คู่มือการปลูก วิธีการปลูกดอกไม้
โดย : สวนอรรถพร suanattaporn.com
เตรียมดินเพาะ
อุปกรณ์การเพาะเมล็ด
1. กระบะเพาะ
2. วัสดุเพาะ
3. เมล็ดพันธุ์ดอกไม้
4. กระดาษหนังสือพิมพ์
5.ป้ายชื่อ
6. บัวรดน้ำแบบฝอยละเอียด
การเตรียมดินเพาะ
เตรียมกระบะพลาสติกที่ใช้สำหรับเพาะ ด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ทางด้านก้นแล
ด้านข้างทั้ง 4 ด้าน แล้วใส่วัสดุเพาะเมล็ด วัสดุที่ใช้ คือ ขุยมะพร้าวผสมกับทร
ในอัตรา 1 : 1 หรือ ดินร่วน:ทรายเขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2 : 1 : 1 ทุกอย่าง
นำมาร่อนผ่านตะแกรงละเอียดแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากันผสมน้ำ ให้ชิ้นพอเหมาะ
แล้วนำวัสดุปลูกลงในกระบะประมาณ2/3ของกระบะ เกลี่ยผิวหน้าให้เรียบทำร่อง
ตามทางยาวของกระบะลึกประมาณ 2 เซนติเมตร โดยให้แต่ละร่องห่างกัน
หยอดเมล็ดให้สม่ำเสมอตลอดแนว กะพอไม่ให้เมล็ดทับกัน กลบแต่ละร่องด้วย
ผสมตามสูตรข้างต้น ถ้าเมล็ดมีขนาดเล็กมากไม่ต้องกลบเมล็ด ตัดกระดาษ
หนังสือพิมพ์ให้พอดีกับกระบะเพาะ ปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รดน้ำด้วยฝักบัว
ฝอยละเอียด ให้น้ำซึมผ่านวัสดุมากพอ ปิดป้ายชื่อเมล็ดและวันที่เพาะ นำไปไว้
ที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การย้ายกล้า
หลังจากการเพาะเมล็ดไปแล้ว 15 วันหรือเมื่อมีใบจริง 1-2 ใบ ต้นกล้าจะโตพอที่จะย้ายได้ ควรย้ายต้นกล้าลงในถุงพลาสติก รอให้ต้นกล้กที่ย้ายตั้งตัวและเจริญเติบโตพอสมควร ประมาณ 15 วัน จึงย้ายปลูกลงในแปลงปลูก ก่อนการย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ ให้น้ำน้อยลงเพื่อให้ต้นกล้ามีความทนทานต่อการย้ายปลูก
หลักการปฏิบัติในการย้ายกล้า
1. ย้ายต้นกล้าในตอนที่แดดอ่อนและในที่ร่ม
2. เตรียมแปลงปลูกอย่างดี รดน้ำแปลงให้ดินขึ้นก่อนการย้ายปลูก
3. รดน้ำต้นกล้าในกระบะเพาะให้ชุ่มก่อนการย้าย
4. เมื่อย้ายต้นกล้าควรดึงต้นกล้าเบาๆ ให้รากขาดน้อยที่สุดและมีดินหุ้มรากไป
ให้มากๆ เพื่อรากจะได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด และต้นกล้าตั้งตัวได้เร็ว
5. ปลูกในหลุมที่กว้างพอกับคนที่หุ้มรากมา และควรปลูกให้ใบจริงอยู่ใกล้กับระดับดิน
มากที่สุดเพื่อที่เวลารดน้ำฝนกล้าจะไม่หักได้โดยง่าย
6. รดน้ำให้ชุ่มและคลุมดินด้วย
7. ควรบังร่มให้ 3-4 วัน พอต้นกล้าแข็งแรงดีจึงเอาที่บังร่มออก
การเตรียมดินปลูก
การเตรียมดินปลูก ต้องพิถีพิถันพอสมควร เพราะไม้ดอกส่วนใหญ่มีอายุการออกดอกสั้น โดยเฉพาะไม้ดอกที่ไวต่อแสงจะออกดอกทันที เมื่อครบอายุและ
ต้นสมบูรณ์ ดินปลูกต้องเป็นดินโปร่งร่วนซุยมีอินทรีย์วัตถุสูงระบายน้ำดีในขณะเดียวกันก็อุ้มความชื้นได้ดีพอสมควรมีความเป็นกรดเล็กน้อย มี pH ประมาณ
6.5-7 ส่วนผสมของดินปลูกควรหาง่ายในท้องถิ่น ในดินผสม 1 ลูกบาศก์เมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15 -15 15 จำนวน 0.5 กิโลกรัม และสูตร 0-46-0
