หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: Universal Design ดีไซน์เพื่อความเท่าเทียมของทุกคน ทุกวัย  (อ่าน 31 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 22 ก.พ. 22, 11:10 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

Universal design หรืออารยสถาปัตย์ คือ หลักการออกแบบสภาพแวดล้อม ให้กับบุคคลทุกๆกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะเช่น คนพิการ, คนตาบอด, คนป่วย, สตรีตั้งครรภ์, คนแคระ และเด็กที่มาพร้อมกับรถเข็น ให้สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งถือเป็นการสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่การให้บริการต่างๆ ซึ่ง Universal Design เป็นหลักการที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี แนวคิดนี้มาจาก กฎหมาย The Americans with Disabilities Act (ADA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ให้ความหมายไว้เกี่ยวกับการให้สิทธิความเท่าเทียมให้กับประชาชน มีหลักการและองค์ประกอบ ดังนี้



1.ความเสมอภาค (Equitability) ทุกคนในสังคมสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติแก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น การติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 ระดับ สำหรับผู้ใช้รถเข็น
2.ความยืดหยุ่น (Flexibility) สามารถใช้ได้กับผู้ที่ถนัดซ้ายและขวา หรือปรับสภาพความสูงต่ำขึ้นลงได้ตามความสูงของผู้ใช้งาน เช่น เครื่องให้นำเกลือแบบปรับระดับได้
3.ใช้ง่ายเข้าใจง่าย(Simple, Intuitiveuse) การใช้รูปภาพเป็นสัญลักษณ์สากลในการสื่อสาร ให้เข้ใจง่าย เช่น สัญลักษณ์รีไซเคิล, สัญลักษณ์การทิ้งขยะแยกประเภท เป็นต้น
4.ข้อมูลชัดเจน (Perceptible Information) ง่ายสหรับประกอบการใช้งาน เช่น ภาพประกอบวิธีการปรุงอาหาร หรือ ภาพแสดงการใช้สุขภัณฑ์ต่างๆ
5.ระบบป้องกันอันตราย(Toleranceforerror) ต่อการใช้งานที่ผิดพลาด คือมีระบบป้องกันอันตรายเพื่อไม่ให้เสียหายโดยง่าย
6.ทุ่นแรงกาย (Low Physical Effort) เพื่อให้สะดวกและไม่ต้องใช้แรงมาก เช่น ใช้ที่เปิดก๊อกน้ำแบบยกขึ้น-กดลง แทนการใช้มือหมุน เป็นต้น
7.ขนาด (AppropriateSizeandSpaceforApproach) มีขนาดและสถานที่ที่เหมาะสม เช่น ห้องน้ำของคนพิการ เพื่อพื้นที่สำหรับผู้ใช้รถเข็น (Wheel Chair)



สำหรับประเทศไทยหลายหน่วยงานทั้งเอกชนและภาครัฐ ได้นำอารยสถาปัตย์นี้มาใช้ เช่น สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่หันมาปรับปรุงสถานีฯ ให้เป็นรูปแบบของ Friendly Design และเป็นสถานีฯ แรกที่เป็น Truly Friendly Life เป็นโครงการที่ยกระดับให้เป็นมากกว่าสถานีบริการฯ ภายใต้แนวคิดอารยสถาปัตย์ ที่เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย เช่น ห้องน้ำสำหรับคนพิการ, ที่จอดรถสำหรับผู้พิการ, ทางลาดสำหรับรถเข็น (Wheel Chair) ที่เชื่อมโยงร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ, ปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับคนพิการ และกล้อง CCTV เพื่อความปลอดภัยทุกจุด ซึ่งทำออกมาได้ดีเยี่ยม พร้อมกับสัญลักษณ์สากลที่เข้าใจง่าย ชัดเจน
สำหรับหน่วยงานของรัฐ คือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย จ.สระบุรี และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมาภายใต้การดูแลของ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาให้ทั้งสองอุทยานเป็นอารยสถาปัตย์ เช่นการทำห้องน้ำสำหรับผู้พิการ, การทำทางลาดสำหรับผู้ใช้รถเข็น (Wheel Chair), ห้องพัก และที่จอดรถ เพื่อให้อุทยานแห่งชาติของไทยทุกแห่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับทุกคน ทุกช่วงอายุ และทุกเงื่อนไขสภาพร่างกาย



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ
ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:   Go
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม