ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่: ผังเปรียบเทียบผลได้จากการผลิตไฟฟ้าระดับโลกและการวิเคราะห์เชิงเทคนิคสำหรับเทคโนโลยีเซลล์ที่แตกต่างกัน
ด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์จากชนิดพี (p-type) เป็นชนิดเอ็น (n-type) ความแตกต่างในการผลิตไฟฟ้าโดยผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเซลล์ที่ต่างกันจึงเป็นที่สนใจมากขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยีเซลล์ในกระแสหลักประกอบด้วย PERC, TOPCon และ HJT โดยแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียเฉพาะตัวแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับการผลิตพลังงานไฟฟ้ายังไม่มีการเปรียบเทียบตลอดทั้งวงจรชีวิตอย่างเป็นระบบจากมุมมองของสภาพการณ์การใช้งานในระดับโลก
เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวนี้ จึงมีการเก็บค่าตัวแปรหลักของเทคโนโลยีทั้งสามนี้ และมีการวัดการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าระดับสาธารณูปโภคที่ใช้แผงเทคโนโลยีเซลล์สามชนิดที่แตกต่างกันนี้ในช่วงวงจรชีวิตระยะเวลา 25 ปีใน 21 ประเทศและภูมิภาคที่มีสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศแตกต่างกันในทั่วโลก ดำเนินการโดยบริษัท ไรเซ่น เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (Risen Energy Co., Ltd) เพื่อสร้างผังเปรียบเทียบผลได้จากการผลิตไฟฟ้าในระดับโลก
I. ผังเปรียบเทียบผลได้จากการผลิตไฟฟ้าระดับโลก (ระหว่างเทคโนโลยี HJT กับ PERC/TOPCon)
ในระดับโลก ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี HJT มีการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า โดยสูงกว่า PERC 4.37%-6.54% และสูงกว่า TOPCon 1.25%-3.33% HJT ยังมีสมรรถนะการผลิตไฟฟ้าที่ดีกว่าโดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูง (อย่างเช่น ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และตอนใต้ของสหรัฐฯ) โดยมีผลได้จากการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า 6% เมื่อเทียบกับ PERC และสูงกว่า 3% เมื่อเทียบกับ TOPCon ดังแสดงในภาพ 1.1
ภาพ 1.1 ผังแสดงผลได้จากการผลิตไฟฟ้าในระดับโลก
II. การวิเคราะห์โมดูลเชิงเทคนิค
จากคุณสมบัติของโมดูล ความแตกต่างของการผลิตไฟฟ้าระหว่างเทคโนโลยีเซลล์ต่างชนิดกันในแต่ละภูมิภาคในผังมีสาเหตุหลักจากสามปัจจัย ประกอบด้วย สัมประสิทธิ์อุณหภูมิ อัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้า (bifacial factor) และการเสื่อมของการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นเหตุผลที่โมดูล HJT สามารถให้ผลได้จากการผลิตไฟฟ้าได้สูงกว่าและให้ผลผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพมากกว่าสำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เนื่องจากสัมประสิทธิ์พลังงานที่มีเสถียรภาพสูงพิเศษ อัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าที่สูงกว่า และการกักเก็บพลังงานที่สูงกว่า
2.1 สัมประสิทธิ์อุณหภูมิเสถียรภาพสูงพิเศษ
เมื่อเปรียบเทียบกับสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ -0.35% องศาเซลเซียสของ PERC และ -0.32% องศาเซลเซียสของ TOPCon โมดูล HJT มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิที่มีเสถียรภาพสูงกว่าที่ -0.24% องศาเซลเซียส ซึ่งหมายความว่าโมดูล HJT มีการเสื่อมของการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโมดูล PERC และ TOPCon ขณะที่อุณหภูมิในการทำงานของโมดูลเพิ่มสูงขึ้น จึงช่วยลดการสูญเสียการผลิตพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ข้อได้เปรียบด้านผลได้ในการผลิตไฟฟ้าจะเด่นชัดเป็นพิเศษในกรณีที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานอุณหภูมิสูง ดังแสดงในภาพ 2.1
ที่อุณหภูมิการทำงาน 60 องศาเซลเซียส กำลังผลิตโดยเปรียบเทียบของโมดูล HJT สูงกว่าโมดูล TOPCon 2.8% และสูงกว่าโมดูล PERC 3.5%
ที่อุณหภูมิการทำงาน 65 องศาเซลเซียส กำลังผลิตโดยเปรียบเทียบของโมดูล HJT สูงกว่าโมดูล TOPCon 3.2% และสูงกว่าโมดูล PERC 4%
ภาพ 2.1 เส้นโค้งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังผลิตและอุณหภูมิของ PERC/TOPCon/HJT
2.2 อัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าที่สูงกว่า
ด้วยโครงสร้างที่สมมาตรตั้งแต่ต้น เซลล์ HJT เป็นเซลล์แบบสองหน้าโดยแท้จริง และเป็นเทคโนโลยีเซลล์ที่มีอัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าสูงที่สุดในปัจจุบัน ดังแสดงในภาพ 2.2 ภายใต้สภาพการณ์การใช้งานที่เหมือนกัน ยิ่งอัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าสูง ผลได้จากการผลิตไฟฟ้าที่ด้านหลังก็จะยิ่งสูง อัตราส่วนประสิทธิภาพระหว่างสองหน้าของโมดูล HJT อยู่ที่ราว 85% ซึ่งสูงกว่าโมดูล PERC ราว 15% และสูงกว่าโมดูล TOPCon ราว 5% ดังแสดงในตาราง 2.1
อ่านต่อเพิ่มเติมที่ https://www.thaipr.net/general/3256017