เมื่อเทรนด์การท่องเที่ยวของคนยุคใหม่เริ่มเปลี่ยนไปให้ความสนใจกับแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนในหลากหลายรูปแบบ และเกิดเป็นการท่องเที่ยวออนไลน์ในรูปแบบ 3 มิติขึ้นมากมายในโลกอินเทอร์เน็ตช่วงวิกฤตการณ์ล็อกดาวน์ที่ผ่านมา (https://www.smk.co.th/newsdetail/2749 เที่ยวทิพย์แบบไม่เศร้า...ในวันต้องนั่งเหงาอยู่กับบ้านช่วงล็อกดาวน์) รวมไปถึงศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีความน่าสนใจไม่ต่างกัน แล้วศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีวิธีการเดินทางไปอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร?
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดิมเป็นอาคารโรงพิมพ์ธนบัตรแห่งแรกของประเทศไทยและยังเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความมุ่งมั่นด้านการพัฒนาวิทยาการของประเทศ ภายในโรงพิมพ์ธนบัตรมี ห้องมั่นคง ที่แต่เดิมนั้นใช้สำหรับเก็บรักษาธนบัตรของประเทศ ซึ่งเป็นเขตหวงห้ามเฉพาะ อาคารแห่งนี้จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีอายุกว่า 50 ปี แต่โครงสร้างอาคารยังมีความแข็งแรงและความงดงามทางสถาปัตยกรรม ซึ่งมีความโดดเด่นที่หลังคาคอนกรีตทรงโค้งและเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดยสามารถเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้แบบ Virtual Tour ได้ที่ https://virtualtour.botlc.or.th/
ในศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอะไรบ้าง?
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.ห้องสมุดพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ใช้พื้นที่ 2 ชั้น แบ่งเป็น
•ห้องสมุดสำหรับ ค้นคว้าวิจัย และคลังข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ การเงิน การธนาคาร โดยมีทั้งหนังสือ สื่อวีดีทัศน์ ฯลฯ พร้อมทั้งเชื่อมโยงกับห้องสมุดชั้นนำทั่วโลกกว่า 7,000 แห่ง
•พื้นที่สามารถรองรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
•ห้องประชุม รองรับการทำงานศึกษาวิจัยแบบ co-working space
•ห้องฉายภาพยนตร์
•มุมนิทรรศการพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ก่อตั้ง ธปท. ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การก่อตั้งธนาคารกลางภายใต้บริบทที่ท้าทายซึ่งยังมีความร่วมสมัย
2.พิพิธภัณฑ์ ธปท. ตั้งอยู่ในห้องมั่นคงของโรงพิมพ์ธนบัตร ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ครอบคลุมเรื่องราวเงินตราตั้งแต่ยุคก่อนรัฐไทยจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเงินตราและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความเป็นอยู่ของผู้คน ตลอดจนความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
3.ส่วนจัดนิทรรศการและกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่
•นิทรรศการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีการวางแผนทางการเงินที่ดี เข้าใจความเสี่ยงและกลโกงทางการเงินใหม่ๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน
•ห้องเก็บรักษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ต้นฉบับสำหรับนักวิชาการในการค้นคว้าวิจัย
•นิทรรศการหมุนเวียนอื่นๆ
•กิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ (edutainment) อาทิ กิจกรรมวันเด็ก การแข่งขันตอบคำถามหรือประกวดโครงการที่สร้างการเรียนรู้ การเสวนาโดยนักคิด นักเขียน และศิลปิน เป็นต้น
เข้าชมพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ฯ ต้องทำอย่างไร
สามารถจองวัน เวลา และรอบที่ต้องการเข้าชมล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ฯ หรือติดต่อเข้าชมด้วยตนเอง (Walk-in) โดยพิพิธภัณฑ์ศูนย์การเรียนรู้ฯ เปิดให้บริการวันอังคาร-วันอาทิตย์ เปิดรอบเข้าชม วันละ 6 รอบ (รอบละไม่เกิน 40 คน) ใช้เวลาชมรอบละประมาณ 1.30 ชั่วโมง ได้แก่ รอบ 10.00 10.30 11.00 น. 13.30 14.00 น. จะมีเจ้าหน้าที่นำชม และรอบ 14.30 น. สำหรับเดินชมตามอัธยาศัยโดยใช้ BOT Museum Application ประกอบการชม ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดกลุ่มการนำชมตามความเหมาะสม
ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เดินทางไปอย่างไร
1.รถประจำทาง
•ป้ายวัดสามพระยา รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 524
•ป้ายตรงข้ามวัดสามพระยา รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 53, 64, 65, 516, 524
•ป้ายตรงข้ามธนาคารแห่งประเทศไทย รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 49, 53, 64, 65,516,524
•ป้ายหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย รถประจำทางสาย 3, 9, ปอ.9, 30, 32, 33, 43, 49, 53, 64, 65, 524
2.เรือโดยสาร
•ท่าเรือเทเวศร์ - เรือด่วนเจ้าพระยา : ธงสีส้ม ธงสีเขียว ธงสีเหลือง
•ท่าเรือวัดสามพระยา - เรือข้ามฟาก เรือประจำทาง (ไม่มีธง)
วันและเวลาเปิด-ปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ
1.ห้องสมุด ระหว่างเวลา 09.30 – 20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์เปิดให้บริการเฉพาะพนักงาน ระหว่างเวลา 09.30 – 17.30 น.
