วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”
คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ “ตักบาตรเทโว”
คำว่า “เทโว” ย่อมาจาก”เทโวโรหน” แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลกประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีดังนี้
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลธรรม “ตักบาตรเทโว”
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป
ของทำบุญออกพรรษา สามารถถวายอะไรได้บ้าง
การนำของไปถวาย เพื่อทำบุญในวันออกพรรษา ของที่นำไปถวายควรเป็นของที่มีประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้
ข้าวสาร อาหารแห้ง
สำหรับของทําบุญออกพรรษาที่นิยมนำไปตักบาตรและถวายพระสงฆ์กันนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นข้าวสาร อาหารแห้ง รวมถึงปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ ซึ่งก่อนที่เราจะนำไปทำบุญนั้น จะต้องดูวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุก่อน เพื่อที่จะได้เก็บอาหารเหล่านี้ให้อยู่ได้นาน และจะได้ไม่ต้องทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง แต่การถวายข้าวสาร อาหารแห้ง เดิมทีเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย เนื่องจากมีข้อกำหนดไว้ว่าพระสงฆ์ไม่ควรเก็บอาหารไว้ข้ามวัน แต่ในปัจจุบันอย่างที่เราทราบกันว่าบางวัดก็อาจไม่ค่อยมีคนเข้าวัดไปทำบุญเนื่องจกาสถานการณ์โรคระบาดที่ยังต้องเฝ้าระวัง หรือบางวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณรที่จำวัดอยู่หลายรูป ดังนั้นจึงทำให้ข้าวสาร อาหารแห้งเหล่านี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บเอาไว้ในโรงครัวของทางวัด โดยมีญาติโยมเป็นคนดูแล และทำอาหารเหล่านี้ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์นั่นเอง
อาหารปรุงสุก และเครื่องดื่ม
ต่อมาเป็นของทำบุญวันออกพรรษาที่หลาย ๆ บ้านก็มักจะทำอาหารตักบาตรเทโวกันอยู่แล้ว ในช่วงเช้าหลังวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งการนำอาหารที่ปรุงสุกแล้วไปถวายให้แก่พระสงฆ์ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เนื่องจากว่าในพระธรรมวินัยได้มีข้อห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำอาหารเอง
ถวายสังฆทาน
สังฆทานเป้นของที่คนส่วนมากนิยมนำไปถวาย เพราะง่ายต่อการหาซื้อ และสะดวกสบาย ซึ่งในปัจจุบันสังฆทานนั้นมีหลายขนาด หลายราคา และคุณภาพก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี เราควรเลือกซื้อสังฆทานที่มีคุณภาพ สามารถให้พระภิกษุสงฆ์ นำไปใช้งานได้ โดยทาง ธาราญา มีการจัดชุดสังฆทานไว้ด้วยกันหลายหมวดหมู่ หลายรูปแบบ และหลากหลายราคา ซึ่งทาง ธาราญา ได้นำของที่มีคุณภาพมาจัดเป็นชุดสังฆทาน สามารถตรวจสอบวันหมดอายุ หรือหากเป็นสังฆทานกลุ่มยารักษาโรค ก็มีเครื่องหมาย อย. ชัดเจน ปลอดภัย
โดยประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการทำพิธี วันออกพรรษา จะมีดังต่อไปนี้
เตือนสติว่าเวลาที่ผ่านพ้นไปอีกพรรษาหนึ่งแล้วได้คร่าชีวิตมนุษย์ ให้ผู้คนนั้นดำรงอยู่ในความไม่ประมาทและหันมาสร้างกุศล
การทำบุญออกพรรษาจะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นชำระความผิดของตนได้ คือหลักปวารณา ปกติคนเราคบกันนานๆ ก็จะเผย “สันดาน” ที่แท้ออกมา อาจจะไม่ดีนักแต่ตนเองไม่รู้ตัวแล้วมองไม่เห็น แต่ผู้อยู่ข้างๆ มองเห็นแต่ไม่กล้าเตือน ดังนั้นตนเองต้องปวารณาตัวให้ผู้อื่นชี้แนะได้ ความสัมพันธ์ก็จะดีขึ้นและยั่งยืน
ได้ข้อคิดที่ว่า คนเราส่วนใหญ่มักจะลำเอียงเข้าข้างตนเองเป็นฝ่ายถูก ความผิดของคนอื่นเห็นง่ายส่วนตนเองนั้นความผิดนั้นเห็นยาก นี่แหละสัญชาตญาณของคนเรา
เป็นการให้รู้ถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการเปิดใจซึ่งกันและกัน โดยไม่มีเล่ห์เหลี่ยมลับลมคมในใดๆ ต่อในการคบหาหรืออยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ดังนั้นใครที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง วันออกพรรษา จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับการย้อนมองดูตัวเองว่าได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไว้บ้างหรือเปล่า เพื่อที่จะได้ปรับปรุงและไม่ทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมอีก
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ :
https://dharayath.com