จำนวน 1 กิโลกรัม ตัวอย่างดินผสมทั่วไป ได้แก่ ดินร่วน ปุ๋ยหมัก แกลบดิบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว โดยใช้อัตราส่วน 1 : 1 : 2 : 2 : 2
การดูแลรักษา
1.การให้น้ำ รดน้ำทุกวัน ในตอนเช้าหรือเย็น หากรดน้ำในเวลา
เย็นควรจะให้น้ำที่ค้างอยู่บนใบแห้งก่อนพระอาทิตย์ตกดินและ
เมื่อมีดอกบานอย่ารดน้ำให้ถูกดอกเพราะจะทำให้ดอกซ้ำหรือเน่าได้
2.การให้ปุ๋ย หลังจากย้ายกล้าแล้ว 7 วัน ให้ปุ๋ยไนโตรเจนโดยใช้
แอมโมเนียมซัลเฟท 1 ช้อนโต๊ะละลายน้ำ 20 ลิตร รดกล้าทุกๆ
5 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ
16-16-16 อัตรา 10 กรัม/ต้น ทุกๆ 15-20 วัน
3.การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
- โรคใบจุด อาการเริ่มต้น ใบเป็นจุดสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง
แล้วขยายวงกว้างออกไปลุกลามจนเต็มใบจะค่อยแห้งไป การ
ป้องกันและกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราฉีดพ่นเช่น แบนเลทหรือแคปแทน
- โรคแอนแทรกโนส อาการเป็นจุดสีน้ำตาลอ่อนแผ่ขยายวงกว้าง
ออกไปทำให้ใบเน่าได้ การป้องกันกำจัด ให้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราเช่น แมนโคเซบ สลับคาร์เบนดาซิม
- โรคกล้าเน่า (damping off ) ต้นกล้าจะแสดงอาการใบซีด
เที่ยวและหักฟุบลงไปกับพื้น สาเหตุเกิดจากเชื้อรา โรคจะเกิด
ขึ้นเมื่อวัสดุเพาะเมล็ดระบายน้ำไม่ดี มีความชื้นสูงเกินไป และ
มี ต้นกล้าขึ้นหนาแน่นมากสามารถป้องกันกำจัดโรคได้โดย
การเตรียม วัสดุเพาะให้ร่วน โปร่ง มีการระบายน้ำที่ดี และใช้สารเคมี เช่น แคป
แทนแมนโคเซ็บ แมลง หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และไร การป้องกันกำจัด
ใช้ กับดัก กาวเหนียว หรือแสงไฟแบลคไลท์ เพื่อกำจัดตัวแก่ของผีเสื้อ หรือ
แมลงวันที่เป็นแหล่งที่มาของหนอน ใช้สารเคมีฉีดพ่นสลับกัน เช่น เพอร์เมทริน
บคาร์โบซัลแฟน, ฟิโปรนิล, คาร์บาริล (เซฟวิน 85%) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงคือ
บต่อสารเคมีที่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
1. ถ้าใช้เมล็ดพันธุ์ไม่หมดให้ปิดผนึกซองเมล็ดพันธุ์ให้แน่น แล้วเก็บไว้ในที่แห้ง
และเย็น ถ้ามีตู้เย็นให้เก็บซองไว้ในขวดที่ปิดฝาแน่น แล้วเก็บในช่องเก็บผักสด
2. ถ้าเก็บเมล็ดไว้ค้างปี ลองทดสอบความงอกโดยใช้จานเล็กๆ ใส่กระดาษซับ,
กระดาษทิชชู หรือทรายใส่น้ำให้ขึ้นพอประมาณ นำเมล็ด 100 เมล็ดมาเพาะ
ในวัสดุดังกล่าว ประมาณ 7 วัน นับจำนวนต้นกล้าที่งอก ตัวเลขที่ได้คือเปอร์เซ็นต์ความงอก โดยประมาณ
ข้อมูลโดย : สวนอรรถพร
เอกสารอ้างอิง
นันทิยา สมานนท์, 2535. คู่มือการปลูกไม้ดอก. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ. 205 หน้า
อนงค์ จันทรศรีกุล. 2536. โรคและศัตรูพืชบางชนิดของผักและการป้องกันกำจัด. ไทยวัฒนาพานิช.กรุงเทพฯ.หน้า41.