ถ้าใครที่ยังคงติดตามกับประเด็นการเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบิน ที่มีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ ก็จะทราบกันดีกว่า
“มาตรการเยียวยา กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน มี.ค. 65 นี้” และคำถามต่อไปคือ ทอท. จะยังคงมีการเยียวยากันต่อหรือไม่?
เรามาวิเคราะห์ประเด็นนี้กันครับ
จากสถานการณ์การระบาดของโควิดยอด โควิด-19 วันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 1,962 ราย ตาย 32 ราย ณวันที่ 30 july 2022
ก็บ่งบอกได้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศ ยังคงเป็นสิ่งประชาชนเองก็ต้องเฝ้าระวังตัวเองอย่างเข้มข้นต่อไป
[สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 30 ก.ค.2565 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 1,962 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 4,588,512 ราย ยอดผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ค.2565 จำนวน 204,615 ราย สะสม 6,668,542 ราย]
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1018127
และเนื่องจากตัวเลขแบบนี้แหละก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศยังไม่สามารถที่จะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่จริงๆ ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาผ่านโครงการคนละครึ่ง และเราเที่ยวด้วยกัน ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะพลิกเศรษฐกิจกลับมาได้ อย่างที่ทุกท่านทราบกันแหละครับ สิ่งเดียวที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับคืนมาได้คือการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว
แต่ก็ดูเหมือนว่าโชคจะยังไม่เข้าข้างเราสักเท่าไหร่ การเปิดประเทศที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายปี ก็มีอันเป็นต้องสะดุดลงไป เพราะโอมิครอน ทางรัฐเองก็ต้องปรับมาตรการรับนักท่องเที่ยว ยกเลิก Test and Go ยังคงเหลือแต่ภูเก็ตแซนบ็อกซ์ไว้ เพื่อเป็นการประคองๆ สถานการณ์ไปก่อน ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
ทีนี้มาดูสถานการณ์โลกกันบ้างครับ ก็คงหนีไม่พ้นสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นไป และยังไม่มีทีท่าว่าจะปรับลดลงมาเลย ส่งผลให้ค่าครองชีพในประเทศเราปรับตัวสูงขึ้นเป็น 100 กว่าเหรียญไปแล้ว
ห็นไหมครับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ ไม่ได้เอื้อให้เศรษฐกิจของไทยและชาวโลกได้ลืมตาอ้าปากได้เลย
ขนาดชาวอังกฤษยังได้รับคำเตือนให้เตรียมตัวรับ ปีที่เศรษฐฏิจที่ลำบากที่สุดในชีวิตของคุณ
แล้วจะนับประสาอะไรกับประเทศไทยแลนด์ของเราหละ
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงคาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ ทอท. จะมีการต่ออายุการเยียวยาผู้ประกอบการในสนามบินต่อไปอีก แต่ไม่แน่ใจเรื่องของระยะเวลาว่าจะเพิ่มสัญญาต่อไปอีกเมื่อไหร่ แต่ถ้าให้เดาผมว่ามันคงไม่น่าจะต่ำกว่า 2 ปี แน่นอน
ถ้ามีการต่อสัญญาการเยียวยาออกไป ผมว่าคงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ตรงกันข้ามผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่รัฐควรจะทำต่อไปด้วยซ้ำ เพราะภาคส่วนของการท่องเที่ยว และธุรกิจสนามบินเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรกๆ หลังจากที่มีนโยบายปิดประเทศ และที่สำคัญมาตรการการกระตุ้นและเยียวยาเศรษฐกิจรัฐบาลไหนๆ เขาก็ทำกันครับ
ยกตัวอย่าง
สหรัฐอเมริกากับแผน "Build Back Better"
เป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่และอายุยาวที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ คือกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 28% ของ GDP) เพื่อเยียวยารายได้ของแรงงานในระยะสั้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจในช่วง 8 - 10 ปีข้างหน้า โดยมาตรการดังกล่าวแบ่งเป็นแผนงาน American Rescue Plan (ARP) 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.9% ของ GDP ที่มุ่งเยียวยาแรงงานและภาคธุรกิจ อาทิ การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือร้านอาหาร (Restaurant Revitalization Fund หรือ RRF) ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดย่อมแห่งสหรัฐอเมริกา ที่เปิดให้ร้านอาหารหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องเข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนกว่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปในช่วงการระบาดโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวก่อนเดือนมีนาคม 2566 และไม่จำเป็นต้องคืน หากใช้ในการจ่ายค่าเช่า เงินเดือนพนักงานเป็นต้นทุนซื้อสินค้า หรือใช้ในการซ่อมแซม
สหภาพยุโรปฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยกองทุน
สำหรับสหภาพยุโรปได้ดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยยึดแนวทำงใกล้เคียงกับสหรัฐฯ แต่ทำในลักษณะการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือธุรกิจท่องเที่ยวแบบเฉพาะเจาะจง และฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม โดยในส่วนแรก มีการจัดตั้ง National Tourism Fund ด้วยวงเงิน 2 พันล้านยูโร เพื่อเข้าซื้อโรงแรมหรือหุ้นของธุรกิจโรงแรม โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
และยังมีอีกหลายๆ ประเทศตามข้อมูลนี้ในเวปนี้ครับ
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256403GlobalTrend.aspx
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการเยียวยาส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ จะเน้นเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน เน้นกระตุ้นการท่องเที่ยว ธุรกิจร้านค้า SME ในประเทศ ประคองให้เศรษฐกิจยังคงเดินต่อไปได้ ภายใต้วิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่ (New normal) ดังนั้นใครที่ติดตามประเด็นที่ทาง ทอท. เยียวยาผู้ประกอบการ ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ น่าจะเข้าใจได้ดี การเยียวยาไม่ใช่ปัญหา แต่มันคือทางออกให้กับเศรษฐกิจ เพื่อประคองผู้ประกอบการทุกภาคส่วนให้เดินหน้าไปต่อด้วยกันได้ครับ