2.ห้องค้นคว้าจดหมายเหตุ ระหว่างเวลา 09.30 – 12.00 น. และ 13.00 – 16.30 น. (พนักงานสามารถใช้บริการได้ในวันและเวลาทำการของ ธปท. ที่อาคาร 7)
3.พิพิธภัณฑ์ในศูนย์การเรียนรู้ฯ ระหว่างเวลา 10.00 – 16.30 น.
4.ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก ระหว่างเวลา 09.30 – 16.30 น.
5.ร้านกาแฟ เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.30 – 16.00 น. (อังคาร - ศุกร์) และ 09.30 – 17.00 น. (เสาร์ - อาทิตย์)
6.ร้านหนังสือ เปิดให้บริการระหว่างเวลา 09.30 – 18.00 น.
7.หยุดทุกวันจันทร์และวันหยุดตามประกาศเกี่ยวกับวันหยุดของศูนย์การเรียนรู้ฯ
ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ
ศูนย์การเรียนรู้ฯ อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ดังนี้
1.การสมัครสมาชิกศูนย์การเรียนรู้ฯ ปีละ 1,500 บาท (รายละเอียดบริการและสิทธิประโยชน์ของ ศูนย์การเรียนรู้ฯ เป็นไปตามคู่มือสมาชิก กรณีบัตรสมาชิกชำรุด สูญหาย ชำระค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ 100 บาท
2.การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ได้รับการยกเว้นค่าเข้าชม
3.การใช้บริการห้องสมุดและห้องค้นคว้าจดหมายเหตุ เช่น ค่าใช้จ่ายในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
4.ค่าถ่ายเอกสาร ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมตามอัตราที่ประกาศกำหนด
5.ค่าบำรุงสถานที่ เช่น พื้นที่ห้องประชุมชั้น 5 ผันแปรตามวัน เวลา และจำนวนชั่วโมงการใช้
6.การบริการที่จอดรถ
a.ไม่มีตราประทับ
i.รถยนต์ ชั่วโมงละ 20 บาท เศษคิดเป็นชั่วโมง
ii.รถจักรยานยนต์ ชั่วโมงละ 10 บาท เศษคิดเป็นชั่วโมง
b.กรณีใช้บริการในศูนย์การเรียนรู้ฯ และมีการประทับตราจะได้รับยกเว้นค่าบริการที่จอดรถ 4 ชั่วโมง หากเกินกำหนดผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าบริการส่วนที่เกินตามอัตรา
c.ค่าปรับกรณีบัตรจอดรถหาย 300 บาทและค่าปรับกรณีจอดรถค้างคืน 500 บาท/วัน
ให้สินมั่นคงประกันภัยช่วยดูแลคุณทุกครั้งเมื่อออกเดินทาง ด้วยประกันภัยการเดินทาง คุ้มครองทั้งการเดินทางรายเดี่ยวหรือเป็นหมู่คณะทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตลอดเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลาเดินทางตามที่ผู้เอาประกันภัยแจ้งไว้ สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productpadetail/3 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com