมเมอร์จบใหม่มหาลัยฮาร์วาร์ดได้ไปทำงาน Google เขาได้งานที่ดี ขณะที่แก๊งค์เขาขอร่วมแชร์ไอเดียกับ Mark เพื่อสร้างเว็บในฝันเข้าสู่วงจร
“ผู้คิดต่าง” สร้างงานให้ตัวเอง ไม่ใช่เดินเข้าสู่วงจร
“ผู้คิดไม่ต่าง” ทำยังไงก็ได้ให้ตัวเองได้งานดี ๆ ทำ
2 ความต่างแนวคิดเส้นด้ายบาง ๆ นี้ เปรียบมูลค่าไอเดียและสินทรัพย์ต่างกันสิ้นเชิง ต่อให้คุณทำงานได้เงินเดือนเป็นแสนก็ยังเทียบไม่ได้กับ Mark Zuckerberg ผู้คิดต่างให้กำเนิด Facebook เว็บไซต์ที่มีมูลค่าสองหมื่นห้าพันล้านเหรียญสหรัฐ
“อัจฉริยะความต่าง” จึงเป็นบุคลากรวัตถุดิบสำคัญในการสร้างนวัตกรรมธุรกิจใหม่ ๆ ให้กลุ่มคนผู้มีแนวคิด
“คิดไม่ต่าง” มีงานทำ มีเงินเดือนสูง ๆ ใช้
ผู้คิดต่าง = คนอีกกลุ่มหนึ่งสร้างงาน >
ผู้คิดไม่ต่าง = เรียนจบดิ้นรนหางานดี ๆ ทำ มุกวงจรตลกร้ายที่ถูกแฝงอยู่ในหนังเรื่องนี้ คำถามก็มีอยู่ว่า แล้วคุณหล่ะเป็นผู้คิดต่างหรือคิดไม่ต่าง...?
อัจริยะผู้คิดต่างอย่าง Mark Zuckerberg จึงเป็นคนที่ขาดไม่ได้ในโลกธุรกิจ ขณะเดียวกันในโลกธุรกิจ เมื่อเราให้กำเนิดสินค้าแตกต่างได้แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือ
“ความเห็นแก่ตัว” ถ้าคุณต้องการสร้างบริษัทตัวเองให้ยิ่งใหญ่เท่า Mark Zuckerberg จำเป็นที่วันนี้คุณจะต้องเป็น
“Devil” ก่อนที่จะเป็น
“God” ให้คนเยินยอคุณพรุ่งนี้
แท้จริงแล้วพล็อตหนังโดยรวมก็แค่เรื่องราวคดีฟ้องร้องเว็บไซต์ Facebook ธรรมดา ๆ ซึ่งถ้าไม่ได้ผู้กำกับมือถึงสักคนมาเล่าเรื่อง The Social Network ก็คงไม่ดูมีราศีเท่านี้ อย่าลืมว่า David Fincher เก่งนักกับการดึงความ Dark ในจิตใจตัวละครที่เขาเล่าอยู่ผ่านบทพูดตลกร้ายแดกดันสังคมอย่างถึงกึ๋น อย่างที่เคยโดนใจข้าพเจ้าอย่างแรงมาแล้วใน Fight Club
David Fincher สามารถดึงความมืด ปมเบื้องลึกในจิตใจ Mark Zuckerberg โชว์เป็นบทพูดเชิงพล่ามแฝงนัยยะแดกดันสังคม บวกกับการตัดต่อภาพ เล่าเรื่องสลับไปมาเพิ่มมิติให้พล็อตแบบ Slumdog Millionaire, Transpotting, 127 Hours (หุหุหุ แฟน Danny Boyle) เคล้าดนตรีกระตุ้นอารมณ์ ทำให้พล็อตที่ดูเหมือนไม่มีอะไร พลิกจากหน้ามือเป็นหลังเท้าดูน่าสนใจ ชวนให้คนดูอยากรู้อยากเห็นบทสรุปคดีนี้
จริงอยู่ว่าแม้ David Fincher จะทำให้ตัวละครอย่าง Mark Zuckerberg ดู Dark ในสายตาหลายคนโดยใช้ประเด็นปมความรักที่ผิดหวังมาเป็นแรงขับเคลื่อนภารกิจ Facebook สู่เป้าหมาย โดยไม่ให้ความอ่อนแอ ความสงสาร ความมีเยื่อไย มาเป็นอุปสรรคขวางกั้น แต่ตัวละครตัวนี้ก็ยังจัดอยู่ในประเภทสีเทาคล้ำ บ่งให้เรารู้สึกต่อ Mark Zuckerberg เขาเองไม่ใช่คนดีและก็ไม่ได้เลวบัดซบ (แม้ดูเข้าข่ายบัดซบ) เขาแค่ต้องเดินไปตามเกมโลกธุรกิจ วันนี้เป็น Devil พรุ่งนี้เป็น God หนังจึงยังห่างไกลกับการเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติโฆษณาเยินยอตัวบุคคล + Good Feel เฉกเช่นตัวละคร Jerry Mcguire จากเรื่อง Jerry Mcguire หรือ Chris Gardner จากเรื่อง The Pursuit of Happyness
By. Anurak_sk