4 ใน 5 ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเคยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ – ผลสำรวจโดย เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น
เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เปิดตัวกิจกรรม Simply Recycle Challenge ในเอเชียแปซิฟิก หวังกระตุ้นให้เกิดการลงมือเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง - Media OutReach - 28 มิถุนายน 2565 - วันนี้ เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทด้านโภชนาการชั้นนำของโลก ได้เผยผลจากการสำรวจความยั่งยืนทางโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกซึ่งพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ (4 ใน 5) ในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าพวกเขาได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (79%) และตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ (78%)
การสำรวจความยั่งยืนทางโภชนาการในเอเชียแปซิฟิกปี 2565 โดย เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ซึ่งจัดทำขึ้นในเดือนเมษายน 2565 ได้สำรวจประชากร 5,500 คนที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 75 ปี ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม ผลสำรวจได้ไขความกระจ่างเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคต่อเรื่องโภชนาการที่มีความยั่งยืน การปฏิบัติด้านโภชนาการที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะลงมือทำ และการให้ความสำคัญของความพยายามรักษาความยั่งยืนในบริษัททางโภชนาการ
ในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามที่มองว่าความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญ สิ่งที่พวกเขาพิจารณาเป็นอันดับแรก ๆ คือ "ปริมาณขยะที่ถูกสร้างขึ้น" (65%) และ "ปริมาณ/วัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตภัณฑ์ใช้" (62%) เมื่อพวกเขาตัดสินใจว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์โภชนาการนั้นหรือไม่ นอกจากนี้ 3 ใน 4 (76%) ของผู้ตอบแบบสอบถามยังรู้สึกว่าการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้มีผลต่อการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับด้านโภชนาการ โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้งในฟิลิปปินส์ (93%) และไทย (89%) มีความรู้สึกต่อเรื่องนี้มากที่สุด
ผลสำรวจยังเผยว่าผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกเกือบ 80% ยินดีที่จะจ่ายในราคาที่สูงกว่ากับตัวเลือกด้านโภชนาการที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อแบ่งตามประชากรกลุ่ม Gen Z/มิลเลนเนียล (80%) มีแนวโน้มที่จะจ่ายในราคาที่สูงกว่ากับผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกด้านโภชนาการที่มีความยั่งยืนเมื่อเทียบกับกลุ่ม Gen X/บูมเมอร์ (76%) เมื่อถามว่าพวกเขายินดีที่จะจ่ายเพิ่มเท่าไร 70% ตอบว่าระหว่าง 1% และ 10% ขณะที่อีก 18% ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าระหว่าง 11% ถึงสูงสุด 15%
สตีเฟน คอนชี รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและจีน เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเราทั้งหมด ซึ่งกระตุ้นผู้บริโภคทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิกให้หันมามองเห็นความสำคัญของความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโภชนาการ พวกเราตระหนักถึงความเร่งด่วนด้านการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมนี้และตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะทำในส่วนของเราในการช่วยปกป้องโลกเพื่ออนาคต เช่น การใช้โปรตีนและส่วนผสมที่ทำจากพืชมาใช้ในผลิตภัณฑ์ของเรา การลดการใช้พลาสติกและปริมาณบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มความพยายามด้านการรีไซเคิลผ่านกิจกรรม Simply Recycle Challenge ในเอเชียแปซิฟิก"
"กิจกรรม Simply Recycle Challenge เป็นโครงการริเริ่มใหม่ที่ให้ผู้จัดจำหน่ายในเอเชียแปซิฟิกได้ร่วมกันนำกระป๋องผลิตภัณฑ์เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น ที่ใช้แล้วของพวกเขา มารีไซเคิล โครงการนี้ริเริ่มขึ้นมาเพื่อถือเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมทั่วโลกของเราในสร้างผลกระทบเชิงบวกที่จับต้องได้มากกว่า 50 ล้านครั้งภายในปี พ.ศ. 2573 เพื่อเป็นการฉลองครบรอบ 50 ปีของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น" คอนชี กล่าวเสริม
ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการเลือกโภชนาการที่สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
จากผลสำรวจ เกือบ 9 ใน 10 (88%) ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะเลือกโภชนาการที่มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สิ่งที่พวกเขาวางแผนว่าจะทำเป็นลำดับแรก ๆ มีดังนี้
เลือกผลิตภัณฑ์โภชนาการที่ใช้บรรจุภัณฑ์น้อยที่สุดหรือใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (67%)
ลดปริมาณขยะที่เกิดจากทางเลือกโภชนาการส่วนบุคคล (66%)
เลือกผลิตภัณฑ์โภชนากรที่ปลูก จัดหา และผลิตมาด้วยวิธีที่ยั่งยืน (53%)
เลือกผลิตภัณฑ์โภชนาการที่ผลิตโดยบริษัทที่มีความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน (53%)
บริโภคอาหารจากพืชมากขึ้นแทนการบริโภคอาหารจากเนื้อสัตว์ (42%)
ความต้องการที่มากขึ้นต่อทางเลือกโภชนาการจากพืช
ผลสำรวจยังพบว่า 7 ใน 10 (68%) ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกรู้สึกว่าการที่บริษัทด้านโภชนาการมีทางเลือกผลิตภัณฑ์จากพืชถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่เพียงเท่านั้น สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มบริโภคอาหารจากพืชมากขึ้นในช่วง 12 ปีข้างหน้า 70% กล่าวว่าพวกเขาต้องการมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีขึ้น ขณะที่ 64% เชื่อว่าทางเลือกอาหารจากพืชถือเป็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า
หน่วยงานรัฐ องค์กร ผู้บริโภค ต่างมีบทบาทเท่า ๆ กันในการสร้างโภชนาการที่มีความยั่งยืน
ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความชัดเจนเกี่ยวกับผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการทำให้ตัวเลือกด้านโภชนาการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น โดย 35% กล่าวว่าองค์กรต่าง ๆ เช่น บริษัทด้านโภชนาการ มีบทบาทสำคัญที่สุด ขณะที่ 34% เลือกให้ผู้บริโภคมีบทบาทสำคัญ และอีก 31% เลือกรัฐบาล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทุกภาคส่วนต่างมีความสำคัญเกือบเท่า ๆ กัน ในการมีลงมือทำเพื่อเป้าหมายทางโภชนาการที่ยั่งยืน
สิ่งที่น่าประทับใจยิ่งกว่าคือ 9 ใน 10 (90%) ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าโครงการรีไซเคิลของบริษัทโภชนาการมีส่วนในการส่งเสริมให้พวกเขาสนับสนุนโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนของบริษัทนั้น ๆ แสดงให้เห็นว่าบริษัทสามารถมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้