หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: โทรคมนาคมไทย เปรียบเสมือนสำนวน "มีช้างอยู่ในห้อง"  (อ่าน 36 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 31 พ.ค. 22, 13:34 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ฉากทัศน์ที่ 1 : กสทช. รักษาสภาพ ตลาดโทรคมนาคมแบบปัจจุบัน ซึ่งเป็นตลาดผู้นำเดี่ยวรายเดียว (Existing Case: Monopoly & Ineffective Competition) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันแล้ว บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยยังมี ระดับการแข่งขันในหลายตลาดที่ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “การแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ” และยังเป็นตลาดผูกขาดรายเดียว (monopolistic market) โดยมีผู้นำตลาดที่สามารถทำกำไรได้เกือบสามหมื่นล้านบาท มีผลกำไรต่อเนื่องสะสมมากกว่า 20 ปี ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เหลือในอุตสาหกรรมยังขาดทุน หรือทำกำไรเพียงเล็กน้อย หรือ อาจเรียกได้ว่าเป็นตลาดกึ่งผูกขาด (oligopolistic market) จึงเข้าสู่ยุคของการหลอมรวม (Convergence) ผ่านการควบรวม กิจการและการสร้างเครือข่ายเสิรมสร้างความแข็งแรงในการปรับตัว จากภาระต้นทุน ดอกเบี้ย การลงทุนต่อเนื่อง และการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ในขณะที่เทคโนโลยีเดิมยังไม่คุ้มทุน

ผลของฉากทัศน์แรกนี้ เกิดสภาพตลาดที่มีการแข่งขันแบบด้อยคุณภาพ เพราะการแข่งขันแบบผูกขาดจะยังไม่ถูกแก้ไข ผู้เล่นที่เหลือในตลาดเกิดความอ่อนแอจากภาระต้นทุน ดอกเบี้ย และ การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ลูกค้าทรูและดีแทค เสียโอกาสในการใช้เครือข่ายร่วมกัน เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ต้นทุนการให้บริการแทนที่จะลดลง ทำให้การแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น ก็จะไม่สามารถแข่งได้ออย่างใกล้เคียง

ฉากทัศน์ที่ 2 : กสทช. สนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการ สู่การแข่งขันแบบผู้นำสองรายที่แข็งแกร่ง (Approved case: Strong Duopoly Competition) อุตสาหกรรมมือถือในประเทศไทยได้มีการให้บริการมาเกือบ 30 ปี โดยไม่มีรายใหม่ๆ เข้ามา รายเก่ก็ถอยทัพกลับประเทศ เพราะเสียเปรียบผู้นำในการแข่งขัน อีกทั้งต้นทุนการให้บริการที่สูงขึ้นจากการประมูลคลื่นใหม่ ๆ การขยายอุปกรณ์ทั่วประเทศตามอายุของเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูง กระทั่งปัจจุบันกลายมีผู้ให้บริการเพียง 4 ราย ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลกจึงเป็นขาลงอย่างปฏิเสธไม่ได้ หาก กสทช. ออกเอกสารเชิญชวนผู้ประกอบการใหม่ มาลงทุนโทรคมนาคม โดยเฉพาะในประเทศไทย คงต้องคิดหนัก เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง มีกฎหมาย กฎระเบียบ การกำกับดูแลมากมาย และ ยังมีเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ยังไม่ทันคืนทุน ก็จะมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา จึงแทบไม่เหลือกำไร

ช่วงแรกของโทรคมนาคม มีเพียงเอไอเอส และ แทค ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่อมามีทรูอีก 1 ราย ซึ่งทรูมีการขยายตลาดและมีนวัตกรรม แต่มีภาระต้นทุนสูงและยังขาดทุน ขณะที่ดีแทค เน้นการลดต้นทุน แผนการลงทุนในประเทศไทยยังไม่ชัดเจน ดังนั้น หากสองบริษัทรวมกันได้ ก็จะทำให้การขยายการลงทุนในประเทศไทยเป็นรูปธรรมและเชื่อว่าลูกค้าได้ประโยชน์ อาทิ
1.การเข้าถึงสัญญาณเครือข่ายดีขึ้น เสาสัญญาณเพิ่มมากขึ้น
2. คลื่นที่ครบถ้วนในทุกย่านความถี่ ทำให้ลูกค้าสามารถใช้มือถือได้ทุกรุ่น รองรับทุกย่านความถี่ เริ่มตั้งแต่คลื่น 700 MHz มีทั้ง 2 ค่าย คลื่น 850 MHz ดีแทคสามารถใช้ของทรูได้ คลื่น
3. มีศูนย์ให้บริการหลังการควบรวมให้ลูกค้าเข้าถึงได้เพิ่มมากขึ้น
4. ลูกค้ามีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีและสิทธิพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น
5.ต้นทุนของผู้ให้บริการหลังการควบรวมจะลดลง ทำให้ลูกค้าได้รับประโยขน์จากความคุ้มค่าของบริการที่ได้รับ
6. ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทุกรายปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ เช่น CAT+ TOT = NT และการที่ AIS มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมีการลงทุนใหม่โดยกัลฟ์ GULF เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และ ลงทุนเพิ่มในอนาคต ทำให้หลังการควบรวม TRUEและ DTAC ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายมีความพร้อมในการแข่งขัน ลูกค้าได้รับบริการดิจิทัลมากขึ้น เช่น บริการแพทย์ทางไกล การประชุมทางไกล การเข้าถึงคอนเทนต์ เพลง หนัง ระดับโลก ในราคาลดลง เป็นต้น

ฉากทัศน์ที่ 3 : กสทช. หน่วงรั้ง การปรับตัวของผู้ประกอบการ สู่การแข่งขันแบบนำห่างของผู้ประกอบการรายเดียว (Delayed case: Discrimination) กรณีการควบรวมทรูดีแทคที่ต้องล่าช้าออกไปย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของกฎกติกาในการดำเนินธุรกิจ และที่สำคัญ ธุรกิจเทคโนโลยี ล่าช้าเพียง 1 วันก็พ่ายแพ้ ธุรกิจโทรคมนาคมที่ยื่นควบรวมเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีประชาชน องค์กรทั้งในและต่างประเทศเป็นผู้ถือหุ้น ความน่าเชื่อถือของประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยกระบวนการที่ทำให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจ เป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง และทำให้เกิดคำถามตามมาต่อหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับ ต้องสวมหมวกผู้ประกอบการ และ ความยากง่ายในการทำธุรกิจ หากพิจารณาด้านการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  โทรคมนาคม  NewTelcoMarket  ทรู  ดีแทค  เอไอเอส  กสทช  OTT  MVNO 

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม