เช็กสัญญาณ อาการโรคซึมเศร้า และวิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้า โรคยอดฮิตที่มาพร้อมกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นในสังคมปัจจุบัน แน่นอนว่าการตระหนักรู้ถึง อาการโรคซึมเศร้า ในสังคมไทยนั้นแพร่หลายมากขึ้น ผู้คนในสังคมเรียนรู้และเข้าใจมองการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าว่าเป็นเรื่องของความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่โรคที่เกิดจากอารมณ์ ความเครียด หรือการเรียกร้องความสนใจ ดังนั้น การรักษาอาการซึมเศร้านอกจากจะต้องปรึกษาแพทย์แล้ว บุคคลใกล้ชิดต้องมีวิธีรับมือดูแลที่เหมาะสมด้วยเพื่อให้ผู้ป่วยก้าวผ่านอาการซึมเศร้าไปได้
สาเหตุของโรคซึมเศร้า โรค ซึม เศร้า สาเหตุ สำคัญเกิดมาจากความผิดปกติของสมองที่สารสื่อประสารท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน หลั่งออกมาไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเหนื่อย ท้อแท้ เบื่อหน่าย รู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิต ขาดความมั่นใจในตนเอง หนักเข้าจนอาจไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สารสื่อประสาทไม่สมดุลนี้ก็มีได้หลายปัจจัยทั้งปัจจัยเรื่องกรรมพันธุ์ ซึ่งคนที่ประวัติสมาชิกครอบครัวเคยป่วยโรคซึมเศร้าก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าตาม หรืออาจเกิดมากจากปัจจัยเรื่องการเลี้ยงดูและประสบการณ์ชีวิตที่พบเจอกับความผิดหวัง พลัดพราก สูญเสีย เหล่านี้นานเข้าก็เสี่ยงที่สารสื่อประสาทจะทำงานผิดปกติได้ นอกจากนั้นการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยารักษาสิว ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
สังเกตอาการซึมเศร้า อาการโรคซึมเศร้า นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ ก็คือ โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว และโรคซึมเศร้าแบบสองขั้วที่ผู้ป่วยจะมีอาการไบโพลาร์ร่วมด้วย ทำให้มักเกิดอารมณ์ขึ้น ๆ ลงได้ง่าย ซึ่งวิธีสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าประเภทขั้วเดียวในเบื้องต้นนั้นเริ่มจากดูพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น หงุดหงิดง่าย เลิกสนใจกิจกรรมที่ชอบ พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป บางรายกินน้อยลง หรือบางรายอาจกินมากขึ้น ร่างกายดูเหนื่อย ๆ ไร้พลัง เอาแต่นอน หรือบางรายก็นอนไม่หลับ ที่สำคัญผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะโทษตัวเองเสมอ คิดถึงความตายและอยากจะฆ่าตัวตาย ส่วนอาการของโรคซึมเศร้าสองขั้วนั้นก็คล้ายกันเพียงแต่ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่เสมอ
วิธีดูแลรับมือกับผู้ป่วยซึมเศร้า เมื่อรู้ตัวว่าคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแน่ ๆ สิ่งแรกที่ต้องรีบทำเลยก็คือนำผู้ป่วยพบจิตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป ซึ่งปัจจุบันการพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องแปลกและยาก มีสถานพยาบาลและคลินิกใหญ่ที่เป็น medical clinic Bangkok เช่น
medpark พระราม 4 หรือตามจังหวัดใหญ่ ๆ เพราะโรคซึมเศร้าที่เกิดจากความผิดปกติของสมองจำเป็นจะต้องใช้ยาในการรักษา นอกจากนั้นควรจะมีวิธีสื่อสารให้กำลังใจกับผู้ป่วยซึมเศร้ารู้สึกมีกำลังใจ รู้สึกว่าตนเองมีค่า ควรเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังปัญหาโดยไม่ตัดสินเพื่อให้ผู้ป่วยซึมเศร้าได้ระบายและรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ควรพูดบั่นทอนจิตใจหรือแสดงความไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเศร้า ซึ่งจะยิ่งเป็นการทับถมให้อาการซึมเศร้าแย่ลงกว่าเดิม
อาการของโรคซึมเศร้านั้นไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนเหมือนกับโรคอื่น ๆ เราจึงต้องหมั่นสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตนเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ เมื่อพบความผิดแปลกทางอารมณ์ที่ต่างไปจากเดิมก็จะได้หาทางรักษาให้ทันท่วงที
ที่มาข้อมูล https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression
https://www.phyathai.com/article_detail/2876/th/โรคซึมเศร้า_โรคฮิตหรือแค่คิดไปเอง
https://bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/mental-health-center-th/mental-articles-th/item/898-depression-th.html/2876/th/โรคซึมเศร้า_โรคฮิตหรือแค่คิดไปเอง
โรงพยาบาลที่สวยที่สุดในไทย https://medthai.com/?pid=44300
ตรวจสุขภาพประจำปีที่ไหนดี https://www.wongnai.com/articles/healthy-check